Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3318
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม | - |
dc.contributor.author | อุเทน ลิมปิศิริสันต์, 2521- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2007-01-08T06:09:39Z | - |
dc.date.available | 2007-01-08T06:09:39Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741313438 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3318 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | ค้นหาแนวคิด แนวทางการศึกษาและดรรชนีที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ ในการสื่อสารระดับองค์กรในบริบทสังคมไทย เพื่อนำไปสร้างเป็นเครื่องมือวัดความสามารถ ในการสื่อสารระดับองค์กรในบริบทสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์กรไทยจำนวน 10 แห่ง และแจกแบบสอบถามจำนวน 103 ชุด ในการสำรวจนี้ ลักษณะที่ชี้วัดความสามารถในการสื่อสารระดับองค์กร 60 ลักษณะ ถูกพัฒนาขึ้นเป็นแบบสอบถามวัดความสามารถ ในการสื่อสารระดับองค์กรของไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์กรไทยที่มีความสามารถในการสื่อสารคือ องค์กรที่มีความสามารถในการถ่ายทอดและตีความสาร ให้สมาชิกในองค์กรเข้าใจได้ตรงกัน โดยอาศัยความรู้การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (strategic communication knowledge) ซึ่งได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารจัดการและเอกลักษณ์ขององค์กร ความรู้ในเชิงวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงศักยภาพในการสื่อสารองค์กร (tactical communication capacity) ซึ่งได้แก่ การเลือกใช้สื่อขององค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสาร การสร้างเครือข่ายการสื่อสารขององค์กร ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2. แนวทางการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดความสามารถ ในการสื่อสารระดับองค์กรในบริบทสังคมไทยที่เหมาะสมที่สุดคือ การใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ 3. ดรรชนีชี้วัด ความสามารถในการสื่อสารระดับองค์กรในบริบทสังคมไทย ที่สำรวจได้มีทั้งหมด 60 ดรรชนี ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 9 กลุ่มคือ การสื่อสารจัดการและเอกลักษณ์ขององค์กร กระแสโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อองค์กร การให้ข้อมูลแก่บุคลากรในองค์กร การใช้สื่อในการสื่อสารขององค์กร การติดตามผลประเมินผล และรายงานผลขององค์กร โครงสร้างและเครือข่ายการสื่อสารขององค์กร การสร้างเครือข่ายการสื่อสารแบบเป็นทางการ การสร้างเครือข่ายการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ ผลลัพธ์ขององค์กรที่มีความสามารถในการสื่อสาร 4. เครื่องมือวัดความสามารถ ในการสื่อสารระดับองค์กรในบริบทสังคมไทยที่สร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9738 หรือร้อยละ 97.38 | en |
dc.description.abstractalternative | To explore the conceptualization, the research methodology and the components of organizational communication competence in the Thai context. Ten in-depth interviews with top Thai organizational executives and 103 questionnaires were conducted in this study. Sixty communication characteristics of the organizational communication competence have been developed to be a 60-item questionnaire, which can be used for measuring the Thai organizational communication competence. The results of this study reveal as follows: 1) The conceptualization of organizational communication competence in the Thai context is the organization of which the management has abilities to encode and decode massages to the organizational members effectively. These abilities specifically involve with strategic communication knowledge (i.e., management communication, organizational identification, and organizational culture) and tactical communication capacities (i.e., organizational media selection and formal/informal communication network establishment). 2) The research method using questionnaire combined with interview and observation was found to be the most appropriate means to study communication competence at the organizational level in the Thai context. 3) Sixty communication characteristics of organizational communication competence which were found in this study can be categorized into 9 groups, consisting of management communication and organizational identification; globalization and technology management; organizational information management; organizational media selection; organizational follow-up, evaluation, and report; organizational communication network and structure; formal communication network; informal communication network; and organizational communication competence outcomes. 4) A reliability of the developed 60-item questionnaire for measuring the Thai organizational communication competence is .9738 or 97.38%. | en |
dc.format.extent | 2553168 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.279 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสารในองค์การ | en |
dc.title | การสร้างแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวกับ ความสามารถในการสื่อสารระดับองค์กรในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | The conceptualization of communication competence at the organizational level Thailand | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วาทวิทยา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Nongluck.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.279 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.