Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32288
Title: | กลยุทธ์และประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | Strategy and effectiveness of corporate social responsibility initiatives by the industrial estates authority of Thailand |
Authors: | ณัฐินี สืบจากยง |
Advisors: | พัชนี เชยจรรยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patchanee.C@chula.ac.th |
Subjects: | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ อุตสาหกรรม -- แง่สังคม นิคมอุตสาหกรรม -- ไทย -- แง่สังคม Social responsibility of business Industries -- Social aspects Industrial districts -- Thailand -- Social aspects |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสาร บทความ และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง “ประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม 4 นิคมอุตสาหกรรมและพนักงานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 400 คน ผลการวิจัยในส่วนของกลยุทธ์การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่า ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้ เพื่อให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ออกเป็น 5 กลยุทธ์ (1) กลยุทธ์การใช้สื่อที่หลากหลาย (2) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายสื่อบุคคล (3) กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์อันดี (4) กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วม (5) กลยุทธ์การสร้างสรรค์กิจกรรมและโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการศึกษาในส่วนของประสิทธิผลการใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ การยอมรับและภาพลักษณ์ พบว่า (1) ชุมชนและพนักงานมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมและโครงการด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. ผ่านสื่อต่างๆอยู่ในระดับปานกลาง โดยรับรู้จากสื่อบุคคลมากที่สุด (2) ชุมชนและพนักงานรู้จักและจำได้ต่อกิจกรรมและโครงการด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. ในระดับปานกลาง โดยรู้จักโครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดและลดอาชญากรรมมากที่สุด (3) ชุมชนและพนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อ กนอ. และกิจกรรมด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ (4) ชุมชนและพนักงานมีการยอมรับ กนอ. อยู่ในระดับปานกลาง โดยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในท้องถิ่นมากที่สุด (5) ชุมชนและพนักงานมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของ กนอ. อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมองว่า กนอ. เป็นองค์กรที่สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ (6) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อ กนอ. ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่ำมากถึงต่ำ แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (7) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กนอ. ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่ำมากถึงปานกลาง แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (8) ทัศนคติของพนักงานและชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมที่มีต่อ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กนอ. ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (9) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์ของ กนอ. ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่ำมากถึงต่ำ แตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ |
Other Abstract: | The objectives of this research are (1) to study the strategy of corporate social responsibility of Industrial Estate Authority of Thailand (2) to study the effectiveness of corporate social responsibility of Industrial Estate Authority of Thailand. This research will be divided into 2 parts. Part 1 is a qualitative research about “the strategy of corporate social responsibility of Industrial Estate Authority of Thailand”. The primary data was collected from in-depth interviews with persons who are responsible for corporate social responsibility of IEAT, while the secondary data was gathered from relevant documents, articles, and researches. Part 2 is a quantitative research on “the effectiveness (media exposure, attitude, acceptance and image) of corporate social responsibility of Industrial Estate Authority of Thailand” through a survey research by collecting data from 400 questionnaires. The result of part 1 shows that IEAT uses 5 CSR strategies in order to succeed in its CSR operations; (1) diverse media channels strategy (2) human networking strategy (3) relationship management strategy (4) collaborative strategy (5) activity and CSR project creation strategy. The study of the effectiveness of CSR of IEAT was the research study on level of media exposure, attitude, acceptance and image. Results of this study show that: (1) Local publics and employees receive moderate level of media exposure on CSR activities and projects of IEAT through various media channels. The highest level of media exposures is through verbal interactions. (2) Local publics and employees have moderate level of acknowledgment and memorization of CSR activities and projects of IEAT. The highest level of acknowledgement is in the project to encourage fights against drugs and crime. (3) Local publics and employees have good attitude towards IEAT and CSR activities. The majority have good attitude towards organization that is perceived to protect and ease environmental effects. (4) Local publics and employees have moderate level of acceptance towards IEAT, with the highest level of attendance in the project that supports traditional culture and create local relationships. (5) Local publics and employees have moderate level of perceived image of IEAT. IEAT is perceived to be the organization that creates economic growth for the nation. (6) The level of media exposure on CSR activities by IEAT has a positive correlation with the level of attitude towards IEAT, with low to lowest level of correlation depending on different media channels. (7) The level of media exposure on CSR activities by IEAT has a positive correlation with the level of acceptance for IEAT, with low to moderate level of correlation depending on different media channels. (8) The level of acceptance by employees and local publics surrounding the industrial estates towards IEAT has a positive correlation with the level of acceptance for IEAT, with moderate level of correlation. (9) The level of media exposure on CSR by IEAT has a positive correlation with the perceived image of IEAT. With the low to lowest level of correlation depending on different media channels |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32288 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.342 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.342 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nutthinee_ su.pdf | 5.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.