Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32252
Title: | กระบวนการฝึกฝนนักแสดงและสร้างสรรค์ละครที่ใช้ภาษาถิ่น |
Other Titles: | Actors' training and creative process for dialect-based performance |
Authors: | จามีกร สนธิเศวต |
Advisors: | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jirayudh.S@Chula.ac.th |
Subjects: | นักแสดง -- การฝึกหัด ละครที่ใช้ภาษาถิ่น ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น Actors -- Training of Dialect drama Thai language -- Dialects |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “กระบวนการฝึกฝนนักแสดงและสร้างสรรค์ละครที่ใช้ภาษาถิ่น” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Practice as Research) ที่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการจัดกระบวนการฝึกฝนนักแสดงให้สามารถพูดภาษาไทยถิ่น ผ่านระเบียบวิธีวิจัยอันประกอบด้วยการวิจัยเอกสารการสัมภาษณ์ผู้กำกับและนักแสดงเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสร้างกระบวนการฝึกฝนภาษาถิ่นให้กับนักแสดง จากนั้นจึงนำกระบวนการฝึกฝนไปทดสอบโดยการทดลองสร้างสรรค์ละครที่ใช้ภาษาถิ่น 1 เรื่องและการสอบถามทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อการใช้ภาษาถิ่นในละครจำนวน 250คนผลการวิจัยพบว่า การฝึกฝนภาษาถิ่นให้กับนักแสดงนั้นเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้นักแสดงสร้างบุคลิกลักษณะและเข้าถึงอารมณ์ความของตัวละครได้อย่างสมจริงมากขึ้นโดยในการจัดกระบวนการฝึกฝนให้นักแสดงใช้ภาษาถิ่นนั้น ผู้ฝึกสอนจะต้องให้ความสำคัญกับการสื่ออารมณ์และความหมายไปควบคู่กับการออกสำเนียงภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาผลการประเมินทัศนคติของผู้ชม 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ชมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนอง 2) ผู้ชมที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคอื่น พบว่าผู้ชมทั้งสองกลุ่มมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยค่าเฉลี่ยของทัศนคติของผู้ชมจะผันแปรไปกับประสบการณ์ที่มีต่อภาษาถิ่นนั้นๆกล่าวคือผู้ชมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระนองจะให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของการออกเสียงภาษาถิ่นและอารมณ์ ขณะที่ผู้ชมที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคอื่นๆ จะให้ความสำคัญกับการแสดงโดยรวมมากว่าการออกเสียงภาษาถิ่นให้ถูกต้อง |
Other Abstract: | “Actors’ Training and Creative Process for Dialect-Based Performance” is a practice research that aims to study the training process within which actors learn to speak Thai local dialects. Research methods employed for the study are document research and interviewing directors and actors for preliminary information about the process of training actors to speak dialects. Then, the training process was put to test by creating a dialect-based production and collecting feedbacks from 250 audience members regarding the use of dialects in the work. Results of the study show that training actors to speak dialects is significant in helping actors create their characters and access their realism more effectively. It is also important that, during the process, the trainer emphasizes meaning delivery simultaneously with correct dialect pronunciation. Audience’s feedbacks come from 2 audience groups: 1) locals of Ranong province; 2) audience members from other regions. Both groups show positive attitudes towards using Southern Thai dialect in this film. However, the mean values of attitude vary according to audience members’ experience with the dialect. While the Ranong local audience places more importance on the relation between dialect pronunciation and emotional expression, the audience from other regions is more interested in overall acting than correct pronunciation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สื่อสารการแสดง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32252 |
URI: | http://doi.org/ 10.14457/CU.the.2010.93 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.93 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jameekorn_so.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.