Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31885
Title: การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารเรื่องการทำหมันชาย ของผู้รับบริการทำหมันชายที่สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
Other Titles: Communication behavior of the acceeptors of male sterilization at the population and community development association
Authors: อัจฉรา ธวัชวิบูลย์ผล
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการสื่อสารเกี่ยวกับการทำหมันชายของผู้รับบริการทำหมันชายที่สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมการสื่อสารเรื่องทั่วไปของผู้รับบริการทำหมันชายและศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม กับพฤติกรรมการสื่อสารเรื่องทั่วไป และการแสวงหาข่าวสารเรื่องการทำหมันชาย ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการทำหมันชายส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-34 ปี เรียนจบชั้น ป.1-ป.4 มีอาชีพเป็นลูกจ้างบริษัท มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน และมีบุตรที่มีชีวิตอยู่ 2 คน มากที่สุด ก่อนที่จะมาขอรับบริการทำหมันชายเคยใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นมาแล้ว วิธีที่ใช้มากที่สุดคือยาเม็ดคุมกำเนิด ส่วนใหญ่ผู้รับบริการทำหมันชายจะไม่เห็นด้วยกับข่าวสารด้านไม่ดีเกี่ยวกับการทำหมันชาย ส่วนข่าวสารด้านดีมักจะเห็นด้วย สื่อที่ให้ข่าวสารด้านดีเกี่ยวกับการทำหมันชายมักจะเป็นสื่อมวลชน ที่ให้ข่าวสารด้านไม่ดีมักจะเป็นสื่อบุคคล โดยเฉพาะเพื่อน สื่อมวลชนมีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องการทำหมันชายแก่ผู้รับบริการทำหมันชายมากกว่าสื่อบุคคล ในขณะที่สื่อบุคคลมีบทบาทในการจูงใจให้ยอมรับการทำหมันชายแก่ผู้รับบริการทำหมันชายมากกว่าสื่อมวลชน การแสวงหาข่าวสารเรื่องการทำหมันชายมีความสัมพันธ์กับระดับของความผูกพันระหว่างบุคคลและมีความสัมพันธ์กับระดับของความคล้ายคลึงระหว่างบุคคล ความคล้ายคลึงนี้ได้แก่ ความคล้ายคลึงทางด้านเพศ สถานภาพสมรสและอาชีพ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อภาพยนตร์ การสื่อสารกับบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนและการสื่อสารกับสื่อบุคคลทั้งหมด แต่รายได้มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์ และนิตยสารและสื่อมวลชนทั้งหมด การศึกษาก็มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อมวลชนทั้งหมดเช่นเดียวกัน และการศึกษาก็ยังมีความสัมพันธ์กับการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ ส่วนอาชีพมีความสัมพันธ์กับการสื่อสารกับเพื่อน อายุมีความสัมพันธ์กับการแสวงหาข่าวสารเรื่องการทำหมันชายจากบิดามารดา และญาติพี่น้องในขณะที่อาชีพมีความสัมพันธ์กับการแสวงหาข่าวสารเรื่องการทำหมันชายจากเพื่อน ส่วนรายได้ก็มีความสัมพันธ์กับการแสวงหาข่าวสาร เรื่องการทำหมันชายจากนิตยสาร การศึกษาเป็นปัจจัยเพียงอย่างเดียวที่มีมีความสัมพันธ์กับการแสวงหาข่าวสารเรื่องการทำหมันชายจากสื่อมวลชนและจากสื่อบุคคล
Other Abstract: The objective of this research was to study the communication behavior on male sterilization of the acceptors at the Population and Community Development Association. The study also aimed at examining the acceptors’ demographic, socio-economic characteristics and general communication behavior as well as investigating the relationships between these variables. The major results of this study were as follows: Most of the acceptors were 30-40 years old with the educational level at grade 1-4. They were private employees, earned not over 5000 baht per month and most of them had two living children. Before accepting male sterilization service, they had used other contraceptive methods and the most popular one was oral contraceptive. Most of the acceptors disagreed with negative side of information about male sterilization. They listened more to the positive side of information. Sources of the positive information were likely to be mass media while the negative were interpersonal media, especially friends. Mass media played a more important role than interpersonal media in giving knowledge about male sterilization to the acceptors while interpersonal media had more important role than mass media in persuading the acceptors to accept male sterilization. Information seeking to accept male sterilization was related to the level of strength of ties among those concerned as well as the level of homophily. These homophilies were sex, marital status and occupation. Age of the acceptors was correlated to mass media exposure especially movies, communication with parents, relatives, friends and all interpersonal communication. Both income and education were correlated to exposure to newspapers, magazines and all mass communication. Education also was correlated to television exposure. Moreover, occupation was correlated to communication with friends. Age of the acceptors was correlated to information seeking about male sterilization from their parents and relatives while occupation was correlated to such an information from friends. Income was correlated to the information from magazines. Education was only one factor which was not correlated to information seeking about male sterilization from mass media and interpersonal media.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31885
ISBN: 9745686441
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_th_front.pdf11.94 MBAdobe PDFView/Open
Achara_th_ch1.pdf9.72 MBAdobe PDFView/Open
Achara_th_ch2.pdf19.2 MBAdobe PDFView/Open
Achara_th_ch3.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
Achara_th_ch4.pdf30.41 MBAdobe PDFView/Open
Achara_th_ch5.pdf19.5 MBAdobe PDFView/Open
Achara_th_back.pdf29.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.