Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32007
Title: อาชญากรรมสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโรงงานอุตสาหกรรม
Other Titles: Environmental crime : a case study of industrial factory
Authors: เอกชัย ฤทธิภักดี
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ว่า การนำเอามาตรการทางอาญาที่เหมาะสมมาใช้บังคับต่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อควบคุมการก่อให้เกิดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ผลของการวิจัยพบว่า ลักษณะของการก่อให้เกิดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม สร้างความเสียหายและก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและทรัพย์สินของประชาชน สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดว่าเป็นอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อมอันมีลักษณะเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่ง ดังนั้น แนวความคิดในการนำกฎหมายอาญาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ จึงมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญาและเหมาะสมกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมาตรการทางอาญาที่นำมาใช้บังคับต่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมยังมีปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ควรปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางอาญาให้สอดคล้องกับลักษณะของความรุนแรงของอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ควรมีการกำหนดความผิดอาญา เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างชัดแจ้ง การนำเอาหลักความรับผิดทางอาญาโดยเคร่งครัด (Strict Criminal Liability) ต่อความผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การนำมาตรการเสริมมาใช้ควบคู่กับมาตรการทางอาญาต่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อม การตั้งหน่วยงานพิเศษในการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม และควรเพิ่มบทบาทของประชาชนในคดีสิ่งแวดล้อม เช่น การนำเอาหลักการเรื่อง “Citizen Suit” และ “Class Action” มาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม
Other Abstract: This research aims to analyze the implementation of the appropriate criminal measures for enforcing environmental crime in order to control environmental pollution caused by industrial factory. The research has found that the environmental pollution causes serious damage to the health of persons and properties, and effects to community, economic development as well as environmental deterioration. Thus, such action is considered to be environmental crime that is one kind of economic crimes. Consequently, the concept of implementation of criminal law against pollution offence is compatible with the objective of criminal law and also suitable to prevent and suppress the environmental crime. However, the implementation of criminal measures is still limited by its nature and insufficient to resolve the above mentioned problems. The research has recommended that the criminal measures toward the gravity of environmental crime should be improved. It is necessary to enact the criminal offence for environmental pollution, especially adhering the strict criminal liability for the environmental offence and also adopt the subsidiary measures serving as preventive sanctions together with the criminal measures. The particularly responsible agency should be considered to establish and the role of public participation in the environmental case, such as Citizen Suit and Class Action, also should be adopted.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32007
ISBN: 9746342592
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekchai_ri_front.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Ekchai_ri_ch1.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open
Ekchai_ri_ch2.pdf21.19 MBAdobe PDFView/Open
Ekchai_ri_ch3.pdf23.34 MBAdobe PDFView/Open
Ekchai_ri_ch4.pdf35.97 MBAdobe PDFView/Open
Ekchai_ri_ch5.pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open
Ekchai_ri_back.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.