Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3241
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาพร ลักษณียนาวิน-
dc.contributor.authorจิตราวดี สิงหนิยม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-10-12T06:27:03Z-
dc.date.available2006-10-12T06:27:03Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743331867-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3241-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เสียงพยัญชนะกักในภาษาไทยกับระดับความก้องในการเปล่งเสียงพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษของผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่จำนวน 30 คน โดยศึกษาจากการรับรู้เสียงพยัญชนะกัก-ไม่ก้อง-ไม่พ่นลมที่ปรากฏในตำแหน่งต้นพยางค์ในภาษาไทย และการเปล่งเสียงพยัญชนะกัก-ก้องในตำแหน่งต้นพยางค์ในภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่า ถ้าระดับความก้องในการเปล่งเสียงพยัญชนะกัก-ก้องในภาษาอังกฤษเป็นปัจจัยกำหนดการรับรู้เสียงพยัญชนะกักในภาษาไทย ผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่รับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงก้องจะเปล่งเสียงก้องแบบลดความก้อง และถ้าผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่รับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงไม่ก้องจะเปล่งเสียงก้องแบบก้องเต็มที่ งานวิจัยนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อังกฤษ" (ชาวอังกฤษและออสเตรเลีย) จำนวน 13 คน และประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อเมริกัน" (ชาวสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) จำนวน 17 คน เนื่องจากผู้วิจัยสันนิษฐานว่าประชากรตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะมีพฤติกรรมการรับรู้และการเปล่งเสียงพยัญชนะกักแตกต่างกัน ผลการศึกษาการรับรู้เสียงพยัญชนะกักในภาษาไทยปรากฏว่า ประชากรตัวอย่างทั้งหมดไม่มีปัญหาในการรับรู้เสียงพ่นลมและเสียงก้องในภาษาไทย คือมีการรับรู้ร้อยละ 98 และ 99.3 ตามลำดับ ส่วนในการรับรู้เสียงไม่พ่นลมในภาษาไทย ประชากรตัวอย่างบางคนรับรู้เป็นเสียงก้อง บางคนรับรู้เป็นเสียงไม่ก้องในภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า ประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อังกฤษ" ทุกคน รับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงก้องในภาษาอังกฤษ ส่วนประชากรที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อเมริกัน" ส่วนใหญ่ (10 คนใน 17 คน) รับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงไม่ก้องและอีก 7 คนรับรู้เป็นเสียงก้อง สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (20 คนใน 30 คน) รับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงก้องในภาษาอังกฤษ เมื่อศึกษาการเปล่งเสียงพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษของประชากรตัวอย่าง ผู้วิจัยพบว่า ประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อังกฤษ" เปล่งเสียงก้องแบบลดความก้องเป็นส่วนใหญ่ (11 คนใน 13 คน) ส่วนประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อเมริกัน" ก็เปล่งเสียงก้องแบบลดความก้องเช่นกัน (15 คนใน 17 คน) สรุปได้ว่า ประชากรส่วนใหญ่ (26 คนใน 30 คน) เปล่งเสียงก้องในตำแหน่งต้นพยางค์เป็นเสียงก้องแบบลดความก้อง เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เสียงพยัญชนะกักในภาษาไทยกับระดับความก้องในการเปล่งเสียงพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยพบว่า ประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อังกฤษ" ส่วนใหญ่ (11 คนใน 13 คน) มีพฤติกรรมการรับรู้และการเปล่งเสียงพยัญชนะกักที่สัมพันธ์กัน คือ มีการรับรู้เป็นเสียงก้องและเปล่งเสียงเป็นเสียงลดความก้อง ส่วนประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อเมริกัน" มีการรับรู้และการเปล่งเสียงพยัญชนะกักแตกต่างกันสามรูปแบบ คือ ประชากรส่วนใหญ่ (10 คนใน 17 คน) มีพฤติกรรมการรับรู้และการเปล่งเสียงพยัญชนะกักที่ไม่สัมพันธ์กันตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชากรตัวอย่างอีก 7 คน มีพฤติกรรมการรับรู้และการเปล่งเสียงที่มีความสัมพันธ์กันตามสมมติฐาน คือ 6 คนรับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงก้องและเปล่งเสียงก้องแบบลดความก้อง และ 1 คนรับรู้เสียงไม่พ่นลมเป็นเสียงไม่ก้องและเปล่งเสียงก้องแบบก้องเต็มที่ ถ้าการรับรู้เสียงสะท้อนให้เห็นหน่วยเสียงต้นแบบอันเกิดจากรูปแสดงของหน่วยเสียงนั้นในบริบทต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า ประชากรตัวอย่างทีพูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อังกฤษ" มีหน่วยเสียงพยัญชนะกักต้นแบบเดียวกัน ในขณะที่ ประชากรตัวอย่างที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อเมริกัน" มีหน่วยเสียงต้นแบบมากกว่า 1 แบบ เป็นไปได้ว่า รูปแสดงของเสียงพยัญชนะกักในตำแหน่งต้นพยางค์เพียงแห่งเดียวไม่เพียงพอที่จะสะท้อนให้เห็นหน่วยเสียงต้นแบบของผู้พูดภาษาอังกฤษสำเนียง "อเมริกัน" ได้en
