Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33903
Title: โครงสร้างอุตสาหกรรมกระจกในประเทศไทย
Other Titles: Structure of the glass industry in Thailand
Authors: นิลุบล สุนทรารัณย์
Advisors: อิศรา ศานติศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อุตสาหกรรมกระจก -- ไทย
กระจก
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรมกระจกในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2536 ประกอบด้วยการศึกษาสถานการณ์ต่างๆ และความเป็นมาของอุตสาหกรรม การศึกษาความเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละเดือน การหาค่าระดับของอำนาจผูกขาด (oligopoly Power) ของอุตสาหกรรมกระจกตามแบบจำลองของแอบเพลล์บาล์ม (Appelbaum) และการหาค่าสวัสดิการสังคม การหาค่าระดับของอำนาจการผูกขาดของอุตสาหกรรม ใช้ดัชนีชี้ถึงลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรม ดัชนีที่มีค่าเท่ากับ 1 แสดงถึงความเป็นโครงสร้างอุตสาหกรรมแบบผูกขาด และดัชนีที่มีค่าเท่ากับ 0 แสดงถึงความเป็นโครงสร้างอุตสาหกรรมแข่งขันสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า ค่าระดับของอำนาจผูกขาดของอุตสาหกรรมกระจกโดยในช่วงปี พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2530 มีค่าเท่ากับ 0.863 ช่วงปี พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2536 มีค่าเท่ากับ 0.912 และค่าระดับของอำนาจผูกขาดโดยรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2536 มีค่าเท่ากับ 0.857 จากค่าที่ได้สรุปได้ว่าโครงสร้างอุตสาหกรรมกระจกในประเทศไทยในช่วงที่ทำการศึกษามีลักษณะโครงสร้างอุตสาหกรรมใกล้เคียงความเป็นอุตสาหกรรมผูกขาด จากการศึกษาความเคลื่อนไหวของราคารายเดือนพบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2530 ซึ่งในอุตสาหกรรมมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ราคาโดยเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2535 เมื่อมีผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรม พบว่าราคาเฉลี่ยเริ่มคงตัว และในปี พ.ศ. 2536 ราคาเฉลี่ยเริ่มลดลง ผลการหาค่าสวัสดิการสังคม พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2530 ค่าสวัสดิการสังคมมีแนวโน้มลดลงทั้งช่วง ส่วนในช่วงปี พ.ศ. 2531-พ.ศ. 2536 ค่าสวัสดิการสังคมมิได้ลดลงทั้งช่วง โดยจะมีค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2536 แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ทำให้ค่าสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าในอนาคตค่าสวัสดิการสังคมจะเพิ่มขึ้นอีกหากว่ามีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้อีก
Other Abstract: The objective of this research is to study the structure of glass industry in Thailand during 1980-1987 and 1988-1993. This research consists of the historical background, price fluctuation, oligopoly power determination and social welfare analysis. In term of oligopoly power value (L), will indicate the deviation of the underlying industry structure from the two benchmarks of perfect competition and pure monopoly (L = 0 and L = 1 respectively). During 1980-1987, in which there was only one producer, the oligopoly power was 0.912. During 1988-1993 in which there was more producers, the oligopoly power decreased to 0.857. These values indicated that during both periods the structure of glass industry in Thailand seems to be monopoly. During 1980-1987 it is also found that the price fluctuation gradually increased but remain unchanged during 1988-1992 then decreased in 1993. In term of the social welfare, the analysis shows that during 1980-1987 the social welfare value gradually decreased. After 1988, the value increased in 1989 and again in 1992. This analysis indicated that when a new producers entered in the industry the social welfare increased and will increase again in the future if there are more producers enter the industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33903
ISBN: 9746322613
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nilubon_so_front.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open
Nilubon_so_ch1.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open
Nilubon_so_ch2.pdf22.3 MBAdobe PDFView/Open
Nilubon_so_ch3.pdf17.78 MBAdobe PDFView/Open
Nilubon_so_ch4.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open
Nilubon_so_ch5.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Nilubon_so_back.pdf13.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.