Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31948
Title: | การศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรค ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | A study of the environment related to nosocomial infection of the patients in the hospitals under the jurisdiction of the ministry of public health |
Authors: | อัจฉราวรรณ กาญจนัมพะ |
Advisors: | ประนอม โอทกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคของผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วยความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เรื่องการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล สิ่งสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล การปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล ซึ่งได้แก่การปฏิบัติการรักษาพยาบาล และการจัดสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วย ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ เรื่องการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาลอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์ความรู้ตามรายด้านทั้ง 8 ด้านพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านการเฝ้าระวังโรค และการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่ มากกว่าร้อยละ 50 ส่วนอีกทั้ง 6 ด้าน ซึ่งได้แก่ การแยกโรค การทำลายเชื้อโรคและทำให้ปราศจากเชื้อโรค เทคนิคการรักษาพยาบาล การเก็บและแปลผลสิ่งส่งตรวจ การสุขาภิบาลและอนามัย สิ่งแวดล้อม การจัดหอผู้ป่วยนั้นแต่ละด้านน้อยกว่าร้อยละ 50 2. สิ่งสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล โดยส่วนรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า ด้านยา สารน้ำ น้ำยา น้ำกลั่น และชุดเครื่องใช้ทางการแพทย์ประเภทพลาสติกปราศจากเชื้อโรค และด้านเครื่องมือเครื่องใช้มีการสนับสนุนในระดับปานกลาง ส่วนด้านอาคารหอผู้ป่วยและเครื่องผ้ามีการสนับสนุนในระดับน้อย 3. การปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล ซึ่งได้แก่ 3.1 การปฏิบัติการรักษาพยาบาลที่มีการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปฏิบัติในระดับมาก 4 รายการคือ การดูแลความสะอาดของเครื่องนุ่งห่ม การใส่สายสวนคาปัสสาวะ การสวนปัสสาวะ และการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ระดับปานกลางมี 9 รายการ ได้แก่ การชะแผล การล้างมือ การฉีดยา การทำความสะอาดร่างกายของผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การจัดและแจกยารับประทาน การดูแลความสะอาดของเครื่องนอน การให้ออกซิเจน การดูดเสมหะ และการทำความสะอาดร่างกายของผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองได้ ส่วนระดับน้อยมี 3 รายการ ได้แก่ การแยกผู้ป่วยที่ติดโรคง่าย การแยกผู้ป่วยโรคที่ติดต่อง่ายหรือมีอันตรายสูง การแยกผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคอยู่ในระบบทางเดินหายใจ 3.2 การจัดสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก 3 รายการ ได้แก่ การระบายอากาศและแสงแดด การจัดการเยี่ยมและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ การควบคุมแมลงและสัตว์พาหนะนำโรค ระดับปานกลาง 4 รายการ ได้แก่ การจัดเก็บบำรุงรักษาเครื่องผ้า การจัดเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือปราศจากเชื้อโรค การจำกัดของและสิ่งปฏิกูล การทำความสะอาดภายในหอผู้ป่วย ส่วนระดับน้อย 4 รายการได้แก่ การจัดเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือทั่วไป การจัดเก็บบำรุงรักษายา สารน้ำและน้ำกลั่น และชุดเครื่องใช้ทางการแพทย์ การจัดการสัญจรภายในอาคาร และการจัดหอผู้ป่วย |
Other Abstract: | The aims of research were to study the 3 categories of hospital environment related to nosocomial infection of the patients in the hospitals under the jurisdiction of the ministry of public health. It was found that 1. The knowledge of professional nurses classified by rank, level and location of hospitals were in low level. 2. The supportive measure of prevention and controlling of nosocomial infection, in generally, was in low level. The items of medication, solution, antiseptic, disinfectants, disposable set and materials were in middle level, but the items of ward’s design and hospital linen were in low level. 3. The nursing practice concerning prevention and controlling of nosocomial infection: 3.1 The four items practicing in the most level namely handling of the cloth, intermittent catheterization, urinary catheterization, intravenous catheterization. The items obtained in middle level were wound dressing, hand washing, injection, bathing the patients, managing the oral medication, badmaking, oxygen therapy and suction. The items indicated in low level were isolation and precaution infection. 3.2 The three items of environmental management namely ventilation systems, visiting the patients and health teaching, insecticide were indicated in the most level. The items of handling of hospital linen, disinfection and sterilization equipment, waste disposal, ward cleaning, storage and maintenance the general equipment, storage and maintenance medication solution and disposable set, traffic in the ward. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31948 |
ISBN: | 9745694274 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Acharavun_ka_front.pdf | 9.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Acharavun_ka_ch1.pdf | 5.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Acharavun_ka_ch2.pdf | 13.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Acharavun_ka_ch3.pdf | 8.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Acharavun_ka_ch4.pdf | 30.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Acharavun_ka_ch5.pdf | 11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Acharavun_ka_back.pdf | 39.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.