Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33754
Title: การพัฒนาแบบเรียนทางศิลปศึกษาเรื่องการเรียนรู้คุณค่าทางศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: The development of an art education textbook on art appreciation for prathom suksa five students
Authors: เทวินทร์ เอี้ยนมี
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ศิลปวิจารณ์
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาแบบเรียนศิลปศึกษาเรื่องการเรียนรู้คุณค่าทางศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อเปรียบเทียบผลการสอนวิชาศิลปศึกษาโดยการใช้แบบเรียนที่พัฒนาขึ้นกับการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแหลมทอง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่สอนโดยการใช้แบบเรียนที่พัฒนาขึ้น จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่สอนแบบปกติ จำนวน 30 คน และการประเมินคุณภาพของแบบเรียนกระทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และครูผู้สอนอีก 9 คน การดำเนินการวิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า 4 ด้าน คือ 1) หลักพัฒนาการทางศิลปะ 2) หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) 3) การวิจารณ์ศิลปะ และ 4) หลักการออกแบบหนังสือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำแนะนำแก่ผู้วิจัยเพื่อทำการพัฒนาขึ้นเป็นแบบเรียน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงทดลอง การตรวจสอบคุณภาพของแบบเรียนอาศัย ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูผู้สอนและนักเรียน โดยประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาหนังสือทั้ง 4 ด้าน การทดสอบประสิทธิภาพของแบบเรียนใช้เกณฑ์ E₁/E₁ = 80/80 ของชัยยงศ์ พรหมวงศ์ และส่วนการเปรียบเทียบการสอนกระทำโดยการเก็บคะแนนก่อน และหลังเรียนทั้ง 2 กลุ่ม แล้วนำมาวิเคราะห์ทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของแบบเรียนที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพที่เหมาะสมตามเกณฑ์การพัฒนาหนังสือทั้ง 4 ด้าน 2) แบบเรียนมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการทดลองสอนด้วยแบบเรียนที่พัฒนาพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ผลการสอนโดยใช้แบบเรียนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this study were to develop an art education textbook on art appreciation for Prathom Suksa five students and to compare the achievement scores between two teaching methods : teaching by using textbook and teaching by general method. The samples of the population used in this study included sixty Prathom Suksa five students at Banlaemthong School in Petchaburi Province during the academic year of 1993, the six educational experts and nine elementary teachers. The process of this study consisted of developing a textbook concerning the quality and efficiency. The framework in developing the textbook covered four aspects 1) the art developmental stage, 2) the elementary art curriculum, 3) the principles of art criticism and 4) the principles of textbook design. The education experts, teachers and students then examined the textbook. Furthur, the textbook was tested for efficiency by E₁/E₁ = 80/80 concerning the comparison of the two teaching methods, it was done by means of comparing the pre-test and post-test and post-test achievement scores by using the t-test. It was found that the developed textbook was accepted with regard to the quality and efficiency. Concerning the comparison of the two teaching methods, it was found that the achievement scores of the students taught by teaching with the textbook were higher than teaching by the general method at the significance level of .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33754
ISBN: 9745840866
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tewin_ia_front.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
Tewin_ia_ch1.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open
Tewin_ia_ch2.pdf52.29 MBAdobe PDFView/Open
Tewin_ia_ch3.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open
Tewin_ia_ch4.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Tewin_ia_ch5.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Tewin_ia_back.pdf34.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.