Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33831
Title: แนวทางการพัฒนาธุรกิจลิสซิ่งในเชิงนิติศาสตร์
Other Titles: How to develop the leasing business in legal aspect
Authors: เนตรนภา บุญคำ
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สินเชื่อ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
เช่าทรัพย์
บริการเช่าทรัพย์
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลิสซิ่งเป็นการให้สินเชื่อรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้เช่า” ได้ตกลงทำสัญญาจัดส่งอุปกรณ์กับบุคคลที่สามเรียกว่า “ผู้จัดส่งอุปกรณ์สินค้า” เป็นผลให้ผู้เช่าได้มาซึ่งสินค้าต้นทุน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีคุณลักษณะตามที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้เช่า” เป็นผู้กำหนดคุณลักษณะของอุปกรณ์สินค้าและเลือกผู้จัดส่งอุปกรณ์สินค้าหรือผู้ผลิต ตกลงเข้าทำสัญญาลิสซิ่งกับผู้ให้เช่าให้สิทธิผู้เช่าในการใช้อุปกรณ์สินค้าเป็นค่าตอบแทนสำหรับค่าเช่าที่ผู้เช่าจะต้องชำระ เนื่องจากว่าลิสซิ่งเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหม่ ระบบกฎหมายของประเทศต่างไม่ยอมรับว่าลิสซิ่งเป็นเอกเทศสัญญาทางธุรกิจประเภทใหม่จะใช้หลักเกณฑ์ของเอกเทศสัญญาในเรื่องเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ หรือซื้อขายมาใช้บังคับกับสัญญาลิสซิ่ง ซึ่งผลที่สุดในทางกฎหมายผู้ให้เช่าซึ่งมักจะมีกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์สินค้าต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์สินค้าที่ตนส่งมอบ และในเรื่องของการรอนสิทธิ์รวมถึงความรับผิดในฐานะของผู้ผลิตอีกด้วย ประเทศไทยก็เช่นกันปัญหาคือว่าผู้ให้เช่ามีธุรกิจให้ยืมหรือให้เครดิตเยี่ยงธนาคารให้บุคคลทั่วไปกู้เงิน ธนาคารไม่ต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้กู้เงินนำเงินไปลงทุนซื้ออุปกรณ์สินค้าเพราะเหตุใดผู้ให้เช่าในธุรกิจทำนองเดียวกันนี้จะต้องรับผิดอันเนื่องมาจากกรรมสิทธิ์ หรือทรัพย์สิทธิ์เพราะตนถือไว้เป็นประกันเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นผู้ให้เช่าไม่ได้รู้ถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์สินค้า ไม่ได้เป็นผู้กำหนดเลือกอุปกรณ์สินค้าและผู้ผลิตจึงไม่มีเหตุผลที่ให้ผู้ให้เช่าต้องรับผิดอันเนื่องมาจากความชำรุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิ์ของอุปกรณ์สินค้า ในประเทศไทยลิสซิ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้ากันต่อไป เพราะลิสซิ่งไม่ใช่เรื่องเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ หรือซื้อขาย แต่เป็นเอกเทศสัญญาอีกลักษณะหนึ่งที่แตกต่างไปจากเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ หรือซื้อขาย การนำเอาหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ หรือซื้อขายมาใช้จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เห็นควรให้มีการบัญญัติกฎหมายลิสซิ่งเป็นการเฉพาะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจลิสซิ่งต่อไป
Other Abstract: Leasing is a transaction which one party (the lessor) on specification of another party (the lessee) enter in to an agreement (the supplier agreement) with the third party (the supplier) under which the lessor acquires plant capital goods or other equipment (the equipment) on terms approved by the lessee so far as they concern its interests and enter in to an agreement (the leasing agreement) with the lessee granting to the lessee the right to use the equipment in return for the payment of rentals. The Leasing transaction had tri parties the lessor, the supplier, and the lessee is compose two contracts. The first, between the lessor and the supplier (supply agreement) the other between the lessor and the lessee. Leasing is a new business, another country dose not accept Leasing is a sui genesis, so use the regulation of sale, bailment, loan, hire and hire-purchase result of that the duties of the lessor under lease agreement shall also to the lessee about the detective goods and the disturbance the same of Thailand. It is not reasonable because the lessor dose not to concern a spect of goods and the supplier. Leasing in Thailand will be grow up we should interested in Leasing business because Leasing is not a Hire and Hire-purchase but it is a sui genesis. Using the regulation of Hire and Hire-purchase dose not right. Should be regulate the special law about the Leasing.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33831
ISBN: 9746344943
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natenapa_bo_front.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_ch1.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_ch2.pdf11.18 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_ch3.pdf12.04 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_ch4.pdf14.7 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_ch5.pdf9.42 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_ch6.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open
Natenapa_bo_back.pdf10.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.