Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32110
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย | - |
dc.contributor.author | สาธิดา แรกคำนวน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-10T03:51:40Z | - |
dc.date.available | 2013-06-10T03:51:40Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32110 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระการดูแลของผู้ดูแล รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระการดูแลของผู้ดูแล ที่แผนกจิตเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา ศึกษาผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลผู้ป่วย ที่แผนกจิตเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน พ.ศ.2554 จำนวน 90 ราย แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ชุดได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามภาระการดูแล และ 3) แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมและจิตใจในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยและภาระการดูแลของผู้ดูแล โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ สถิติทีแบบกลุ่มตัวอย่างอิสระ และสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยและภาระการดูแลของผู้ดูแล โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา ด้านปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ พบว่าผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ จำนวน 90 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 68.9) มีอายุเฉลี่ย 77.7 ปี ระยะเวลาที่ป่วยเฉลี่ย 4.6 ปี คะแนนแบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย (Thai Mental State Examination, TMSE) เฉลี่ย19.5 พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ 58 ราย (ร้อยละ 64.4) และมีผลกระทบของปัญหาพฤติกรรมและจิตใจต่อผู้ดูแลในระดับเล็กน้อย 42 ราย (ร้อยละ 46.7) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป (p < 0.05) ระดับคะแนน TMSE ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 (p < 0.01) ปัจจัยทำนายปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป (p < 0.05) ระดับคะแนน TMSE ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 (p < 0.01) และด้านภาระการดูแลของผู้ดูแล พบว่า ผู้ดูแล จำนวน 90 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.7) มีอายุเฉลี่ย 49.4 ปี พบว่า ส่วนใหญ่มีภาระการดูแล 62 ราย (ร้อยละ 68.9) โดยพบว่ามีภาระการดูแลส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง 37 ราย (ร้อยละ 41.1) ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับภาระการดูแลของผู้ดูแล (p < 0.01) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแล ได้แก่ อายุผู้ดูแลที่มากกว่า 40 ปี การไม่ได้ประกอบอาชีพ และการไม่มีรายได้ (p < 0.05) ปัจจัยของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแล ได้แก่ อายุผู้ป่วยตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป (p < 0.05) ผู้ป่วยมีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ การมีพฤติกรรมผิดปกติ (p < 0.01) การมีอาการไม่สงบ กระสับกระส่าย ก้าวร้าว การมีอารมณ์แปรปรวน (p < 0.05) และผลกระทบของปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยต่อผู้ดูแลในระดับปานกลางถึงมาก (p < 0.01) ปัจจัยทำนายภาระการดูแลของผู้ดูแล ได้แก่ ผลกระทบของปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยต่อผู้ดูแลในระดับปานกลางถึงมาก (p < 0.05) สรุป ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์ที่แผนกจิตเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ส่วนใหญ่ มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ (ร้อยละ 64.4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยและเป็นปัจจัยทำนายปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วย ได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ระดับคะแนน TMSE ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 23 และผู้ดูแลส่วนใหญ่มีภาระการดูแล (ร้อยละ 68.9) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลและเป็นปัจจัยทำนายภาระการดูแล ได้แก่ ผลกระทบของปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยต่อผู้ดูแลในระดับปานกลางถึงมาก | en |
dc.description.abstractalternative | Objectives: To study the behavioral and psychological symptoms of dementia (BPSD), and the caregiver burden among caregivers of Alzheimer’s dementia patients and the associated factors of BPSD and caregiver burden in the Department of out patient Psychiatry, King Chulalongkorn Memorial Hospital Method: Ninety primary caregivers were recruited from the Department of out patient Psychiatry, King Chulalongkorn Memorial Hospital during August to November 2011. The questionnaires were compound of three: 1) Demographic questionnaire, 2) Zarit Burden Interview (ZBI), and 3) Behavioral Pathology in Alzheimer's Disease Rating Scale (BEHAVE-AD). The associated factors of BPSD and caregiver burden were analyzed by chi-square test, independent t-test, and Pearson’s correlations. Logistic regression was used to identify the predictor of BPSD and caregiver burden among caregivers of Alzheimer’s dementia patients. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Results: About the behavioral and psychological symptoms of dementia, most of the Alzheimer’s dementia patients were female (68.9%). The average age was 77.7 years, the average duration of illness was 4.6 years and the average Thai Mental State Examination (TMSE) scores was 19.5. Most of them (58 patients, 64.4%) had the BPSD and the BPSD minimally affected the caregivers (42 patients, 46.7%). The associated factors of BPSD were the duration after diagnosis above 4 years (p<0.05) and the TMSE scores of less than to 23 (p<0.01). Logistic regression showed that the predictors of BPSD were the duration after diagnosis above 4 years (p<0.05) and the TMSE scores of less than to 23 (p<0.01). About the caregiver burden among caregivers, most of the caregivers were female (86.7%). The average age was 49.44 years. Most of them (62 caregivers, 68.9%) had caregiver burden and had mild to moderate burden level (37 caregivers, 41.1%). The associated factors of caregiver burden were caregiver age more than 40 years, absence of occupation, absence of income (p<0.05),patient age above 80 years (p<0.05), presence of BPSD (p<0.01), having activity disturbances(p<0.01), having aggressiveness, having affective disturbance (p<0.05) and having the moderate-to-severe impact of BPSD (p<0.01). The predictor of caregiver burden was the moderate-to-severe impact of BPSD (p<0.05). Conclusion: Most of the Alzheimer’s dementia patients (64.4%) had BPSD. The associated factors and predictors of BPSD were the duration after diagnosis above 4 years and the TMSE scores of less than to 23. Most of the caregivers (68.9%) had caregiver burden. The associated factors and predictors of caregiver burden was the moderate-to-severe impact of BPSD. | en |
dc.format.extent | 1284661 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.326 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้ดูแล | en |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การดูแล | en |
dc.subject | โรคอัลไซเมอร์ -- ผู้ป่วย -- การดูแล | en |
dc.subject | Caregivers | en |
dc.subject | Dementia -- Patient -- Care | en |
dc.subject | Alzheimer's disease -- Patients -- Care | en |
dc.title | ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระการดูแลของผู้ดูแล ที่แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en |
dc.title.alternative | Behavioral and Psychological Symptoms of Dementia (BPSD) and caregiver burden among caregivers of alzheimer's dementia patients at department of psychiatry, King Chulalongkorn Memorial Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | peeraphon_tu@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.326 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sathida_ra.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.