Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31951
Title: ผลของการฝึกหัดในใจภายหลังการฝึกเสริฟที่มีต่อความแม่นยำ ในการเสริฟเทนนิส
Other Titles: Effects of mental practice after service practicing on accuracy of tennis service
Authors: อัจฉรีพร พงษ์สุพรรณ
Advisors: ศิลปชัย สุวรรณธาดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกหัดในใจภายหลังการฝึกเสริฟที่มีต่อความแม่นยำในการเสริฟเทนนิส กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นอาสาสมัครเข้ารับการฝึกทักษะกีฬาเทนนิส จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มกำหนด กำหนดให้กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกทักษะการเสริฟตามโปรแกรมการฝึก 30 นาที เพียงอย่างเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ทดสอบความแม่นยำในการเสริฟภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 6 โดยใช้แบบทดสอบวัดความสัมฤทธิ์ผลในการเล่นเทนนิสของเฮวิท (Hewitt’s Achievement Test) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measurement) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีของตูกี (เอ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One-way Analysis of Covariance) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความแม่นยำในการเสริฟเทนนิสของกลุ่มฝึกหัดในใจภายหลังการฝึกเสริฟ มีความแตกต่างกันระหว่างการทดสอบก่อนการฝึก, หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 และความแม่นยำในการเสริฟของกลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริฟเพียงอย่างเดียว ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างการทดสอบทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ความแม่นยำในการเสริฟเทนนิสของกลุ่มฝึกหัดในใจภายหลังการฝึกเสริฟไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริฟเพียงอย่างเดียว หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 2 แต่ภายหลังการฝึกเสริฟสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 6 ความแม่นยำในการเสริฟของกลุ่มฝึกหัดในใจภายหลังการฝึกเสริฟมีความแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการฝึกเสริฟเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the effects of mental practice after service practicing on accuracy of tennis service. Thirty subjects were volunteers. They were randomly assigned into two equal groups as to an experimental group and a control group. The experimental group practiced tennis serving for 30 minutes and mentally practiced tennis serving for 10 minutes. The control group only practiced tennis serving for 30 minutes. Both groups practiced the assigned routines three days a week, for six weeks. They were tested the serving accuracy after the second, fourth, and sixth week, by the Hewitt’s tennis achievement test. The collected data were then, analyzed by means of One-way Repeated Analysis of Variance, One-way Analysis of Covariance and Tukey “a” as the follow-up test. The results revealed that: 1. The accuracy of the serving practice plus mental practice group was significantly different between the pretest, the second week test, and the sixth-week test, whereas there was not significantly different between all of the tests in the only serving practice group, at the .05 level. 2. The accuracy of the serving practice plus mental practice group did not show any significant difference from the only serving practice group after the second week, but there were some significant differences after the fourth week, and the sixth week, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31951
ISBN: 9745780464
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achareeporn_po_front.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open
Achareeporn_po_ch1.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open
Achareeporn_po_ch2.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open
Achareeporn_po_ch3.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Achareeporn_po_ch4.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Achareeporn_po_ch5.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Achareeporn_po_back.pdf10.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.