Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32611
Title: ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปที่มีต่อสุขสมรรถนะ การลดเฉพาะส่วนและระดับไขมันในเลือดในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
Other Titles: Effects of Hula Hoop exercise training program on health-related physical fitness, sport reduction and lipid profile level in overweight women
Authors: เกษมกิจ รุ่งอุดม
Advisors: ดรุณวรรณ สุขสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: daroonwanc@hotmail.com
Subjects: การออกกำลังกาย
สตรีน้ำหนักเกิน
การควบคุมน้ำหนัก
โคเลสเตอรอล
ฮูลาฮูป
ฮูลาฮูป -- การออกกำลังกาย
Exercise
Overweight women
Weight control
Cholesterol
Hula Hoop
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปที่มีต่อสุขสมรรถนะ การลดเฉพาะส่วน และระดับไขมันในเลือดในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเพศหญิง ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง อายุระหว่าง 25-50 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (มีค่าดัชนีมวลกาย 23.0-28.4 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) จำนวน 34 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปที่ไม่ใส่น้ำ จำนวน 11 คน กลุ่มที่ 2 ออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปที่ใส่น้ำ 500 มล. จำนวน 11 คน และกลุ่มที่ 3 ออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปที่ใส่น้ำ 750 มล. จำนวน 12 คน ให้ทุกกลุ่มออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูป ครั้งละ 50 นาที (ไม่รวมเวลาอบอุ่นร่างกายและคลายอุ่น)ซึ่งใช้ฮูลาฮูปเล่นบริเวนเอวเป็นเวลา 30 นาที และเล่นบริเวณต้นแขนทั้ง 2 ข้าง เป็นเวลาข้างละ 10 นาทีโดยใช้ความเร็ว 80 รอบต่อนาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรพื้นฐานทางสรีรวิทยาทั่วไป สุขสมรรถนะ การลดเฉพาะส่วน และระดับไขมันในเลือด ก่อนและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าภายหลัง 12 สัปดาห์ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพของหัวใจและปอด และระดับไขมันในเลือด ภายหลังการออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูปทั้ง 3 กลุ่ม แต่พบว่า กลุ่มที่ใช้ฮูลาฮูปที่ใส่น้ำ 500 มล. และกลุ่มที่ใช้ฮูลาฮูปที่ใส่น้ำ 750 มล. มีค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง และความอ่อนตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังพบว่าค่าเฉลี่ยของเส้นรอบวงและไขมันใต้ผิวหนังของต้นแขนและเอวของกลุ่มออกกำลังกายทั้ง 3 กลุ่ม มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ฮูลาฮูป มีประโยชน์ในการลดเส้นรอบวงและไขมันใต้ผิวหนังเฉพาะส่วน แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพของหัวใจ และระดับไขมันโดยรวมของร่างกาย การเพิ่มความหน่วงของฮูลาฮูปด้วยการใส่น้ำจะทำให้อวัยวะส่วนที่ใช้ฮูลาฮูปนั้นมีความแข็งแรงมากกว่าการไม่ใส่น้ำ
Other Abstract: The purpose of this study was to determine the effects of hula hoop exercise training program on health-related physical fitness, spot reduction and lipid profile level in overweight women. Overweight (BMI = 23-28.4 kg/m²) female personnel of the private hospital, aged 25-50 years, were categorized into 3 groups of hula hoop exercise: no water-filled hoop(n=11), 500ml. water-filled hoop (n=11) and 750ml. water-filled hoop (n=12). All groups performed training assigned program that consisted of 50 minute hooping workout (not included warm up and cool down) including 30 min waist hooping and 10 min arm hooping at rhythm 80 round per min, 3 times/per week for 12 weeks. At pre and post-training, the values of general physiological data, health-related physical fitness spot reduction and lipid profile of all participants were recorded. The Results of this study are as follow: After 12 weeks, there were no significant difference in body weight, percentage of body fat, maximal oxygen consumption and blood lipid profile level in three groups of hula hoop training. Both 500 ml. and 750 ml. water-filled hoop groups had significantly increased in biceps and triceps muscle strength and flexibility (p<.05). Moreover, the circumference and subcutaneous fat of upper arm and waist were significantly declined in all three exercise groups (p<.05). In conclusion Hula hoop exercise program has a favorable effect to reduce circumference and subcutaneous fat in specific parts. Cardio-respiratory fitness and the whole body fat are not found to improve after hula hoop training. Hula hoop filled with water can.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32611
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.385
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.385
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kasemkit_ru.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.