Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33213
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อวยพร เรืองตระกูล | - |
dc.contributor.author | สุพรรณิการ์ กงภูธร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-18T13:23:23Z | - |
dc.date.available | 2013-07-18T13:23:23Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33213 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลแสดงอิทธิพลของแหล่งการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านความเชื่อในความสามารถของตนเอง โดยศึกษาโมเดลคู่แข่ง 2 โมเดล ได้แก่ โมเดลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีแหล่งการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็น 4 องค์ประกอบ และโมเดลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีแหล่งการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นองค์ประกอบเดียว 4 ตัวบ่งชี้ 2) เปรียบเทียบโมเดลแข่งขันระหว่างโมเดลแบบ ก กับโมเดลแบบ ข และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงของแหล่งการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความเชื่อในความสามารถของตนเอง และอิทธิพลทางอ้อมของแหล่งการรับรู้ความสามารถของตนเองผ่านความเชื่อในความสามารถของตนเองไปยังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 337 คน จาก 29 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.93 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยาก เท่ากับ 0.25-0.75 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.20 – 0.91 และมีความเที่ยงเท่ากับ 0.82 การวิเคราะห์ความตรงของโมเดลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลทั้งสองมีโครงสร้างตามทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (โมเดล แบบ ก χ² = 10.87 df=6 p=.092 GFI=.992 AGFI=.952 RMR=.019 และโมเดล แบบ ข χ²= 8.63 df=7 p=.280 GFI=.994 AGFI=.967 RMR=.020) 2) ผลการเปรียบเทียบโมเดล พบว่า โมเดล แบบ ก มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายสูงกว่าโมเดล แบบ ข 3) ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเชื่อในการรับรู้ความสามารถของตนเองและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงที่สุด คือ ประสบการณ์ความสำเร็จจากการเรียน รองลงมา คือ สภาวะทางร่างกายและอารมณ์ การใช้คำพูดชักจูง และการได้เห็นประสบการของผู้อื่น ตามลำดับ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research were 1) to develop and validate the 2 competing models sources of self efficacy affecting learning achievement via self efficacy belief : the model with a source of self-efficacy as 4 latent variable and the model with a source of self-efficacy a latent variable with 4 indicator 2) to compare the two competing models, 3) to study the direct effects of sources of self efficacy on self efficacy belief and the indirect effects of sources of self efficacy on learning achievement via self efficacy belief. The sample consisted of 337 ninth grade students in 29 schools under the jurisdiction of the Office of Basic Education Commission in Bangkok Metropolian area, Bangkok Metropolitan Area.The research instruments were questionnaire with reliability of 0.93 and Science achievement test with the difficulty index of 0.25-0.75, the discriminative index of 0.20-0.91 and the reliability of 0.92 Data analysis employed LISREL to validate of the causal model . The findings indicated that both competing model fitted to empirical data (the first model χ² = 10.87 df=6 p=.092 GFI=.992 AGFI=.952 RMR=.019 and the second model χ² = 8.63 df=7 p=.280 GFI=.994 AGFI=.967 RMR=.020 ) 2) The first model which showed slightly better fit was adopeted. 3) The direct and indirect effects indicated that the variables having direct effect on self efficacy and indirect effect on achievement in consecutive order were enactive mastery experience, physiological and condition, verbal persuasion and vicarious experience respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1395 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | ความสามารถในตนเอง | en_US |
dc.subject | การรับรู้ตนเอง | en_US |
dc.subject | Academic achievement | en_US |
dc.subject | Self-efficacy | en_US |
dc.subject | Self-perception | en_US |
dc.title | แหล่งการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านความเชื่อในความสามารถของตนเอง : การเปรียบเทียบโมเดลเชิงสาเหตุคู่แข่งสองโมเดล | en_US |
dc.title.alternative | Sources of self efficacy affecting learning achievement via self efficacy belief : a comparison of two competing causal models | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Auyporn.R@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1395 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supunnika_ko.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.