Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34336
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการอาการ ร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Other Titles: The effect of symptom management and meditation program on health-related quality of life in elderly patients with chronic obstructive pulmonary disease
Authors: กฤษณา พุทธวงค์
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: wattanaj@yahoo.com
Subjects: สมาธิ -- การใช้รักษา
ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย
ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย -- สุขภาพและอนามัย
คุณภาพชีวิต
Meditation -- Therapeutic use
Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients
Lungs -- Diseases, Obstructive -- Patients -- Health and hygiene
Quality of life
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขุนตาล จังหวัดเชียงราย และจับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความรุนแรงของโรค ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 ราย กลุ่มควบคุม 18 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ประกอบด้วย กิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมรายกลุ่มจำนวน 6 ครั้ง และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์เกี่ยวกับการรับรู้อาการ 2) การให้ความรู้ในการจัดการอาการ 3) การฝึกทักษะในการจัดการอาการ และ 4) การประเมินผลการจัดการอาการ เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบวัดการรับรู้การหายใจลำบาก และแบบบันทึกการปฏิบัติสมาธิที่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .90 และได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
Other Abstract: The purposes of this quasi–experimental research were comparison of Health – Related Quality of Life (HRQOL) of elderly patient with COPD between the experimental group and control group, and comparison of Health – Related Quality of Life of the experimental group before and after receiving the symptom management and meditation program. The total sample consisted of 36 elderly patients with COPD attending out patients clinic at Khuntan Hospital. The subjects were equally assigned to the experimental group and the control group. Both groups were matched by sex, age, and severity of COPD. The control group received the Conventional Nursing Care while the experimental group received the Symptom Management and Meditation Program. Instruments of this study were: Symptom Management and Meditation Program based on the Symptom Management Model and the Meditation Program. The program comprised of four steps: 1) assessment of patient’s symptom experience 2) knowledge innovation 3) self-symptom management skill development and 4) evaluation for symptom management. The instrument for data collection was Health – Related Quality of Life which was assessed by using Medical Outcomes Study Short form (SF-36). Data were analyzed using descriptive statistic and t-test. The major findings were as follows: 1. The Quality of life score of the elderly COPD with in the experimental group, after received the Symptom Management and Meditation Program was significantly higher than that of before received the program. (p < .05) 2. The Quality of life score of the elderly COPD with in the experimental group was significantly higher than that of the control group. (p < .05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34336
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.564
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.564
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krissana_pu.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.