Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32360
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย-
dc.contributor.authorณัฐวดี มณีพรหม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-20T06:13:16Z-
dc.date.available2013-06-20T06:13:16Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32360-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกของภาวะความสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้พิการเนื่องจากการตัดขาที่มารับบริการที่ศูนย์กายอุปกรณ์ในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้พิการเนื่องจากการตัดขาตั้งแต่ระดับข้อเท้าจนถึงระดับสะโพก จำนวน 400 ราย ที่มารับบริการที่ศูนย์กายอุปกรณ์ 4 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ 1) มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 2) โรงพยาบาลทหารผ่านศึกและองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ 3) โรงพยาบาลศิริราช และ 4) ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยใช้แบบสอบถาม 7 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) ดัชนีวัดความสุขคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ: ใหม่ ปี 2547 3) แบบสอบถามภาพลักษณ์ในผู้พิการที่เนื่องจากการตัดขา 4) แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท ฉบับผู้ใหญ่ 5) แบบสอบถามความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และ 7) แบบสอบถามการปรับตัวและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเสนอความชุกของภาวะความสุขในผู้พิการเนื่องจากการตัดขาเป็นสัดส่วนและ ร้อยละ หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยการใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ (chi-square) และหาปัจจัยทำนายภาวะความสุขของผู้พิการเนื่องจากการตัดขาโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติก (logistic regression) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้พิการเนื่องการตัดขาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74) มีภาวะความสุขเท่ากับคนทั่วไปและมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะความสุข ได้แก่ สถานภาพมีคู่ (p < 0.05) มีรายได้ (p < 0.05) รายได้ตั้งแต่ 2,001 บาท / เดือนขึ้นไป (p < 0.05) ใส่ขาเทียม (p < 0.01) พอใจต่อขาเทียมมากและมากที่สุด (p < 0.01) กังวลด้านภาพลักษณ์น้อยและปานกลาง (p < 0.01) เห็นคุณค่าในตนเองสูง (p < 0.01) มีความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ในครอบครัวดี (p < 0.01) มีการสนับสนุนทางสังคมปานกลางและดี (p < 0.01) มีการปรับตัวและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ดี (p < 0.01) ปัจจัยทำนายภาวะความสุข ได้แก่ พอใจในขาเทียมมากและมากที่สุด (p < 0.05) เห็นคุณค่าในตัวเองสูง (p < 0.01) มีความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของครอบครัวดี (p < 0.01) มีการปรับตัวและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ดี (p < 0.05)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate prevalence of happiness and related factors in lower limb amputees at prosthetic centers in Thailand. Collected data from four hundreds lower limb amputees with ankle to hip disarticulation from prosthetic centers in Thailand; 1) The Prostheses Foundation of H.R.H. the Princess Mother 2) Veterans General Hospital and The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His Majesty the King 3) Siriraj Hospital 4) Sirindhorn National Medical Rehabilitation Center (SNMRC). Participants completed 7 questionnaires; 1) demographic data form 2) The New Thai Happiness Indicator: THI-15; 2004 3) Amputee Body Image Scale (ABIS) 4) Coopersmith Self-Esteem Inventory Adult Form 1984 5) Family Relationship and Functioning Questionnaire 6) Social Support Questionnaire 7) Problem and Conflict Solving Questionnaire. The prevalence of happiness in lower limb amputees was presented by using ratio and percentage. The related factors of happiness in lower limb amputees were analyzed by using chi-square analysis and to determine the remaining predicted factors of happiness in lower limb amputee by using logistic regression. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. The results show that most of lower limb amputees (74%) had the level of happiness equal and above to normal range of Thais’ happiness. Related factors of happiness in lower limb amputees were being married (p < 0.05), having income (p < 0.05), amount of income above 2001 bath/month (p < 0.05), wearing prostheses (p < 0.01), high and highest level of prostheses satisfaction (p < 0.01), low and moderate concern about body image (p < 0.01), high self-esteem (p < 0.01), good family relationship and functioning (p < 0.01), fair and strong social support (p < 0.01), and good problem and conflict solving (p < 0.01). Logistic regression showed that the predictors of happiness were high and highest level of prostheses satisfaction (p < 0.05), high self-esteem (p < 0.01), good family relationship and functioning (p < 0.05), and good problem and conflict solving (p < 0.05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1518-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความสุขen_US
dc.subjectคนพิการen_US
dc.subjectผู้สูญเสียอวัยวะen_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectHappinessen_US
dc.subjectPeople with disabilitiesen_US
dc.subjectAmputeesen_US
dc.subjectMedical careen_US
dc.titleภาวะความสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้พิการเนื่องจากการตัดขาที่มารับบริการที่ศูนย์กายอุปกรณ์ในประเทศen_US
dc.title.alternativeHappiness and related factors of lower limb amputees at Prosthetic Centers in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPeeraphon.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1518-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthawadee_ma.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.