Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32392
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงสัมพันธ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลเชิงพีชคณิตของนักเรียนประถมศึกษา
Other Titles: Development of an instructional process using relational thinking approach and scaffolding approach to enhance algebraic reasoning ability of elementary school students
Authors: โศจิวัจน์ เสริฐศรี
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumlee.T@Chula.ac.th
Subjects: ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
ความคิดและการคิด
การอ้างเหตุผล
พีชคณิต
Instructional systems -- Design
Thought and thinking
Reasoning
Algebra
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงสัมพันธ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลเชิงพีชคณิตของนักเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงสัมพันธ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยได้พัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดย วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดและทฤษฎีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 52 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 26 คน และกลุ่มควบคุม 26 คน ใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 40 ชั่วโมงต่อกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดความสามารถ ในการให้เหตุผลเชิงพีชคณิตในระดับประถมศึกษา แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการค้นหาความสัมพันธ์ 2) ขั้นการใช้วิธีคิดเชิงสัมพันธ์ 3) ขั้นการสร้างข้อสรุป 4) ขั้นการตรวจสอบและยืนยันข้อสรุป 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีดังนี้ 2.1 ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงพีชคณิตของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงสัมพันธ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงพีชคณิตหลังการเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงสัมพันธ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงพีชคณิตของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงสัมพันธ์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ มีพัฒนาการสูงขึ้น
Other Abstract: The purposes of research were to: 1) develop an instructional process by using relational thinking approach and scaffolding approach to enhance algebraic reasoning ability and 2) study the quality of the developed instructional process on algebraic reasoning ability. The researcher developed the instructional process by analyzing and synthesizing basic information concerning The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008), mathematics instruction, and related approaches and theories. The process was experimented with forth grade students in Darakarm School, Bangkok, in academic year 2010. The samples were 52 students which were divided into two groups with 26 students in the experimental group and 26 students in the control group. The duration of the experiment was 40 hours each group. The research instruments were tests of algebraic reasoning ability. Data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The findings were as follows: 1. The developed instructional process consisted of 4 steps, namely: 1) Finding relationships 2) Using relational thinking 3) Making a conclusion, and 4) Testing and confirming a conclusion. 2. The results of implementing the developed instructional process were: 2.1 Algebraic reasoning abilities of students after learning from the developed instructional process were significantly higher than those of before at .05 level of significance. 2.2 Algebraic reasoning abilities of students in the experimental group after learning from the developed instructional process were significantly higher than those of students in the control group at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32392
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1556
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1556
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sojiwajn_se.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.