Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3295
Title: | การพัฒนากระบวนการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของครู : การวิจัยแบบพหุกรณีศึกษา |
Other Titles: | A development of the process for enhancing teachers' self-directed learning ability : a multi-case study research |
Authors: | ศิรินันท์ สามัญ, 2497- |
Advisors: | ทิศนา แขมมณี สุวิมล ว่องวาณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tisana.K@chula.ac.th Suwimon.W@chula.ac.th |
Subjects: | การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของครูและเพื่อประเมินกระบวนการที่สร้างขึ้น การพัฒนากระบวนการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของครูดำเนินการโดยวิจัยพัฒนากระบวนการ (ฉบับร่าง) ขึ้น จากการศึกษาทฤษฎี หลักการ และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และนำกระบวนการไปใช้กับกรณีศึกษา 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลปรับปรุงกระบวนการมาเป็นระยะๆ เป็นเวลา 14 สัปดาห์ จนกระทั่งได้กระบวนการฉบับสมบูรณ์ กรณีศึกษาเป็นครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และโรงเรียนเอกชนขยายโอกาส ในจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเอง แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง แบบสอบถามความคิดเห็นของครู แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถี่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การอุปนัย และการบรรยาย ผลวิจัยมีดังนี้ 1. กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของครู ประกอบด้วยหลักการ 4 ประการ คือ 1) ความมีอิสระ 2) การมีส่วนร่วม 3) การเน้นประสบการณ์ตรง และ 4) การนิเทศเพื่อพัฒนา และกระบวนการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ของครู 2) การช่วยให้ครูวิเคราะห์สภาพปัญหา 3) การสร้างความตระหนักและแรงจูงใจในการนำตนเอง 4) การกระตุ้นส่งเสริมให้ครู วิเคราะห์ความต้องการของตนเอง กำหนดเป้าหมายและวางแผน 5) การกระตุ้นส่งเสริมให้ครูปฏิบัติตามแผน 6) การนิเทศกำกับ ติดตาม ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนครูอย่างต่อเนื่อง 7) การประเมินผล และให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ครู 2. ผลการส่งเสริมครูให้มีความสามารถในการนำตนเองในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง พบว่า 2.1 คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของครูทุกคนสูงขึ้นในทุกด้านหลังการดำเนินการตามกระบวนการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และสูงขึ้นเฉลี่ยรวมร้อยละ 38.00 2.2 คะแนนเฉลี่ยของคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเองของครูทุกคนสูงขึ้นในทุกด้าน หลังการดำเนินการตามกระบวนการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และสูงขึ้นเฉลี่ยรวมร้อยละ 15.72 2.3 ผลงานโครงการที่เกิดจากการเรียนรู้แบบนำตนเองของครู 7 คน อยู่ในเกณฑ์ดีมากและของครู 2 คน อยู่ในเกณฑ์ดี 2.4 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to develop the process for enhancing teachers' self-directed learning ability and to evaluate the process. The development of the process enhancing teachers' self-directed learning ability was carried out by 1) developing the process (draft) based-on theories, principles, and related studies 2) implementing the process with 9 teachers and collecting data to improve the process. The implementation took 14 weeks. The selected cases were teachers teaching at the basic education level in 5 learning areas; science, mathematics, Thai language, English language and social studies, religion and culture. They were teachers in a public primary school, a public secondary school and a private school under the jurisdiction of Educational Service Office Samutprakarn Area 1. The instruments for data collection were self-directed learning readiness scale, self-directed learning ability rubrics, interview form, classroom observation form and a questionnaire. For quantitative data analysis, means, standard deviation and frequency were used while qualitative data were analyzed through content analysis, and analytical induction. The findings were : 1. The process enhancing teachers' self-directed learning ability consisted of 4 principles; 1) freedom 2) participation 3) experiential learning and 4) coaching and supervising, and the process of 7 steps; 1) building teachers learning readiness 2) helping teachers to analyze their own problem 3) fostering awareness and understanding of teachers in self-directed learning 4) helping teachers learn to identify their own learning needs and to set plan 5) stimulating teachers to perform according to their plan 6) supervising and coaching as needed and 7) evaluating and giving feedback to teachers. 2. The results from the implementation of the process were : 2.1 The average score of self-directed learning ability of every teacher was 38 percent higher in all aspects after participating in the developed process. 2.2 The average score of self-directed learning attributes of every teacher was 15.72 percent higher in all aspects after participating in the developed process. 2.3 The self-directed projects of 7 teachers were evaluated at "very good" level and those of 2 teachers were at "good" level. 2.4 More than 80 percents of teachers participating in the developed process reported that the process was considerably appropriate and fruitful for professional development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3295 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.478 |
ISBN: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.478 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirinan.pdf | 24.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.