Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32482
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์-
dc.contributor.authorสาริน ผดุงสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-06-25T06:49:49Z-
dc.date.available2013-06-25T06:49:49Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32482-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับแตกต่างกัน (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ (3) เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษาระหว่างโรงเรียน 3 แบบ คือ โรงเรียนที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาระดับสูง กลาง และต่ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกประเภทข้อมูล การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และการเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาระดับสูง มีสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ครบตามองค์ประกอบ 8 ด้าน ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ที่ครอบคลุมและสมบูรณ์กว่าโรงเรียนที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาระดับกลางและต่ำ 2.ปัจจัยที่ส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการเป็นผู้มีความมุ่งมั่นทุ่มเท และจริงจังในการทำงาน มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ มีการบริหารงานแบบเข้มงวด เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้จัดการโรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดีของครูในโรงเรียน การมีตัวแบบของความเป็นครูที่ดี แบบแผนการทำงานเป็นทีม ความร่วมแรงร่วมใจ และการแบ่งปันช่วยเหลือกัน ครูสอนตรงตามสาขาวิชาที่จบมา เอาใจใส่ต่อการเรียนการสอน รักในอาชีพและภาคภูมิใจในโรงเรียน ครูรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และมีความสนใจใฝ่เรียนรู้ โครงสร้างการประสานงานมีความคล่องตัว โรงเรียนมีงบประมาณเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชนเข้ามาส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ได้แก่ จำนวนบุคลากรที่จำกัด การปรับเปลี่ยนบุคลากรอยู่เสมอ ครูสอนไม่ตรงตามสาขาวิชาที่จบมาหรือไม่มีชำนาญในวิชาที่สอน ครูขาดความรู้ทางด้านนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอน ผู้จัดการโรงเรียนเข้ามาแทรกแซงการบริหารงานของโรงเรียน วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ โรงเรียนมีพื้นที่จำกัด และห้องไม่พร้อมต่อการใช้งาน 3.แนวทางในการพัฒนาระบบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบายและการวางแผน โครงสร้างการบริหาร งบประมาณและทรัพยากร หลักสูตร ผู้บริหาร ครู และนักเรียน (2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ ได้แก่ การพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาผู้เรียน และ (3) องค์ประกอบด้านผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตโรงเรียน และความมีชื่อเสียงของโรงเรียนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to (1) study and compare internal quality assurance implementation of general Buddhist scripture schools with different levels of educational management quality, (2) to analyze supporting factors and obstructing factors to internal quality assurance implementation of general Buddhist scripture schools, and (3) to present guidelines for developing the internal quality assurance implementation system of general Buddhist scripture schools. A multiple case study was employed in a school with high, medium and low levels of educational management quality. The data collection process consisted of non-participant observation, informal interview, focus group discussion, and document analysis. The data was analyzed by the methods of content analysis, typological analysis, analytic induction, and comparative analysis. The research results were as follows. 1.General Buddhist scripture school with a high level of educational management quality implemented 8 components of a ministerial regulations of systems, rules and methods of educational quality assurance B.E. 2553, outperforming than schools with medium and low levels of educational management qualities. 2.Factors supporting educational quality assurance of general Buddhist scripture school included a director is engrossed in his task, is interested in learning, performs management in strict way, opens chance to personnel to participate in school management and is transformational leader; a manager is accepted by community; good relationship among teachers; having good teacher as a model; team working culture; cooperation; sharing; teachers educated subjects in accordance with their graduate fields; teachers’ attention to teach, teachers are loyal in their occupation and are proud of schools, teachers take responsibility to their task; teachers are enthusiastic to learn new things; coordinating structure is flexible; school has sufficient budget to its operation; environment in school is appropriate; Basic Education Institution Boards and Community participate in educational management. In contrast, factors obstructing educational quality assurance of general Buddhist scripture schools included limited numbers of personnel; changing personnel frequently; teachers are not specialized in subjects they teach; teachers lack innovative knowledge and educational medias; a manager interferes with school management; insufficient educational 1.materials; limited locations and shortage of suitable classrooms. 2.Guidelines for developing system of internal quality assurance implementation of general Buddhist scripture school included 3 elements, namely (1) input element, i.e., policy and plan of administrative structure, budget and resource, curriculums, executives, teachers and students; (2) process element, i.e., educational quality management and learner development; and (3) output element, i.e., school output and reputation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1641-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน -- ไทยen_US
dc.subjectประกันคุณภาพen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectโรงเรียน -- การบริหารen_US
dc.subjectBuddhism -- Study and teaching -- Thailanden_US
dc.subjectQuality assuranceen_US
dc.subjectSchools -- Quality controlen_US
dc.subjectSchool management and organizationen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับแตกต่างกันen_US
dc.title.alternativeA comparative study of internal quality assurance implementation of general Buddhist scripture schools with different levels of educational management qualityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortkamonwan@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1641-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarin_ph.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.