Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31859
Title: ผลของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสต่อการเติบโตและองค์ประกอบทางชีวเคมีของสาหร่ายทะเล สกุล Caulerpa, Ulva และ Gracilaria
Other Titles: Effects of nitrogen and phosphorus on growth and biochemical composition of marine macroalgae genus Caulerpa, Ulva and Gracilaria
Authors: เอกธิดา ทองเด็จ
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ajcharap@sc.chula.ac.th
Warawut.C@Chula.ac.th
Subjects: ไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส
สาหร่ายทะเล
Nitrogen
Phosphorus
Marine algae
Gracilaria
Caulerpa, Ulva
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาอิทธิพลของสารอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสต่อการเติบโตและปริมาณสารชีวเคมีของสาหร่ายทะเลชนิด Caulerpa lentilifera, Ulva rigida และ Gracilaria fisheri ผลการศึกษาอัตราการเติบโตพบว่า ในการทดลองที่ 1 สาหร่ายชนิด C. lentilifera, U. rigida และ G. fisheri มีอัตราการเติบโตดีที่สุดหลังจากเติมสารอาหาร 1 สัปดาห์ ในอัตราส่วนโดยโมลของ N:P เท่ากับ 10:1, 30:1 และ 12:1 ตามลำดับ ในการทดลองที่ 2 สาหร่ายชนิด C. lentilifera มีอัตราการเติบโตดีที่สุดหลังจากเติม สารอาหาร 1 สัปดาห์ ในอัตราส่วนของ NO₃:NH₄⁺ เท่ากับ 25:1 ในสาหร่ายชนิด U. rigida และ G. fisheri มีอัตราการเติบโตดี ที่สุดในอัตราส่วนของ NO₃:NH₄⁺ เท่ากับ 0:100 การทดลองที่ 3 สาหร่ายชนิด C. lentilifera, U. rigida และ G. fisheri มีอัตราการ เติบโตดีที่สุดหลังจากเติมสารอาหาร 1 สัปดาห์ ในระดับความเข้มข้นของ DIN และ DIP เท่ากับ 1850 และ 151, 750 และ 26 และ 50 และ 8 μM อัตราส่วนโดยโมลของ N:P และระดับความเข้มข้นของ DIN และ DIP มีอิทธิพลต่อปริมาณสารชีวเคมีที่พบในสาหร่าย ทะเลทัง้ 3 ชนิด โดยพบว่าปริมาณคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนจะมีปริมาณมากในชุดการทดลองที่อัตราส่วนของ N:P และระดับ ความเข้มข้นของ DIN และ DIP สูง ส่วนปริมาณเถ้า ปริมาณไขมันและชนิดของกรดไขมัน ในสาหร่ายไม่มีความแตกต่างระหว่างชุด การทดลองที่มีอัตราส่วนของ N:P และระดับความเข้มข้นของ DIN และ DIP ที่แตกต่างกัน โดยกรดไขมันที่พบมีปริมาณสูงในทุกชุด การทดลองคือ Palmitic Acid และ Oleic Acid โดยสาหร่ายที่มีอัตราการเติบโตสูง จะพบ Oleic Acid ในปริมาณที่สูงกว่าสาหร่าย ที่มีอัตราการเติบโตที่ตํ่ากว่า ในขณะที่รูปแบบของสารอาหารไนโตรเจนไม่มีผลต่อปริมาณเถ้า ปริมาณโปรตีน ปริมาณ คาร์โบไฮเดรต และปริมาณไขมันของสาหร่ายชนิด C.lentilifera และชนิด U. rigida แต่มีแนวโน้มว่าปริมาณเถ้า ปริมาณโปรตีน ปริมาณคาร์โบไฮเดรต และปริมาณไขมันของสาหร่ายทัง้ 2 ชนิดนีจ้ ะมีปริมาณเพิ่มขึน้ เมื่อเลี้ยงในอาหารที่มีแอมโมเนียมสูงกว่าไน เตรท แต่รูปแบบของสารอาหารไนโตรเจนมีผลต่อปริมาณคาร์โบไฮเดรต แต่ไม่มีผลต่อปริมาณเถ้า ปริมาณโปรตีน และปริมาณ ไขมันในสาหร่ายชนิด G. fisheri สาหร่ายสีเขียวชนิด C. lentilifera และชนิด U. rigida สามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่มีปริมาณ สารอาหารสูงได้ เป็นสาหร่ายที่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำ เสียที่มีปริมาณไนโตรเจนสูง โดยเฉพาะน้ำทิ้ง จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเนื่องจากสามารถดึงแอมโมเนียมไปใช้ได้ดี นอกจากนี้ยังมีศักยภาพในการพัฒนาไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลได้เนื่องจาก มีปริมาณของกรดไขมันชนิด Palmitic acid ในปริมาณสูง เป็นแหล่งอาหารเนื่องจากอุดมไปด้วยปริมาณสารชีวเคมี โดยเฉพาะ สาหร่ายสีเขียวชนิด U. rigida ซึ่ง มีปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง ส่วนสาหร่ายสีแดงชนิด G. fisheri ก็มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสีย จากการเพาะเลีย้ งสัตว์น้ำ เช่นกันเนื่องจากสามารถนำแอมโมเนียมไปใช้ได้ดี และเหมาะที่จะใช้ประโยชน์ในการบริโภคเนื่องจากมี กรดไขมันชนิด Oleic acid ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพในปริมาณค่อนข้างสูง
