Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32762
Title: Comparisons of pharmacokinetics and genetic polymorphisms between type 2 diabetic patients with and without edema conditions when treated with thiazolidinediones
Other Titles: การเปรียบเทียบเภสัชจลนศาสตร์ และภาวะพหุสัณฐานของยีนระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีและไม่มีภาวะบวมน้ำ เมื่อได้รับยาไทอะโซลิดีนไดโอน
Authors: Wannakamol Sonsingh
Advisors: Duangchit Panomvana Na Ayudhya
Wallaya Jongjaroenprasert
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Duangchit.P@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Diabetics--Drug utilization
Edema--Treatment
Diabetics--Drugs--Therapeutic use
Pharmacokinetics
เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การใช้ยา
บวมน้ำ -- การรักษา
เบาหวาน--การรักษาด้วยยา
เภสัชจลนศาสตร์
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purpose of this study were to determine the prevalence of thiazolidinediones (TZDs)-induces edema, the role of different genetic polymorphisms on TZDs-induced edema in type 2 diabetic patients, and to compare doses and pharmacokinetic (PK) parameters of pioglitazone between patients with and without edema conditions. Medical chart of 278 diabetic patients using TZD at Ramathibodi hospital were reviewed to determine the prevalence of TZDs-induces edema and the demographic factors which might influencing the risk of edema. 25 patients who came to follow-up treatment at the medical outpatient clinic and agree to participate were recruited for pharmacokinetic study, two blood samples were collected from each patient and were analyzed pioglitazone concentrations by HPLC-UV method, then, PK parameters were determined. Blood sample of 134 patients were analyzed for SNPs of endothelin-1 (ENDO1; rs5370) and epithelial sodium channel β subunit (SCNN1B; rs34241435) by Tag polymerase and LightCycler 480 SYBR Green I Master system. The prevalence of edema in patients using TZD combined with other anti-diabetic drugs identified in this study was 13.7% (15.1% for pioglitazone and 12.2% for rosiglitazone). Factors influencing the risk of edema in patients who were using TZD were age, sex, macrovascular diseases, ACEI use, high dose of TZD, and co-medication with insulin. The PK parameters of pioglitazone were not different between edema and non-edema groups. However, Ke, t1/2, and CL values of patients who were stabilized on high dose of pioglitazone were significantly different from those who were stabilized on low dose of pioglitazone. Lower Ke and CL were found in non-edema patients who stabilized on 15 mg dose of pioglitazone as compared to those who were stabilized on 30 mg dose of pioglitazone, lower dose of pioglitazone were therefore required for controlling blood glucose. This study found the rate of allele frequency of ENDO1 in Thai patients to be 32.1%, while no allele frequency could be found for SCNN1B. The polymorphisms frequency of ENDO1 showed no significantly different between edema and non-edema groups.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุก และหาบทบาทของภาวะพหุสัณฐานของยีนที่แตกต่างกันต่อการเกิดภาวะบวมน้ำจากการใช้ยาไทอะโซลิดีนไดโอนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบขนาดของยาที่ใช้ และค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาพิโอกลิตาโซน ระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีภาวะบวมน้ำเมื่อได้รับยาพิโอกลิตาโซน เวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยากลุ่มนี้ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 278 รายถูกนำมาศึกษาทบทวน เพื่อวิเคราะห์หาความชุกตลอดจนปัจจัยทางประชากรต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อการเกิดภาวะบวมน้ำจากการใช้ยากลุ่มนี้ ผู้ป่วยจำนวน 25 ราย ที่มาติดตามผลการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอก และยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยได้ถูกเก็บตัวอย่างเลือด 2 ชุด เพื่อวิเคราะห์หาระดับยาพิโอกลิตาโซนในเลือด โดยใช้วิธีไฮเพอร์ฟอร์แมนลิคควิดโครมาโตกราฟฟีวิเคราะห์ด้วยแสงอัลตราไวโอเล็ต จากนั้นนำไปคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ ตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยจำนวน 134 ราย ได้ถูกนำไปวิเคราะห์หาภาวะพหุสัณฐานของยีนเอ็นโดธอลิน-1 (rs5370) และยีนโซเดียมชาเนลเบต้าซับยูนิต (rs34241435) โดยใช้วิธีการของแทคโพลิเมอร์เรส และระบบไลท์ไซเคอร์ 480 เอสวายบีอาร์ กรีนวันเมสเตอร์ ผลการศึกษาพบความชุกในการเกิดภาวะบวมน้ำจากการใช้ยาไทอะโซลิดีนไดโอน ร่วมกับยาชนิดอื่นในการรักษาโรคเบาหวาน 13.7% (พบ 15.1% ในกลุ่มที่ใช้ยาพิโอกลิตาโซน และ 12.2% ในกลุ่มที่ใช้ยาโรซิกลิตาโซน) ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำของผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้ได้แก่ อายุ เพศ การมีโรคทางระบบหลอดเลือดขนาดใหญ่ร่วมด้วย การใช้ยากลุ่มเอซีอีไอร่วมด้วย การใช้ยาไทอะโซลิดีนไดโอนในขนาดที่สูง และผู้ป่วยที่มีการใช้อินซูลินร่วมด้วย สำหรับค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาพิโอกลิตาโซนพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่เกิดภาวะบวมน้ำและไม่บวมน้ำ อย่างไรก็ตามพบว่าค่าคงที่ของการขจัดยา ค่าครึ่งชีวิต และอัตราการขจัดยา ของผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ยาพิโอกลิตาโซนคงตัวอยู่ในขนาดสูง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ กับค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์เหล่านี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยานี้คงตัวอยู่ในขนาดต่ำ ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะบวมน้ำและคงขนาดการใช้ยาอยู่ที่ 15 มิลลิกรัม จะมีค่าคงที่ของการขจัดยาและอัตราการขจัดยาน้อยกว่าผู้ป่วยที่จำเป็นต้องคงขนาดใช้ของยาอยู่ที่ 30 มิลลิกรัม ผู้ป่วยเหล่านี้จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการใช้ยาพิโอกลิตาโซนในขนาดที่ต่ำกว่า การศึกษาครั้งนี้พบความถี่ของอัลลีลของยีนเอ็นโดธอลิน-1 ในผู้ป่วยคนไทย 32.1% แต่ไม่พบอัลลีลของยีนโซเดียมชาเนลเบต้าซับยูนิต และไม่พบความแตกต่างของความถี่ของภาวะพหุสัณฐานของยีนเอ็นโดธอลิน-1 ระหว่างกลุ่มที่มีบวมน้ำและไม่มีบวมน้ำ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าภาวะพหุสัณฐานของยีนทั้งสองตัวดังกล่าว ไม่มีบทบาทต่อการเกิดภาวะบวมน้ำจากยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยเบาหวานไทย
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Pharmaceutical Care
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1556
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1556
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannakamol_So.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.