Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32024
Title: การขจัดกำมะถันและเถ้าจากถ่านหินด้วยสารละลาย ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
Other Titles: Sulfur and ash removal from coal VIA hydrogen peroside solution
Authors: เอกชัย อานนท์กิจพานิช
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารภี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากถ่านหินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ การทำความสะอาดถ่านหินเป็นวิธีการลดกำมะถันและเถ้าในถ่านหินก่อนนำไปเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงและช่วยลดสารมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการขจัดกำมะถันในถ่านหินโดยใช้สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเครื่องปฏิกรณ์ถังกวนแบบไม่ต่อเนื่อง จากผลการวิจัยพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการขจัดกำมะถันจากถ่านหินแหล่งแม่เมาะ คือ ความเข้มข้นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10-15% น้ำหนักต่อปริมาตรใน 0.1 นอร์มอล กรดซัลฟูริก ขนาดถ่านหินต่ำกว่า 250 ไมครอน อุณหภูมิ 25-30°ซ อัตราการกวน 1000-1200 รอบต่อนาที ปริมาณถ่านหิน 30 กรัมต่อสารละลาย 300 มล. (1:10) ระยะเวลา 1-1-½ ชม. สามารถลดกำมะถันรวมได้ 48.82% ลดกำมะถันซัลเฟตได้ 84.28% ลดกำมะถันไพไรต์ได้ 97.30% ลดกำมะถันอินทรีย์ได้ 9.50% ลดเถ้าได้ 68.81% และเพิ่มค่าความร้อนได้ 11.69% ในการขจัดกำมะถันของถ่านหินพบว่าอัตราเร็วปฏิกิริยาเป็นอันดับสองของไพไรต์ ขั้นตอนการควบคุมอัตราเร็วปฏิกิริยาไพไรต์เป็นแบบควบคุมโดยการแพร่ โดยมีค่าคงที่อัตราเร็วปฏิกิริยาของไพไรต์ (K₂) และค่าการแพร่ประสิทธิผล (De) คือ สำหรับถ่านหินเหมืองแม่เมาะ k₂ = 12.02x10⁶ exp (-52.61x10⁶RT) De = 1.78x10⁻⁵ exp (-33.22x10⁶RT) สำหรับถ่านหินเหมืองป่าคา k₂= 3.88x10⁶exp (-49.71x10⁶RT) De = 1.15x10⁻⁵ exp (-33.09x10⁶RT)
Other Abstract: Due to the importance of coal as natural resource, coal cleaning is method to decrease sulfur and ash prior to combustion which can reduce pollutants during combustion. The desulfurization of coal using hydrogen peroxide solution in a batch stirred tank reactor was studied. The suitable conditions for desulfurization of coal from Mae-Moh mine, were as follows; 10-15% W/V hydrogen peroxide/0.1 N sulfuric acid, particle size of coal<250 um, temperature 25-30°C, rate of agitation 1000-1200 rpm., loading 30 gm coal/300 ml. solution (1:10) for 1-1-1/2 hr. and the results were, 48.82% total sulfur reduction, 84.28% sulfate sulfur reduction, 97.30% pyritic sulfur reduction, 9.50% organic sulfur reduction, 68.81% ash reduction and 11.69% heating value increase. For the desulfurization of coal, it was found that the rate of pyrite oxidation was second-order, the rate of pyrite reaction was controlled by the diffusion through product layer. When the rate constants for pyrite reaction (k₂and effective diffusivity (De) were as follows For Mae-Moh coal k₂= 12.02x10⁶ exp (-52.61x10⁶ RT) De = 1.78x10⁻⁵exp (-33.22x10⁶RT) For Pa-Ka coal k₂= 3.88x10⁶ exp (-49.71x10⁶ RT) De = 1.15x10⁻⁵exp (-33.09x10⁶ RT)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32024
ISBN: 9745674915
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekachai_ah_front.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open
Ekachai_ah_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Ekachai_ah_ch2.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open
Ekachai_ah_ch3.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
Ekachai_ah_ch4.pdf29.53 MBAdobe PDFView/Open
Ekachai_ah_ch5.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Ekachai_ah_back.pdf13.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.