Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32179
Title: แบบจำลองอัตราการเปลี่ยนแปลงสำหรับปริมาณน้ำตาลในอ้อย
Other Titles: Rate of change model for sugar content in sugarcane
Authors: กฤษฎิ์ บัวเผื่อน
Advisors: สุชาดา ศิริพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.S@Chula.ac.th
Subjects: อ้อย -- คุณภาพ
อ้อย -- การเจริญเติบโต
ความหวาน
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อ้อย (Saccharum officinaram L.) เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ที่มีผลผลิตอ้อยเฉลี่ยประมาณ 8-9 ตัน/ไร่ ซึ่งต่ำกว่าประเทศคู่แข่งมาก ดังนั้นการจัดการในด้านต่างๆที่จะส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของอ้อยจึงมีความสำคัญ ค่าความหวานของน้ำตาลในต้นอ้อย (Commercial Cane Sugar, C.C.S) เป็นตัวชี้วัดระดับราคาของอ้อยในอุตสาหกรรมน้ำตาล จากการศึกษาข้อมูลพบว่าช่วงระยะย่างปล้องจะเริ่มมีการสะสมน้ำตาลมากขึ้นจนกระทั่งถึงระยะแก่และสุกจากนั้นการสะสมของน้ำตาลจะมีปริมาณลดลงเนื่องจากมีการนำน้ำตาลไปใช้ในการสร้างดอกเพื่อการขยายพันธุ์ งานวิจัยนี้ได้แสดงแบบจำลองการเจริญเติบโตของต้นอ้อยและการสะสมของน้ำตาลที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบความเข้มข้นของน้ำตาลในต้นโดยใช้สมการเชิงอนุพันธุ์ (Differential equation) มีการกำหนดข้อมูลเข้าเป็น วันหลังจากปลูก และตัวแปรเป้าหมายคือ ความเข้มข้นของน้ำตาล (%brix) ทำการเก็บข้อมูลจากอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 60 ที่ปลูกในไร่อ้อย อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี นำมาสร้างแบบจำลองการเจริญเติบโตและอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำตาลในต้นอ้อย พบว่าสามารถทำนายปริมาณความเข้มข้นของน้ำตาลได้ดี พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ ( ) ที่ 0.9684 เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ 0.5 % สำหรับข้อมูลความเข้มข้นเฉลี่ยทั้งต้น 3 % สำหรับข้อมูลความเข้มข้นเฉลี่ยในแต่ละปล้อง 5.3 % สำหรับความเข้มข้นเฉลี่ยของแต่ละปล้องในแต่ละครั้งที่เก็บข้อมูล และแบบจำลองการเจริญเติบโตของต้นอ้อยที่ได้มีความสามารถในการทำนายความสูงของต้นอ้อยได้ดีเช่นกัน จากการทดสอบพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ที่ 0.9987 มีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เฉลี่ยของความสูงน้อยกว่า 3 %
Other Abstract: Sugarcane (Saccharum officinaram L.) is one of Thailand's industrial crops. Thailand's sugarcane production volume is at an average of 8-9 tons per rai, which is considerable lower than its competitors. Therefore, management in various areas which will affect the quantity and quality of the sugarcane is important. The commercial cane sugar (C.C.S.) is an indicator of the price of the sugar cane in the sugar industry. Based on research, it has been found that during the stalk-elongation phase, the accumulation of sugar in sugarcane will increase until maturity and ripening, at which time the accumulation of sugar will decrease as the sugar will be used for breeding. This purpose of this research is to create the Growth Model of the sugarcane and Sugar accumulation in sugarcane based on differential equations. The input data is the day after planted and the output is the sugar concentration (%brix). All data were collected from a Sugarcane field at Chonburi Province, Thailand. Comparisons of Growth model and the Stalk height measured show that is 0.9987 with mean percentage relative error of under 3% and comparisons of sugar accumulation model and sugar concentration in stalks measured show that is 0.9684 with mean percentage relative error of around 0.5%, 3%, 5.3% for average sucrose concentration data for each harvest time, average sucrose concentration of stalks and every single stalk, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาการคณนา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1455
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1455
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krit_bu.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.