dc.description.abstractalternativeThis thesis attemps to examine the relationship between the perception of Thai stops and the degree of voice-timing in the production of English stops by 30 native speakers of English. For this purpose, the perception of initial voiceless unaspirated stops (UNASP) in Thai by these subjects and the voice-timing of the production of their initial English voiced stopds are examined. It is hypothesized that the degree of voice-timing in the production of English (L1) stops is the acoustic cue in the perception of Thai (L2) stops. Native speakers of English who perceive Thai UNASP as voiced stops will have devoiced stops in their production of voiced stops. The data is collected from 13 native speakers of British English (from the United Kingdom and Australia) and 17 native speakers of American English (from the United States of America and Canada) since literature review suggests that these two groups of subjects produce their voiced stops differently. The study of the perception of stops in Thai by these two groups of subjects shows that all of the subjects have no problems in perceiving voiceless aspirated stop and voiced stop in Thai. However, in their perception of voiceless unaspirated stops, the study reveals that all of the subjects who speak British English (13 subjects) perceive UNASP as voiced stops in English, 10 out of 17 subjects who speak American English perceive UNASP as voiceless stops in English, and the other 7 subjects who speak American English perceive UNASP as voiced stops in English. It is concluded that most of our subjects who speak two types of English perceive UNASP as voiced stops in English. The study of the production of English stops by these subjects reveals that most of the subjects who speak British English (11 from 13 subjects) have devoiced stops in their production of voiced stops, and the subjects who speak American English (15 from 17 subjects) also produce "devoiced stops" in their production of voiced stops. It is concluded that most of the 30 native speakers of English who are the subjects of this study devoiced their voiced stops. This study rejects the assumption that British and American English produce voiced stops differently. The study of the relationship between the perception of UNASP in Thai and the degree of voice-timing in the production of English stops reveals that there is a clear relationship between the perception and the production of stops in most of the subjects who speak British English (11 from 13 subjects) i.e., they perceive UNASP as voiced stops in English and produce their voiced stops as "devoiced". For the subjects who speak American English, it cannot be concluded clearly that there is a relationship between the perception of UNASP in Thai and the production of their voiced stops. Only one subject who speaks American English perceive UNASP in Thai as voiceless stops in English and produce his voiced stops as "fully voiced", another 6 subjects who speak American English perceive UNASP in Thai as voiced stops in English and produce their voiced stops as "devoiced" and the other 10 supjects perceive UNASP in Thai as voiceless stops in English and produce their voiced stops as "devoiced". The research reveals that if the perception of UNASP in Thai (L2) reflects the "prototype-phoneme" of voiced stops in English (L1). The speakers of British English, who are the subjects of this study, have the same prototype phoneme. But, the speakers of American English may have more than one prototype phoneme since there is a variation in their perception of UNASP in Thai. It is possible that the study of the production of English stops in initial position which is done in this study is not enough to represent the prototype phoneme of voiced stops in American English.en
dc.format.extent15609559 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.221-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาศาสตร์en
dc.subjectเสียงพยัญชนะกักen
dc.subjectการรับรู้เสียงen
dc.subjectภาษาไทย -- การออกเสียงen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เสียงพยัญชนะกักในภาษาไทยกับระดับความก้องในการเปล่งเสียงพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษของผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่en
dc.title.alternativeThe relationship between the perception of Thai stops and the degree of voice-timing in the production of English stops by native speakers of Englishen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSudaporn.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.221-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jitravadee.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.