Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34178
Title: การศึกษาถึงการตอบสนองของหลอดเลือดแดงไตวัวที่แยกจากกายต่อสารที่มีผลต่อหลอดเลือด
Other Titles: Study on the responsiveness of isolated bovine renal artery to vasoactive substances
Authors: นิศากร ไกรสูรย์
Advisors: สุพัตรา ศรีไชยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โค
หลอดเลือดแดง
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้นำหลอดเลือดแดงจากไตของวัวที่แยกจากกายมาเป็นรูปแบบในการศึกษาการตอบสนองทางเภสัชวิทยาของหลอดเลือดแดงต่อสารที่มีผลต่อหลอดเลือด 9 ชนิด และบทบาทของเยื่อบุผนังหลอดเลือดในการตอบสนองของหลอดเลือดต่อสารเหล่านี้ จากผลการทดลองพบว่านอร์อะดรีนาลีน ฮีสตามีน ซีโรโทนิน และแคลเซียมคลอไรด์ ทำให้หลอดเลือดหดตัว ในขณะที่อะเซทิย์ลโคลีน ไอโซโปรเทอรินอล ไฮดราลาซีน และปาปาเวอรีน ทำให้เนื้อเยื่อนี้คลายตัว ส่วนโดปามีนมีผลสองขั้นตอน คือ ในขนาดความเข้มข้นต่ำๆ ทำให้หลอดเลือดคลายตัวและมีการหดตัวของหลอดเลือดเมื่อมีความเข้มข้นของโดปามีนสูงขึ้น ผลที่เกิดขึ้นนี้ยับยั้งได้ด้วยสารต้านฤทธิ์จำเพาะของรีเซ็พเตอร์ที่เกี่ยวข้อง การขูดเยื่อบุผนังหลอดเลือดออก มีผลลดการหดตัวของหลอดเลือดเนื่องจากฮีสตามีนและมีผลเพิ่มการหดตัวของหลอดเลือดเนื่องจากโดปามีน แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อนอร์อะดรีนาลีน และซีโรโทนิน ส่วนสารที่มีผลทำให้หลอดเลือดคลายตัวพบว่าการขูดเยื่อบุผนังหลอดเลือดออก มีผลลดการคลายตัวของหลอดเลือด เนื่องจากอะเซทิย์ลโคลีนและไฮดราลาซีน แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการคลายตัวของหลอดเลือด เนื่องจากไอโซโปรเทอรินอล และไม่มีผลใดๆ ต่อการคลายตัวของหลอดเลือดเนื่องจากปาปาเวอรีน การตอบสนองของหลอดเลือดที่ไม่มีเยื่อบุผนังหลอดเลือดมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากหลอดเลือดที่มีเยื่อบุผนังหลอดเลือดเมื่อได้รับสารต้านฤทธิ์ โดยเห็นผลการยับยั้งเด่นชัดขึ้น (นอร์อะดรีนาลีน-พราโซซิน และซีโรโทนิน-คีแทนเซริน) และเพิ่มการตอบสนองของหลอดเลือด (ฮีสตามีน-คลอร์เฟนิรามีน และซัยเมทิดีน อะเซทิย์ลโคลีน-อะโทรปีน และไฮดราลาซีน-โปรปราโนลอล) อาจสรุปได้ว่าการตอบสนองของหลอดเลือดแดงไตวัว ต่อสารที่มีผลต่อหลอดเลือดมีแบบแผนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างจากหลอดเลือดบริเวณอื่นๆ ที่มีการศึกษามาก่อนและเยื่อบุผนังหลอดเลือดมีบทบาทจำเป็นในการตอบสนองของหลอดเลือดต่อยาที่มีผลต่อหลอดเลือดบางชนิด จึงน่าที่จะมีการพิจารณาและศึกษาต่อไปถึงผลของยาที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อต้องใช้ยาในผู้ป่วยที่หลอดเลือดมีลักษณะทางพยาธิสภาพเปลี่ยนแปลงไป
Other Abstract: An in vitro preparation of bovine renal artery was undertaken to investigate the responsiveness of the vessel to nine vasoactive agents and the integrity of vascular endothelium in modulating tone of blood vessel to these agents. Noradrenaline, histamine, serotonin and calcium contracted resting renal artery whereas acetylcholine, hydralazine, isoproterenol and papaverine relaxed the tissue. Specifically, dopamine was found to have a biphasic action; relaxation with low doses and contraction with high doses. These effects were antagonized by their specific antagonists. By mechanical removal of the endothelium attenuated the contraction caused by histamine. In contrast, the dopamine-induced contraction was enhanced. The contraction caused by noradrenaline and serotonin was unaffected. Endothelial-removal diminished the relaxation caused by acetylcholine and hydralazine, but did not markedly changed those caused by isoproterenol. The relaxation caused by papaverine was unaffected. In the presence of specific antagonists, the responses of de-endothelial tissue to their agonist were changed. Prazosin and ketanserin showed their stronger antagonistic effects to noradrenaline and serotonin, respectively, than in the intact preparation. By contrast, increasing of de-endothelial tissue responses to histamine, acetylcholine and hydralazine were also found in the presence of chlorpheniramine and cimetidine, atropine and propranolol, respectively. It may be concluded that the responsiveness of bovine renal artery to vasoactive agents is a unique and varied pattern that is different from other (blood vessels) examined and the integrity of vascular endothelium is essential for modulating the responsiveness of renal blood vessel to some vasoactive drugs. It is, therefore, that the intriguing to contemplate whether the relevant pharmacological effects of the drugs used in the patient with functionally-impaired endothelium.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34178
ISBN: 9745810754
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisakorn_ka_front.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_ka_ch1.pdf23.15 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_ka_ch2.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_ka_ch3.pdf24.05 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_ka_ch4.pdf15.04 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_ka_ch5.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_ka_back.pdf15.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.