Other Abstract: The effects of nitrogen and phosphorus on growth and biochemical composition of marine macroalgae species Caulerpa lentilifera, Ulva rigida and Gracilaria fisheri were investigated. The highest growth rate of C. lentilifera, U. rigida and G. fisheri were found in the medium with N:P ratio 10:1, 30:1 and 12:1, respectively. The green algae C. lentilifera showed preference of nitrogen in form of NO₃ over NH₄⁺ since its growth rate was maximized in the NO₃:NH₄⁺ ratio of 96:4. Another green algae, U. rigida and a red algae G. fisheri exhibited better growth in medium with high NH₄⁺ (NO₃:NH₄⁺ ratio of 0:100). These algae also showed different requirement for nutrient concentrations with the highest requirement of C. lentilifera; 1850 μM of DIN and 151 μM of DIP and 750 μM of DIN and 26 μM of DIP for U. rigida and 50 μM of DIN and 8 μM of DIP for G. fisheri. This discrepancy may due to algal experience in different nutrient status in their environments. The N:P ratio and the DIN and DIP concentrations have significant effects on biochemical compositions of these macroalgae. The highest amounts of carbohydrate and the amounts of protein in algae were found in high N:P ratio and high DIN and DIP concentrations while there is no significant effects on the amounts of ash, the amounts of lipid and fatty acid profile. The most abundant fatty acids found in these algae comprised of Palmitic Acid (16:0) and Oleic Acid (C18:1). The form of nitrogen, nitrate or ammonium, has no significant effect on the amounts of ash, the amounts of protein, the amounts of carbohydrate and the amounts of lipid in C.lentilifera and U. rigida. However, there is a tendency of higher amounts of protein, carbohydrate and lipid under higher ammonium condition. On the other hand, the amounts of carbohydrates in the red algae G. fisheri increased significantly with the increase in nitrate concentration rather than ammonium concentration. Chlorophyta species C. lentilifera and U. rigida can be the bioindicator for eutrophic environment. They have the potential to treat high nitrogen wastewater especially wastewater from coastal aquaculture because of the luxury ammonium uptake. In addition, they have the potential as raw materials for biodiesel because of their high Palmitic acid contents. Due to high biochemical composition especially the protein contents, a green alga U. rigida can be used as the potential food source for aquaculture feed. A rhodophyta species G. fisheri has high ability to uptake ammonium, so it is useful for coastal wastewater treatment as well. This macroalga is also suitable for using as health food because of its high Oleic acid contents.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31859
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1366
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1366
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ekthida_th.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.