Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32178
Title: ผลของการสอนการออกแบบงานทัศนศิลป์โดยใช้แผนผังกราฟิกที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Effects of visual art design teaching by using graphic organizers on learning outcomes of tenth grade students
Authors: ปารณีย์ ด้วงอิ่ม
Advisors: ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ppoonara@chula.ac.th
Subjects: ทัศนศิลป์ -- การศึกษาและการสอน
ศิลปะ
ผังกราฟิก
Art -- Study and teaching
Graphic organizers
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนออกแบบงานทัศนศิลป์ โดยใช้แผนผังกราฟิกที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้คือ 1) กลุ่มทดลองมีค่ามัชฌิมเลขคณิตจากแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 60 2) กลุ่มทดลองมีค่ามัชฌิมเลขคณิตจากแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3) กลุ่มทดลองมีค่ามัชฌิมเลขคณิตจากคะแนนผลงานทัศนศิลป์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และ 4) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในการสอนการออกแบบงานทัศนศิลป์โดยใช้แผนผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขามแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2553 จำนวน 60 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัด การเรียนรู้เรื่องการออกแบบงานทัศนศิลป์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการออกแบบงานทัศนศิลป์โดยใช้แผนผังกราฟิก 3)แบบประเมินผลงานทัศนศิลป์แบบรูบริค 4) แบบประเมินแผนผังความคิดแบบรูบริค 5) แบบสอบวัดผลการเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียนแบบอัตนัย และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการสอนการออกแบบโดยใช้ผังกราฟิก เป็นมาตรวัดความพึงพอใจ 5 ระดับ ที่มีคำถามปลายเปิด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และการทดสอบที(t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของกลุ่มทดลองมีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 20.50 คิดเป็นร้อยละ 68 2) กลุ่มทดลองมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนจากแบบ ทดสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 3) กลุ่มทดลองมีค่ามัชฌิมเลขคณิตจากคะแนนผลงานทัศนศิลป์ คือ การออกแบบเข็มกลัดที่ระลึก และการออกแบบลวดลายเสื้อเท่ากับ 23 และ 24.43คิดเป็นร้อยละ 92 และ 97.72 4) กลุ่มทดลองพึงพอใจในการสอนการออกแบบงานทัศนศิลป์โดยใช้แผนผังกราฟิกมาก การสอนการออกแบบงานทัศนศิลป์โดยใช้แผนผังกราฟิกที่สร้างขึ้นช่วยปรับโครงสร้างทางความคิดของผู้เรียนให้เป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
Other Abstract: This research is a pre experimental design. The objective was to study effects of visual arts design teaching by using graphic organizers on the learning outcomes of 10th grade students in three domains: cognitive domain, affective domain and psychomotor domain. The sample group was 60 students from Khamkaennakhon Schoool, Khon Kaen Province, in second semester of 2010 academic year. The sample was divided into experimental group and control group 30:30. The research instruments which constructed by the researcher were 1) visual art design lesson plans. 2) visual art design by using graphic organizers lesson plans. 3) visual arts assessment rubric form 4) mind mapping assessment rubric form 5) a set of pre-test and post-test, and 6) questionnaire on satisfaction of teaching visual art design by using graphic organizers. Analyzed data revealed by arithmetic mean ( ), standard deviation (SD), percentage, frequency and t-test. It was found that: 1) the cognitive learning of the experimental group with arithmetic mean was 20.50 or 68 percent. 2) The experimental group had arithmetic mean of post-test more than pretest and the control group at .05 level of statistical significance. 3) The experimental group had scores of arithmetic mean of the two pieces of visual art works-commemorative button of Khonkaen Province and fantasy world graphic design on T-shirt were 23 and 24.43 or 92 and 97.72 percent and, 4) the experimental group were satisfied with the teaching model of visual arts design though using graphic organizers. It can conclude that this teaching model can restructure student’s schematic system, increases their learning effective –cognitive, affective and psychomotor domain.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32178
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1418
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1418
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parany_du.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.