Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33171
Title: การเปรียบเทียบความรู้ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีเพศและขนาดชั้นเรียนต่างกัน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of knowledge and ability in English expository writing of mathayom suksa six students with different sexes and class sizes in secondary schools, Bangkok metropolis
Authors: นิฏฐา กัลยาประสิทธิ์
Advisors: สุภัทรา อักษรานุเคราะห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ความสามารถ ในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบายระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีเพศและขนาดชั้นเรียนต่างกัน ในโรงเรียนมัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2539 เพศหญิงจำนวน 223 คน เพศชายจำนวน 177 คน ซึ่งเรียนในโรงเรียนที่มีชั้นเรียนขนาดใหญ่ 200 คน และโรงเรียนที่มีชั้นเรียนขนาดเล็ก 200 คน โดยได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบวัดความรู้และแบบสอบวัดความรู้และแบบสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบายอย่างละ 1 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตเป็นร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และอัตราส่วนวิกฤติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนหญิงได้ ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละของคะแนนรวม ทั้งความรู้และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม ส่วนนักเรียนชายได้ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละของคะแนนรวมทั้งความรู้และความสามารถ ในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบายต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม โดยนักเรียนหญิงได้คะแนนความรู้สูงสุดในด้านเนื้อหาที่สัมพันธ์กับเรื่องที่เขียน ต่ำสุดด้านความคล่องแคล่วในการสื่อความหมาย และได้คะแนนความสามารถสูงสุดในด้านกลไกในการเขียน ต่ำสุดในด้านไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค ส่วนนักเรียนชายได้คะแนนความรู้ สูงสุดในด้านกลไกในการเขียน ต่ำสุดด้านความคล่องแคล่วในการสื่อความหมาย และได้คะแนนความสามารถสูงสุด้านกลไกในการเขียน ต่ำสุดด้านความคล่องแคล่วในการสื่อความหมาย และเมื่อเปรียบเทียบจากขนาดของชั้นเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนในชั้นเรีนที่มีขนาดใหญ่ ได้ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละของคะแนนรวม ทั้งความรู้และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบายสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม ส่วนนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนที่มีขนาดเล็กได้ค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละของคะแนนรวมทั้งความรู้และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบายต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม โดยนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนที่มีขนาดใหญ่ได้คะแนนความรู้สูงสุดในด้านเนื้อหาที่สัมพันธ์กับเรื่องที่เขียน ต่ำสุดด้านไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค และคะแนนความสามารถสูงสุดด้านกลไกในการเขียน ต่ำสุดด้านไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค ส่วนนักเรียนที่เรียนในชั้นเรียนที่มีขนาดเล็ก ได้คะแนนความรู้สูงสุดด้านกลไกในการเขียน ต่ำสุดด้านความคล่องแคล่วในการสื่อความหมาย และคะแนนความสามารถสูงสุดด้านกลไกในการเขียน ต่ำสุดด้านความคล่องแคล่วในการสื่อความหมาย 2.ในการเปรียบเทียบทั้งความรู้ และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบายระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีเพศและขนาดชั้นเรียนต่างกัน พบว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนรวมทั้งความรู้ และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงอธิบาย ของนักเรียนที่มีเพศและขนาดชั้นเรียนต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: The purposes of this study were to study and compare the knowledge and ability in English expository writing of mathayom suksa six students with different sexes and class sizes in secondary schools, Bangkok Metropolis. The subjects were the mathayom suksa six students in the 1996 zcedamic year who were 223 girls, 177 boys which were divided to be 200 large class students and 200 small class students selected by a multi-stage random sampling technique. The instruments used in this study were a test of knowledge and a test of ability in English expository writing constructed by a researcher. The content validity of the test was approved by 5 experts. The arithmetic mean, percentage of arithmetic mean, standard deviation and t-test were used for data analysis. The major results of the study were as follows : 1.The girl students had percentage of arithmetic mean higher than half of the total point from the tests of both knowledge and ability in English expository writing while the boy students had percentage of arithmetic mean lower than half of them. In the knowledge test the girls had the highest mean score in the aspect of relevance and the lowest in the aspect of fluence in communication. In the ability test the girls had the highest mean score in the mechanics and the lowest in the aspect of grammar and structure. While in the knowledge test the boys had the highest mean score in the aspect of mechanics and the lowest in the aspect of fluence in communication. In the ability test the boys had the highest mear score in the aspect of mechanics and the lowest in the aspect of fluence in communication. Comparing class sizes, it was found that the large class students had percentage of arithmetic mean higher than half of the total point from the tests of both knowledge and ability in English expository writing while the small class students had percentage arithmetic mean lower than half of the total. In the knowledge test the large class students had the highest mean score in the aspect of relevance and the lowest in the aspect of grammar and structure. In the ability test the large class students had the highest mean score in the aspect of mechanics and the lowest in the grammar and structure. While in the knowledge test the small class students had the highest mean score in the aspect of mechanics and the lowest in the aspect of fluence in communication. In the ability test the small class students had the highest mean score in the aspect of mechanics and the lowest in the fluence in communication. 2.In comparing both the knowledge and the ability in English expository writing between mathayom suksa six students with different sexes and class sizes, it reveals that the mean scores of the total point of both the knowledge and ability tests of these students are different at the .01 level of significance, which proves the hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33171
ISBN: 9746362518
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittha_ka_front.pdf939.07 kBAdobe PDFView/Open
Nittha_ka_ch1.pdf969.57 kBAdobe PDFView/Open
Nittha_ka_ch2.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Nittha_ka_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Nittha_ka_ch4.pdf893.74 kBAdobe PDFView/Open
Nittha_ka_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Nittha_ka_back.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.