Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33844
Title: | การพัฒนาแบบสอบภาคปฏิบัติหมวดวิชาคหกรรมศาสตร์ |
Other Titles: | Development of a performance test in home economics |
Authors: | เทียนพร รังษีอนุวัตรกูร |
Advisors: | อุทุมพร จามรมาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ข้อสอบภาคปฏิบัติ คหกรรมศาสตร์ -- ข้อสอบ ข้อสอบ -- ความตรง ข้อสอบ -- ความเที่ยง |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบสอบภาคปฏิบัติหมวดวิชาคหกรรมศาสตร์ รายวิชา คก022 อาหาร 2 สำหรับอาจารย์ผู้สอนใช้ในการประเมินผลสรุปปลายภาคเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษากรุงเทพมหานครที่สังกัดกองการมัธยมศึกษาแบบสอบภาคปฏิบัตินี้สร้างจากการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา คก022 อาหาร 2 และจากคำสัมภาษณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง นำไปทดลองใช้ 2 ครั้ง กับนักเรียน 45 คน และใช้จริงกับนักเรียน 157 คน แล้วนำมาวิเคราะห์หาคุณภาพรายข้อและคุณภาพทั้งฉบับ ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบสอบภาคปฏิบัติที่สร้างและพัฒนา ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม และแบบประเมินอาหาร ใช้เวลาในการสอบทั้งสิ้น 135 นาที คะแนนรวม 100 คะแนน ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละแบบสอบย่อยดังนี้ 1.1 แบบทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้เวลาสอบ 30 นาที เป็นแบบสอบปรนัย แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน มีค่าเฉลี่ยของคะแนน 16.255 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.969 ความยากเฉลี่ย .5418 อำนาจจำแนกเฉลี่ย .4206 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .8418 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด 2.3741 และมีความตรงเชิงเนื้อหา 1.2 แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม ใช้เวลาประเมินแต่ละกลุ่มนาน 100 นาที เป็นแบบตรวจสอบพฤติกรรม จำนวน 10 ข้อ ประเมิน 6 พฤติกรรม คะแนนเต็ม 50 คะแนน มีค่าเฉลี่ยของผลประเมิน 41.565 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.811 สัดส่วนรายข้อเฉลี่ย .8313 อำนาจจำแนกเฉลี่ย .4553 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .7887 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด 4.5098 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง 1.3 แบบประเมินอาหาร ใช้เวลาประเมิน 5 นาที ต่ออาหาร 1 อย่าง เป็นแบบตรวจสอบอาหาร ประกอบด้วยเกณฑ์ประเมิน 5 หมวดใหญ่ จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน ค่าเฉลี่ยของผลประเมินอาหารแต่ละอย่างมีค่า 16.958 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.872 สัดส่วนรายข้อเฉลี่ย .8479 อำนาจจำแนกเฉลี่ย .7588 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .9051 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด 1.5008 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง 2. แบบสอบย่อยทั้ง 3 นี้ มีค่าความสัมพันธ์กันทุกชุด ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินพฤติกรรมกลุ่มกับแบบประเมินอาหารมีค่าสูงสุด |
Other Abstract: | The objective of the research is to construct and develop a performance test in home economics, HE022 Food 2, for teachers to use in the summative evaluation of M.S. 3 students in the Public Secondary School in Bangkok. This performance test was constructed from the analysis of HE022 Food 2,s curriculum and the interview of expertises. It was tried out and tested with 157 students. The result of the research are as follows: 1. The performance test consists of 1) The learning achievement subtest, 2) The group behavior evaluative form, and 3) The food product evaluative form. Total time usage in the test is 135 minutes. Total marks are 100 marks. The details of each subtest are listed below. 1.1 The learning achievement subtest is the 30 multiple choices with 4 choices for each item. Total time usage in the subtest is 30 minutes. The mean is 16.255 which it S.D. 5.969 average item difficulty is .5418. Average item discrimination index is .4206. Reliability coefficient is .8418 which its S.E.M. is 2.3741 and it has content validity. 1.2 The group behavior evaluative form consists of 10 checklist items which evaluates 6 behaviors. Total time usage in the subtest is 100 minutes per groups. Total marks are 50 marks. The mean is 41.565 which its S.D. is 9.811. Average item popularity is .8313. Average discrimination index is .4553. Reliability coefficient is .7887 which its S.E.M. is 4.5098 and it has construct validity. 1.3 The food product evaluative form consists of 10 checklist items which evaluates 5 major criterions. Total tim usage in the subtest is 5 minutes per groups. Total marks are 20 marks. The mean is 16.958 which its S.D. is 4.872. Average item popularity is .8479. Average discrimination index is .7588. Reliability coefficient is .9051 which its S.E.M. is 1.5008 and it has construct validity. 2. There is a relation between each pair of subtests. The relation between the group behavior evaluative form and the food product evaluative form is the biggest. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33844 |
ISBN: | 9745768596 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thienporn_ru_front.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienporn_ru_ch1.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienporn_ru_ch2.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienporn_ru_ch3.pdf | 12.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienporn_ru_ch4.pdf | 6.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienporn_ru_ch5.pdf | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thienporn_ru_back.pdf | 9.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.