Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32667
Title: นโยบายภาษีในการควบคุมมลพิษและผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมของไทย
Other Titles: Tax policy for pollution control and its impacts on Thai industries
Authors: ยุวดี คาดการณ์ไกล
Advisors: ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินค่าผลกระทบของการใช้นโยบายภาษีในการควบคุมของเสียอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย การประเมินอาศัยการสร้างแบบจำลองปัจจัยการผลิตผลผลิต (Input-Output Model) ในการคำนวณหาผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของมาตรการภาษี ที่มีต่อระดับราคาสินค้าและผลผลิตของอุตสาหกรรมสาขาการผลิตต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ สำหรับมาตรการภาษีที่ศึกษาประกอบด้วย (1) การเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษโดยตรง (2) การเก็บภาษีจากฐานมูลค่าเพิ่ม (3) การเก็บภาษีจากฐานผลผลิต ลักษณะภาษีทั้งสามแบบนี้เป็นตัวแปรเชิงนโยบายที่กำหนดขึ้น เพื่อพิจารณาลักษณะความแตกต่างของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต (Input-Output Table) ของปี 1985 (ขนาด 200X200สาขา) ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมในการกำจัดของเสียอันตรายที่เกิดจากอุตสาหกรรมแต่ละสาขาการผลิต และข้อมูลสำหรับใช้กำหนดค่าพารามิเตอร์เช่น ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าของแต่ละสาขาการผลิต เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ได้จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ แล้วนำมาปรับและประมวลผลให้สอดคล้องกับงานวิจัยนี้ ผลการศึกษาพบว่า การเก็บภาษีทั้งสามแบบมีผลให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและปริมาณผลผลิตลดต่ำลง การเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษโดยตรงจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ามากที่สุดโดยอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 5.446% และก่อให้เกิดการลดลงของผลผลิตมากที่สุดโดยอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 2.257% เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บภาษีฐานมูลค่าเพิ่ม และการเก็บภาษีฐานผลผลิต จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าค่อนข้างต่ำคือ อยู่ในช่วงระหว่าง 0.037 ถึง 0.077% และ 0.039 ถึง 0.083% ตามลำดับ และมีการลดลงของผลผลิตค่อนข้างต่ำเช่นกัน คืออยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 0.089% และ 0 ถึง 0.104% ตามลำดับ ถ้าพิจารณาผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตและมูลค่าเพิ่มรวมที่ลดลงจะพบว่า การเก็บภาษีจากผู้ก่อมลพิษโดยตรง จะกระทบมูลค่าผลผลิตรวมลดลงมากที่สุด คือ ลดลงประมาณ 1,556.08 ล้านบาท และลดลงมากประมาณเป็นสองเท่าของการเก็บภาษีจากฐานผลผลิตและการเก็บภาษีจากฐานมูลค่าเพิ่ม และกลับส่งผลกระทบต่อมูลค่าเพิ่มรวมลดลงน้อยที่สุด (173.02 ล้านบาท) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สำหรับสาขาการผลิตประเภทหัตถอุตสาหกรรม (Manufacturing industries) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนของการส่งออกสูงผลกระทบจะมีมากการเก็บภาษีฐานมูลค่าเพิ่มกลับส่งผลกระทบต่อมูลค่าเพิ่มรวมลดลงมากที่สุด คือประมาณ 179.33 ล้านบาท โดยจะกระทบมากในอุตสาหกรรมประเภทสาขาบริการ
Other Abstract: This study aims at assessing the impacts of tax policies for hazardous waste control on Thai industries. An Input-Output model is constructed as a tool to numerically assess the effects, both direct and indirect, on industrial prices and outputs of the following tax measures: (1) taxes under the polluter pays principle, (2) taxes on value added, and (3) taxes on production. The data intensively used are the most recent input-output table of 1985 (200X200 sectors), expenditure for hazardous waste control at sectoral levels, and certain data used to obtain extraneous parameters such as price elasticities of export demand, and domestic sales. The data used are essentially of secondary, but particulary managed to fit this study. The findings indicate that all types of tax measures would certainly raise product prices and negatively affect production. Taxation under the polluter pays principle would lead to the most sizeable impact on sectoral prices and outputs, respectively ranging between 0 – 5.446 percent and between 0 – 2.257 percent for changes in prices and outputs. The impacts of value added tax and production tax would be relatively low. The effect of value added tax and production tax on sectoral prices respectively range between 0.037 – 0.077 percent and between 0.039 – 0.083 percent. The corresponding effects on sectoral outputs range between 0 – 0.089 percent and 0 – 0.104 percent, respectively. Considering the effects in terms of baht, it was found that the polluter pay tax would most strongly result in the reduction in the nation’s output value, i.e. around 1,556.08 million baht of approximately twice as much as those resulting from other taxes. However, its impact on the country’s value added was found to be smallest, i.e. around 173.02 million baht. In any case, it is noteworthly that for manufacturing industries, particularly those with high export dependence, the impact would be quite large. Value added tax would rather have strongest impact on value added, totally around 179.33 million baht. The activities that would be affected most by the value added tax are those in services sectors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32667
ISBN: 9745796115
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuwadee_ka_front.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_ka_ch1.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_ka_ch2.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_ka_ch3.pdf11.45 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_ka_ch4.pdf14.94 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_ka_ch5.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Yuwadee_ka_back.pdf7.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.