Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32551
Title: การสร้างตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย
Other Titles: Characterization of the third gender in Thai films
Authors: ฐิติวัฒน์ สมิตินันทน์
Advisors: จีรบุณย์ ทัศนบรรจง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: รักร่วมเพศในภาพยนตร์
รักร่วมเพศกับภาพยนตร์ -- ไทย
เกย์ในภาพยนตร์
บุรุษที่เป็นเกย์ในภาพยนตร์
ตัวละครและลักษณะนิสัยในภาพยนตร์ -- การออกแบบ
Homosexuality in motion pictures
Homosexuality and motion pictures -- Thailand
Gays in motion pictures
Gay men in motion pictures
Characters and characteristics in motion pictures -- Design
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการสร้างตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย เพื่อศึกษาบุคลิกภาพและบุคลิกลักษณะของตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย และเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ชมภาพยนตร์จากองค์ประกอบในการสร้างตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย ทั้ง 14 เรื่องในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2552 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตัวบท และการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ชมภาพยนตร์ 400 คน จากโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานครผลการวิจัยพบว่าการสร้างตัวละครเพศที่สามในภาพยนตร์ไทย ถูกสร้างโดยสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพและบุคลิกลักษณะของชาวเพศที่สามในสังคมจริงออกมา ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อาชีพ และค่านิยมต่างๆ ถึงแม้ว่าตัวละครจะมีมนุษยสัมพันธ์ดีแต่ก็ยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและถูกทำร้ายจากสังคม ทำให้กลายเป็นคนเก็บกด จนแสดงอาการก้าวร้าวรุนแรงออกมา ตัวละครส่วนใหญ่มีความสับสนทางเพศและยุ่งเกี่ยวกับการค้นหาตัวตนที่แท้จริง ควบคู่ไปกับการต้องอยู่กับความผิดหวังจากความรัก การที่ตัวละครถูกคาดหวังจากสังคมและครอบครัวให้มีบทบาทตามเพศสภาวะที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคม ทำให้เกิดความขัดแย้งกับเพศวิถีที่ตัวละครเป็น นอกจากนี้ผู้สร้างภาพยนตร์ยังได้พยายามสร้างตัวละครในภาพยนตร์โดยให้ความเคารพความเป็นเพศที่สาม โดยมองว่าตัวละครเพศที่สามนั้นก็เป็นตัวละครที่ไม่ได้แตกต่างกับตัวละครชายและตัวละครหญิงทั่วไปในแง่ของความเป็นมนุษย์ด้านผลการวิจัยทัศนคติของผู้ชมภาพยนตร์พบว่าผู้ชมภาพยนตร์มีทัศนคติต้องการเห็นบุคลิกภาพและบุคลิกลักษณะของตัวละครเพศที่สามในด้านบวกมากกว่าด้านลบ ส่วนกลุ่มผู้ชมที่เป็นเพศหญิงและเพศที่สามมีความชอบในภาพรวมของตัวละครและมีแนวโน้มที่จะชมภาพยนตร์ที่มีตัวละครเพศที่สามต่อไปในอนาคตมากกว่าเพศชาย
Other Abstract: The objectives of this research are to analyze the personality and character of the third gender in Thai films and to study the attitude of the audience towards such characterization during the period of 1997 – 2008. This is basically a combination of qualitative research which consists of textual analysis and quantitative research which consists of data collection from 400 film audiences in Bangkok area. The findings of the research are as follows. The character building of third gender in Thai films reflect the personality and character of the third gender in real life in the Thai society, ranging from their dressing style and occupation to values. Even though they are portrayed as having good human relations, these characters seem to be alienated and often depicted as social outcasts. Consequently, they are shown to have suppressed feelings which eventually lead to aggressive behavior. Most of them are confused about their own gender and try to search for their true identities. They also confront with disappointment in their love affairs. The fact that these characters are expected from the society and family to uphold their gender roles causes them to be in conflict with their sexuality. It should be noted, however, that the filmmakers try to create these characters with due respect to their status of third gender. To them, the third gender people are not different from other male and female since they all are human beings. As regards the attitudes of the film audience, it is found that the audience wants to see the more positive, rather than negative, sides of the personality and character of the third gender characters. The female and third gender audience enjoy the overall presentation of the third gender characters and have a tendency to see more of these films in the future more so than the male audience.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การภาพยนตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32551
URI: http://doi.org/ 10.14457/CU.the.2010.289
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.289
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitiwat_sa.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.