Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33816
Title: การประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในอาคารสำนักงานโดยการควบคุมค่าความต้องการพลังไฟฟ้า กรณีศึกษา : อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Electricity cost saving of office building based on peak demand control case study : the Stock Exchange of Thailand building
Authors: อดิเทพ สุธรรมภาวดี
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bundit.C@Chula.ac.th
Subjects: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย -- อาคาร
การใช้พลังงานไฟฟ้า
อัตราค่าไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า -- การอนุรักษ์
Stock Exchange of Thailand -- Buildings
Electric power consumption
Electric utilities -- Rates -- Time-of-use pricing
Electric power -- Conservation
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นประเภทกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งการไฟฟ้านครหลวง กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of use tariff) ตามค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) จึงมีวัตถุประสงค์จะศึกษาหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอาคารสูง 18 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 22,198 ตร.ม. มีสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ คิดเป็น 57.60% ระบบไฟ้ฟ้าแสงสว่างเป็น 12.40% ระบบสุขาภิบาล คิดเป็น 4.70% ระบบลิฟท์โดยสาร คิดเป็น 3.30% และระบบอื่นคิดเป็น 22.00% ปัจจุบันอาคารเปิดทำการ จันทร์-ศุกร์ ระบบปรับอากาศ เปิดเครื่องทาความเย็น 1 ตัว เครื่องส่งอากาศเย็น 58 ตัว เครื่องส่งอากาศเย็นขนาดเล็ก 40 ตัว เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 34 ตัว พร้อมเปิดระบบระบายอากาศจำนวน 5 ตัว ระบบไฟฟ้าแสงสว่างควบคุมการเปิดและปิดแบบสองทิศทาง ระบบเครื่องสูบน้ำมีถังเก็บน้ำประปาอยู่บนยอดอาคาร โดยสูบน้ำขึ้น 2 ช่วงเวลาคือ 10.30-12.30 น และเวลา 18.00-21.00 น จากการศึกษาการใช้ไฟ้ฟ้าในเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งเป็นเดือนที่มีการใช้ไฟฟ้าใกล้คียงกับ ค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าต่อเดือนทั้งปี พบว่า ค่าพลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 526,000 kWh ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเกิดขึ้น ในช่วงเวลา 10.30-11.45 น. และมีค่าสูงสุดของเดือนเท่ากับ 1,391 kW ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) คงที่เท่ากับ 92.55 สตางค์ต่อkWh เพื่อประหยัดค่าใช่จ่ายไฟฟ้าจะต้องปรับเปลยี่นเวลาทำงานเครื่องสูบน้ำระบบปรับอากาศจำนวน 4 ตัว ระบบระบายอากาศ จำนวน 1 ตัว และระบบไฟฟ้าแสงสว่างบางส่วนบริเวณโถง จะทำให้ลดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวลงให้เหลือ 1,327.24 kW ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายไฟฟ้าลงได้เท่ากับ 8,465.72 บาท อีกทั้งลดค่าพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 424.90 บาท รวมกันก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้ 8,890.71 บาทต่อเดือน หรือ 106,688.52 บาทต่อปี ทั้งนี้วิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าที่เสนอ เป็นวิธีการที่ดำเนินการได้ทันที
Other Abstract: The Stock Exchange of Thailand (SET) building is a large electricity consumer; therefore, the Metropolitan Electricity Authority has imposed a time of use tariff (TOU) for the building based on peak demand and Ft charge. As a result, this study aims to examine electricity cost savings for the building. The SET building is 18-storeys high with 22,198 square meters of functional space. Electricity consumption is classified into air-conditioning (57.60%), lighting (12.40%), sanitary system (4.70%), elevators (3.30%) and other (22%). At present, the operating hours of this building are monday to friday. For the air-conditioning system, there is one air cooler, 58 cool air distributors, 40 small cool air distributors, 34 split-type air-conditioners, and 5 ventilators. Lighting energy is controlled by a bidirectional on/off switch. The water pumping system consists of water tanks on the top of the building which operate twice a day at 10.30 a.m.-12.30 p.m. and 6-9 p.m. The study shows that in November 2010, the month which had an electricity consumption index closest to the average annual figure, the electrical cost was 526,000 kWh. The peak demand was 10.30-11.45 a.m., which tops the month at 1,391 kW with a Ft of 92.55 satang/kWh. To save on electricity costs, the operation of the pumping system, 4 air-conditioners, 1 ventilator and lighting system in the lobby should be adjusted to reduce the peak demand charge to1,327.24 kW. This would help cut 8,465.72 baht from the electricity cost and bring the demand charge down to 424.90 baht. The total reduction would be 8,890.71 baht per month or 106,688.52 per annum. Thus, the proposed solution can be an immediate electricity cost-saving plan.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33816
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1452
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1452
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
adithep_su.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.