Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34419
Title: แป้งมันสำปะหลังดัดแปร : การแทนที่และการเชื่อมขวาง
Other Titles: Modified tapioca strach : substitution and cross-linking
Authors: อนงค์ เจษฎาณานเมธา
Advisors: กัลยา เลาหสงคราม
วรรณา ตุลยธัญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ดัดแปรแป้งมันสำปะหลังด้วยปฏิกิริยาแทนที่โดยใช้โพรพิลีนออกไซด์ร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางโดยใช้โซเดียมไตรเมตาฟอสเฟต เพื่อให้ได้แป้งดัดแปรที่มีสมบัติเหมาะสมต่อการใช้เป็นสารให้ความข้นหนืดแก่ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องผ่านความร้อนสูง ในขั้นแรกศึกษาการดัดแปรแป้งมันสำปะหลังด้วยปฏิกิริยาแทนที่ ที่ความเข้มข้นของน้ำแป้งร้อยละ 40 (โดยน้ำหนักแป้งแห้ง) pH 11.00±0.10 พบว่าอุณหภูมิ (40 ℃, 50 ℃) ปริมาณโซเดียมคาร์บอเนต (ร้อยละ 0.25, 2.70 โดยน้ำหนักแป้งแห้ง) และผลร่วมระหว่างอุณหภูมิกับปริมาณโซเดียมคาร์บอเนต ทำให้มีปริมาณหมู่ไฮดรอกซีโพรพิลในแป้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) และแป้งที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 50 ℃ ในภาวะที่ใช้โซเดียมคาร์บอเนตปริมาณต่างกันมีปริมาณหมู่ไฮดรอกซีโพรพิลเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อมาจึงดัดแปรแป้งมันสำปะหลังที่อุณหภูมิ 50±2 ℃ โดยมีโซเดียมคาร์บอเนต ร้อยละ 0.25 พบว่า ปริมาณโพรพิลีนออกไซด์ (ร้อยละ 5, 7.5, 10 โดยน้ำหนักแป้งแห้ง) เวลา (6, 12, 24 ชั่วโมง) และผลร่วมระหว่างปริมาณโพรพิลีนออกไซด์กับเวลา ทำให้ปริมาณหมู่ไฮดรอกซีโพรพิลในแป้งดัดแปรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) แป้งที่ได้จึงมีระดับการแทนที่ของหมู่ไฮดรอกซีโพรพิลต่างกัน อุณหภูมิสุกของแป้งต่ำกว่าแป้งมันสำปะหลังธรรมชาติ ความหนืดใน heating-cooling cycle เมื่อวัดด้วยเครื่อง Brabender Visco-Amylograph จะสูงขึ้น กำลังการพองตัวที่ 65 ℃ และ 75 ℃ เพิ่มขึ้นแต่ที่ 85 ℃ และ 95 ℃ ลดลง ความคงตัวของแป้งเปียกในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 ℃- 7 ℃ ดีขึ้น ในขั้นต่อมาได้เลือกแป้งไฮดรอกซีโพรพิลที่มีระดับการแทนที่ต่างกัน 2 ระดับ (D.S. 0.047, 0.075) ซึ่งแป้งเปียกมีความคงตัวดีแม้เก็บที่อุณหภูมิ 5 ℃- 7 ℃ นาน 21 วัน สำหรับศึกษาการดัดแปรด้วยปฏิกิริยาเชื่อมขวางที่อุณหภูมิ 50 ℃ pH 11.00±0.10 พบว่า ปริมาณฟอสเฟตในแป้งไฮดรอกซีโพพิลไดสตาร์ชฟอสเฟตขึ้นอยู่กับระดับการแทนที่ และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา (1, 1.5, 2, 3 และ 4 ชั่วโมง) เมื่อเวลาในการเปิดปฏิกิริยาเชื่อมขวางเพิ่มขึ้น จะทำให้แป้งที่ได้มีอุณหภูมิสูงขึ้น เม็ดแป้งสามารถทนต่อความร้อนและแรงกระทำดีขึ้น แต่ความหนืดใน heating-cooling cycle ลดลง กำลังการพองตัวที่อุณหภูมิต่างๆ ก็ลดลง เลือกแป้งไฮดรอกซีโพรพิลไดสตาร์ชฟอสเฟตที่เม็ดแป้งสามารถควบคุมการดูดน้ำและพองตัวได้ดี ความหนืดในช่วง heating ต่ำ แต่ในช่วง cooling ให้ความหนืดที่สูง เพื่อใช้เป็นสารให้ความข้นหนืดแก่ตัวอย่างอาหารประเภท simulated canned food โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการใช้แป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวโพดธรรมชาติ ซึ่งพบว่า การกระจายความร้อนภายในตัวอย่างที่ใช้แป้งมันสำปะหลังธรรมชาติและแป้งที่ดัดแปรจากแป้งไฮดรอกซีโพรพิลที่มีระดับการแทนที่ 0.047 เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เร็วกว่าตัวอย่างที่ใช้แป้งอื่น นอกจากนี้ตัวอย่างที่ใช้แป้งไฮดรอกซีโพรพิลไดสตาร์ชฟอสเฟตเกิดการเปลี่ยนแปลงความหนืดในระหว่างการเก็บที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 ปี น้อยกว่าตัวอย่างที่ใช้แป้งมันสำปะหลังและแป้งข้าวโพดธรรมชาติ
Other Abstract: The objective of this research was to tailor native tapioca starch by substitution reaction with propylene oxide and then by cross-linking reaction with sodium trimetaphosphate, for use as a thickening agent in low acid canned food. Tapioca starch (40% by dry starch basis, dsb.) was first modified with substitution reaction at pH 11.00±0.10. It was found that temperature (40℃, 50℃), amount of sodium carbonate (0.25, 2.70, %dsb.) and the interaction had significantly effect (p≤0.05) on hydroxypropyl content of the modified starch. At 50℃ amount of sodium carbonate had not significantly effect (p≤0.05) on average hydroxypropyl content. When starch was substituted at 50℃, with 0.25% Na₂Co₃, it found that amount of propylene oxide (5, 7.5, 10, %dsb.), reaction time (6, 12, 24 hrs.) and the interaction significantly increased (p≤0.05) hydroxypropyl content of the substituted starch. The hydroxypropyl starches had lower pasting temperatures and higher viscosity in heating-cooling cycle than native tapioca starch. Swelling power at 65℃ and 75℃ were increased but decreased at 85℃ and 95℃. The substituted starches showed good paste stability when storage at 5℃-7℃. Two hydroxypropyl starches (D.S. 0.047, 0.075), which showed high paste stability when storage at low temperature were chosen to modify with cross-linking reaction. It was found that phosphate content in the modified starch depended on D.S. and reaction time (1, 1.5, 2, 3, 4 hrs.). The hydroxypropyl cross-linked starches had higher pasting temperature and were more resistance to heat and shear force than the uncross-linked starch. Hydroxypropyl cross-linked starches which had low hot paste viscosity and high cold paste viscosity, native tapioca and corn starch were selected as thickening agents in a simulated low acid canned food. The result showed that native tapioca starch and hydroxypropyl cross-linked (D.S. 0.047 starch cross-linked 3 hrs.) had more rapid heat penetration than the others. The products which used hydroxypropyl cross-linked starch showed less viscosity change during storage at room temperature for 1 year than those using tapioca and corn starch.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34419
ISBN: 9745788325
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_je_front.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Anong_je_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Anong_je_ch2.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
Anong_je_ch3.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open
Anong_je_ch4.pdf17.49 MBAdobe PDFView/Open
Anong_je_ch5.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Anong_je_back.pdf6.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.