Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32732
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์-
dc.contributor.advisorนภา ปริญญานิติกูล-
dc.contributor.authorประคองบุญ สังฆสุบรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-02T08:41:59Z-
dc.date.available2013-07-02T08:41:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32732-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractที่มา มะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่มีความรุนแรงมาก โดยมักเกิดการเป็นซ้ำหรือลุกลามในระยะเวลารวดเร็วและมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ แต่กลับตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดีกว่ามะเร็งเต้านมชนิดอื่น มีข้อมูลจากการศึกษาในอดีตพบว่าการขาดหายไปของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาซึ่งพบมากในมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟอาจมีบทบาทสำคัญในแง่ของการพยากรณ์โรค และการตอบสนองต่อการรักษา จึงทำการศึกษานี้ขึ้นเพื่อหาความชุกของการขาดหายไปของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟในประเทศไทย วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความชุกของของการขาดโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟ และมีวัตถุประสงค์รองเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการขาดโปรตีนเรติโนบลาสโตมากับการดำเนินโรค ประชากรและวิธีการ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมซึ่งได้รับการรักษาที่รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระหว่างปี พ.ศ.2549-2553 โดยตรวจหาโปรตีนเรติโนบลาสโตมา ด้วยวิธีอิมมูโนอิสโตเคมีสตรี้ จากชิ้นเนื้อของผู้ป่วย 72 รายที่มีการแสดงออกของตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน น้อยกว่าร้อยละ 10 ร่วมกับไม่มีการแสดงออกของตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู จากการตรวจด้วยวิธีอิมมูโนฮิสโตเคมีสตรี้ หรือผลทดสอบด้วยวิธี FISH เป็นลบ ที่ถูกเตรียมด้วยวิธีไมโครแอเรย์โดยใช้แอนติบอดี โคลน 1F8 ต่อเรติโนบลาสโตมา และมีการติดตามการดำเนินโรคต่อ ผลการวิจัย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟ 46 ราย ที่ไม่มีการแสงออกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาคิดเป็นร้อยละ 64 ซึ่งมีลักษณะที่บ่งบอกว่าโรครุนแรงกว่า คือ อายุเฉลี่ยน้อยกว่า, ชิ้นเนื้อเกรด 3 และระดับการแบ่งเซลล์มากกว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีการแสงออกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมา มีค่าประมาณการมีชีวิตรอดโดยปลอดโรคยาวกว่า คือ ยังไม่สามารถประมาณได้ เทียบกับ 10 เดือน ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีการแสดงออกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมา (p = 0.13 และ 0.03 ที่ 2 และ 3 ปี ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด พบว่ารอยโรคหายไปจนหมด ในอัตราส่วนที่สูงกว่าในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีการแสดงออกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมา คือ ร้อยละ 33 เทียบกับร้อยละ 20 ในผู้ป่วยที่มีการแสงออกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมา (p=0.604) สรุปผลการวิจัย พบความชุกของการขาดโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟมากกว่าการศึกษาอื่น ๆ และมีแนวโน้มว่าการขาดโปรตีนเรติโนบลาสโตมาจะเป็นปัจจัยที่ใช้ทำนายการดำเนินโรคและการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ การเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษาและติดตามการดำเนินโรคต่อในระยะยาวจะช่วยยืนยันผลการศึกษาและแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับได้ชัดเจนขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Triple-negative breast cancer (TNBC) is an aggressive subtype of breast cancer with a high rate of recurrence and poor survival. However, the response to treatment with chemotherapy is generally high comparing to the other breast cancer subtypes. Previous study has showed that loss of retinoblastoma protein (pRB) expression in tumor tissue may play an important role in determining the prognosis and response to treatment of breast cancer including TNBC. In this study we characterized the expression rate of pRB in Thai TNBC patients. Objectives: Our primary objective is to determine the prevalence of loss of expression of retinoblastoma protein in TNBC tumor tissue. The secondary objective is to find an association between the loss of pRB and clinical parameters. Patients and methods: Breast cancer patients who had been treated at the King Chulalongkorn Memorial Hospital during 2006-2010 were enrolled. Tumor tissue from 72 patients whose tumor cells had expression of estrogen receptor (ER) and progesterone receptor (PR) less than 10% and negative amplification of Human Epidermal Growth Factor Receptor type 2 (HER-2) by immunohistochemistry (IHC) or fluorescent in situ hybridization (FISH) were collected to manually construct tissue microarray (TMA). Expression of pRB was performed by IHC on TMA with anti-RB monoclonal antibody clone 1F8. All clinical parameters were reviewed and collected from available medical records. Results: Of the 72 TNBC tumor tissues analyzed, there were 46 samples (64%) showed no expression of pRB. There were more high risk features; i.e. younger age, histological grade 3 and higher proliferative index, in the patients whose tumor tissues showed undetectable pRB. At the study cut off, the patients with loss of pRB had a longer estimated disease or progression free survival (DFS or PFS), not reached, compared with 10 months of patients with presence of pRB expression (p = 0.13 and 0.03 at 2 and 3 years respectively). In patients who received preoperative chemotherapy, there were higher rate of pathological complete response in patients lacking of pRB than the patients expressing pRB, 33% and 20% respectively (p=0.604). Conclusion: The prevalence of pRB loss in Thai TNBC patients is significantly higher than the previously reported in other population. Loss of pRB may serve a potential predictive and prognostic biomarker among TNBC patients. A larger population and longer follow up cohort are highly warranted.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1709-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโปรตีนเรติโนบลาสโตมาen_US
dc.subjectฟอสโฟโปรตีนen_US
dc.subjectอิมมูโนฮีสโตเคมี -- เทคนิคen_US
dc.subjectเต้านม -- มะเร็ง -- สมุฏฐานวิทยาen_US
dc.subjectRetinoblastoma proteinen_US
dc.subjectPhosphoproteinsen_US
dc.subjectImmunohistochemistry -- Techniqueen_US
dc.subjectBreast -- Cancer -- Etiologyen_US
dc.titleความชุกของการขาดโปรตีนเรติโนบลาสโตมาจากการย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีสตรี้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดทริปเปิลเนกาทีฟen_US
dc.title.alternativePrevalence of retinoblastoma protein loss by immunohistochemistry in triple-negative breast canceren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvsmdcu40@gmail.com-
dc.email.advisorsomnapa77@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1709-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prakongboon_su.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.