Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตรา อังวัฒนกุลen_US
dc.contributor.authorจิตราภรณ์ ด้วงจุมพล, 2515-en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2007-01-07T11:08:01Zen_US
dc.date.available2007-01-07T11:08:01Zen_US
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.isbn9740300421en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3312en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่าน แบบปฏิบัติการกับวิธีการสอนปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการกับวิธีการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 กลุ่ม ที่มีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กำหนดให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 26 คน โดยได้รับการสอนด้วยกระบวนการอ่านแบบปฏิบัติการ และอีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 30 คน ได้รับการสอนโดยวิธีปกติ ผู้วิจัยดำเนินการสอนทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยตนเอง ใช้เวลาสอนกลุ่มละ 2 คาบ ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทย แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 89.15 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยอยู่ในระดับดี โดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตของทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยเท่ากับ 3.96 3. นักเรียนได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนได้รับการสอนด้วยวิธีการสอนอ่านแบบปฏิบัติการมีทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยแตกต่างจากนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study Thai language reading comprehension ability of mathayom suksa two students taught by reading workshop instruction process. 2) to study attitude toward Thai language reading of mathayom suksa two students taught by reading workshop instruction process. 3) to compare Thai language reading comprehension ability of mathayom suksa two students between groups taught by workshop instruction process and conventional intruction. 4) to compare attitude towards Thai language reading of mathayom suksa two students between groups taught by workshop instruction process and conventional intruction. The samples were mathayom suksa two students at Phrakhanongphittayalai School, Bangkok Metropolis. They were divided into two groups. The first group consisted of 26 students was the experimental group taught by reading workshop instruction process. The second group consisted of 30 students was the controlled group taught by conventional instruction. The researcher taught each group 2 periods a week for 6 weeks. The instruments used in this research were Thai language reading comprehension test and attitude towards Thai language reading test. The data were analyzed by means of arithmetic mean (X), the percentage of arithmetic mean, standard deviation (S.D.) and t-test. The findings were as follows: 1. Mathayom suksa two students taught by reading workshop instruction process had Thai reading comprehension ability at very good level with the percentage of arithmetic mean of 89.15. 2. Mathayom suksa two students taught by reading workshop instruction process had the attitude towards Thai language reading at good level with the arithmetic mean of 3.96. 3. Mathayom suksa two students taught by reading workshop instruction process had Thai reading comprehension ability higher than students taught by conventional instruction at the .05 level of significance. 4. Mathayom suksa two students taught by reading workshop instruction process had attitude towards Thai language reading differently from students taught by conventional instruction.en_US
dc.format.extent1418417 bytesen_US
dc.format.extent1843 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.format.mimetypetext/plain-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.432-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การอ่านen_US
dc.subjectการอ่านขั้นมัธยมศึกษาen_US
dc.titleผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย และทัศนคติต่อการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeEffects of using reading workshop instruction process on Thai language reading comprehension ability and attitude towards reading Thai language of mathayom suksa two students, Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสอนภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSumitra.A@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.432-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittraporn.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.