Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31907
Title: | สภาพการศึกษา ปัญหา และความต้องการการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ที่เป็นชาวซอง : การศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนวัดทุ่งสะพาน หมู่บ้านทุ่งสะพาน ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี |
Other Titles: | Educational settings, problems and needs for education of chong students in prathom suksa five and six : a case study of Wattungsapan school, Mooban Tungsapan, Tambol Plung, Amphoe Makham, Changwat Chantaburi |
Authors: | อัจฉรา มุขแจ้ง |
Advisors: | ชนิตา รักษ์พลเมือง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการศึกษา ปัญหา และความต้องการการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียนของนักเรียนชาวชองชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนวัดทุ่งสะพาน หมู่บ้านทุ่งสะพาน ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนชาวชองในหมู่บ้านทุ่งสะพานเป็นชุมชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่เป็นเวลานับร้อย ๆ ปี และยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นชองไว้หลายด้าน โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อบางอย่าง เนื่องจากชาวชองเป็นผู้ที่ถือสัญชาติไทย จึงได้รับการศึกษาในโรงเรียนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 โรงเรียนในหมู่บ้านนี้มีเป้าหมายพิเศษในการให้การศึกษาแก่นักเรียนชาวชองคือ ต้องการให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้เพราะนักเรียนชาวชองไม่นิยมศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา อันเนื่องมาจากสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว การศึกษานอกโรงเรียนที่นักเรียนชาวชองได้รับ ส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายทอดความรู้ทางด้านอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา และจริยธรรม ตลอดจนความเชื่อต่าง ๆ ของชาวชอง โดยมีครอบครัวเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว สำหรับปัญหาที่พบในการถ่ายทอดการศึกษา พบว่า โรงเรียนมีปัญหาในการปฏิบัติตามเป้าหมายการจัดการศึกษาตามที่รัฐกำหนด และมีข้อสังเกตว่าโรงเรียนยังไม่ได้มีการปรับหลักสูตรให้เข้ากับสภาพท้องถิ่นเท่าที่ควร ส่วนผู้ปกครองไม่มีเวลาในการอบรมสั่งสอนและใกล้ชิดกับนักเรียนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ในด้านความต้องการทางการศึกษาพบว่า นักเรียนต้องการให้โรงเรียนสอนเน้นกลุ่มทักษะและกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย โดยต้องการให้สอดแทรกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวชองและท้องถิ่น ส่วนในด้านการศึกษาโรงเรียนพบว่า นักเรียนต้องการมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัย เพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ความรู้ในเรื่องการทำสวนผลไม้เพื่อการประกอบอาชีพ และยังคงต้องการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวชอง โดยเฉพาะประเพณีการแต่งงานแบบชอง และประเพณีการทำบุญทุ่ง |
Other Abstract: | This research study proposed to examine the educational condition, problems, and needs of formal and informal education of Chong students in Prathom Suksa five and six of Wattungsapan School, Mooban Tungsapan, Tumbol Plung, Amphoe Makham, Changwat Chantaburi. The research findings revealed that the Chong community in Mooban Tungsapan was settled there for hundred of years and it retains hereunto various aspects of the Chong identity, in particular the traditional culture and certain beliefs. Given to their Thai nationality, the Chong are educated according to the 1978 Primary Education Curriculum in Wattungsapan School in the village. In educating the Chong students, the school emphasized basic vocational knowledge since the Chong students preferred not to continue their education at the secondary level pending to their family economic status. Accordingly, the kind of informal education which most of the Chong students obtained was the socialization of knowledge on vocation, traditional culture, religion and ethics as well as the Chong’s beliefs ; by having the family performs the essential role in such socialization. Problems generally encountered in the educational process were that school faced the problems in implementing the educational goals formulated by the government and it was noted that the school had not much adapted the curriculum to the local environment; and that parents due to the economic reasons, had not enough time to discipline and cultivate warm relationships with their children. As regards the educational needs it was found that students wished their school to emphasize on the teachings of skills and character development, particularly in insetting the matters of the Chong and the local. Additionally, it was also shown from the aspect of informal education that the students demanded more knowledge on public health for quality of life improvement as well as the knowledge on horticulture tradition was also required with particular emphasis given to the Chong’s marriage ceremony and ‘Tung’ merit-making ceremony. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถิติการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31907 |
ISBN: | 9745688797 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ajchara_mu_front.pdf | 9.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchara_mu_ch1.pdf | 9.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchara_mu_ch2.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchara_mu_ch3.pdf | 26.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchara_mu_ch4.pdf | 43.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchara_mu_ch5.pdf | 19.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ajchara_mu_back.pdf | 45.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.