Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32452
Title: ผลกระทบของการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้คุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสนธิสัญญาลิขสิทธิ์กับความตกลงเขตการค้าเสรี
Other Titles: Impacts of protection of technological protection measure for the protection of copyrights : comparison study of WIPO copyright treaty and FTAs
Authors: ศุภจิตรา เลาหวัฒนภิญโญ
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sakda.T@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การละเมิดลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
การค้าเสรีและการคุ้มครอง
Copyright infringement
Copyright
Free trade, Protectionism
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มาตรการทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้เพื่อควบคุมการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จากที่เดิมจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ต่อมาเมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์นำมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ป้องกันการเข้าถึงหรือการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนก็ถือเป็นการคุ้มครองอีกชั้นหนึ่ง และในชั้นสุดท้ายเป็นการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อมาตรการทางเทคโนโลยีนั้นอีกที โดยห้ามการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี รวมถึงการผลิตหรือเผยแพร่เครื่องมือที่ใช้สำหรับการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยีมีปรากฏในความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์แบบพหุภาคี คือ สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งเป็นเพียงการวางแนวทางไว้อย่างกว้างเท่านั้น ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงพยายามผลักดันให้ประเทศต่างๆ ให้ความคุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยีผ่านทางความตกลงเขตการค้าเสรีที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ เพื่อให้ประเทศภาคีอนุวัติการกฎหมายภายในให้คล้ายคลึงกับบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการให้ความคุ้มครองที่เกินไปกว่าพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง หากประเทศไทยทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกาก็น่าจะต้องมีบทบัญญัติที่ให้ความ คุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยีเช่นกัน และจะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีฉบับดังกล่าวด้วย งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยี และแนวทางของประเทศไทยในการบัญญัติบทบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ และสิทธิของสาธารณชนในการใช้งานที่เป็นธรรมตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีมานาน และเพื่อป้องกันมิให้เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ประโยชน์จาก บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยีในการแสวงหาประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว
Other Abstract: Technological Protection Measure (TPM) is a tool that a copyright owner uses to control unauthorized use of its copyright work. This is a way to expand the protection of copyright work originally obtainable under copyright laws. As an expanded level of protection, a copyright owner uses TPM to prevent unauthorized access or reproduction of its copyright work. There are laws, called “anti-circumvention law”, against those who circumvent, or produce or distribute devices to circumvent, the copyright work of copyright owners who uses TPM. Included in international multilateral agreements regarding the protection of technological measures are WIPO Copyright Treaty (WCT) and WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT). They are provided only as a general guideline. Therefore, the United States of America is pushing other countries to implement the protection of TPM through FTAs and wishes its FTAs parties to implement their internal laws in the way similar to the anti-circumvention law in the United States of America. However, this attempt is widely criticized because this type of protection is far more than the scope of the obligations under the WCT and the WPPT. If Thailand enters into the FTA with the United States of America, Thailand will have to implement laws to protect TPM. In addition, the Copyright Act B.E. 2537 will have to be amended in accordance with the FTA. This Thesis is aimed to study the impacts of anti-circumvention law and a way that Thailand will implement this law in order to make a balance between the rights of copyright owner and the public rights in fair use doctrine under copyright law, in addition to prevent misuse of this law by the copyright owner in a bad-faith, or right, way.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32452
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.450
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.450
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supachitra_la.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.