Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31895
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล | - |
dc.contributor.advisor | ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร | - |
dc.contributor.advisor | วิฑูรย์ โล่ห์สุนทร | - |
dc.contributor.author | อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-04T07:06:11Z | - |
dc.date.available | 2013-06-04T07:06:11Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31895 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาถึงผลของการบำบัดความคิดและพฤติกรรม(CBT) ต่อภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวียังอยู่ในวงจำกัดสำหรับประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และการ เปลี่ยนแปลงของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ภายหลังได้รับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมครบ 1 เดือน และที่เวลา 3 เดือนหลังจากเสร็จสิ้นการบำบัดความคิดและพฤติกรรม โดยทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดไป ข้างหน้า ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มศึกษา (CBT group) จำนวน 40 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ (Non-CBT group) จำนวน 80 คน ณ คลินิกภูมิคุ้มกันและภูมิแพ้ และคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่เข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม มีอายุเฉลี่ย 44.8 ปี ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมี อายุเฉลี่ย 43.4 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มเป็นเพศหญิง เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของปัจจัยพื้นฐานระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม พบว่าเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วงหนึ่งปี ที่ผ่านมาของกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในช่วง baseline คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเท่ากับ 26.7 คะแนน ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบ เท่ากับ 25.3 คะแนน เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยร่วมอันได้แก่ อายุ เพศ การใช้ยา efavirenz แรงสนับสนุนทางสังคม เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต และสัมพันธภาพของการรักษาระหว่างผู้ป่วยกับ แพทย์ พบว่าการเปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ในกลุ่มที่เข้ารับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมมี มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งจากการประเมินภายหลังจากได้รับการบำบัดความคิดและ พฤติกรรมครบ 1 เดือน [11.84 (95% CI: 9.55,14.13)] (p<0.001) และที่ 3 เดือนหลังจากเสร็จสิ้นการบำบัดความคิด และพฤติกรรม [15.74 (95% CI: 13.28, 18.20)] (p<0.001) จากผลการศึกษาในครั้งนี้ สรุปได้ว่าการบำบัดความคิดและพฤติกรรมมีประโยชน์ในการรักษาภาวะซึมเศร้า ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยประสิทธิผลของการรักษาพบทั้งหลังจากการเสร็จสิ้นการบำบัดทันที และยังคงอยู่เมื่อมีการติดตามไปข้างหน้าที่ระยะเวลา 3 เดือน | en |
dc.description.abstractalternative | In Thailand, the therapeutic effect of cognitive behavioral therapy (CBT) for depression among adult HIVinfected patients has been limitedly studied. The objectives of this study were to determine the association of CBT and changes of depression both immediately and at 3-month post-treatment. A prospective cohort study was conducted at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Forty and eighty HIV-infected adults who received and did not receive CBT were recruited from the immunology clinic and sexually transmitted diseases clinic. The results showed that the mean ages of participants were 44.8 and 43.4 years in the CBT and non-CBT groups respectively. In both group, about half of the subjects were females. Life stress event score in CBT group was significantly higher than the non-CBT group (p <0.05). At baseline, the mean TDI scores of the CBT group and non-CBT group were 26.7 and 25.3 respectively. After adjustment for age, gender, taking efavirenz, social support, life stress event and patient’s trust ; the mean changes of TDI scores in the CBT group were significantly higher than the non-CBT group both immediately [11.84 (95% CI: 9.55, 14.13)] (p <0.001) and at 3-month post-treatment [15.74 (95% CI: 13.28, 18.20)] (p < 0.001). According to the finding of this study, CBT is beneficial for treatment of depression among adult HIVinfected patients in Thailand. The beneficial effect of CBT was not only immediate but also sustained at 3-month post-treatment. | en |
dc.format.extent | 1447298 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1367 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.subject | โรคเอดส์ -- การรักษา | en |
dc.subject | เอชไอวี (ไวรัส) | en |
dc.subject | ความซึมเศร้า | en |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี -- การดูแล | en |
dc.subject | HIV (Viruses) | en |
dc.subject | AIDS (Disease) -- Treatment | en |
dc.subject | Depression | en |
dc.subject | HIV-positive persons -- Care | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงของภาวะซึมเศร้า ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en |
dc.title.alternative | The association between cognitive behavioral therapy and change of depression among HIV-infected patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์ชุมชน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Narin.H@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | drnuttorn@yahoo.com | - |
dc.email.advisor | vitool@msn.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1367 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
isareethika_ja.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.