Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34433
Title: ผลของรูปแบบการกำหนดวันส่งกลับ ที่มีต่ออัตราการตอบแบบสอบถามทางไปรษณีย์
Other Titles: Effects of deadline patterns on the mailed questionnaire response rates
Authors: อนงค์ ลิ้มประไพพงษ์
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตอบแบบสอบถามเมื่อรูปแบบการกำหนดวันส่งกลับต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น ครู-อาจารย์ ที่กำลังปฏิบัติราชการอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2533 จำนวน 420 คน โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นแล้วสุ่ม 2 ขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปให้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งแบบสุ่มเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 70 คน เป็นกลุ่มที่ไม่กำหนดการส่งกลับ 1 กลุ่ม อีก 5 กลุ่ม มีการกำหนดวันส่งกลับทั้งในลักษณะที่ระบุจำนวนวันและใช้การระบุข้อความ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบซีและสถิติทดสอบไคสแควร์ระดับความมีนัยสำคัญของการทดสอบ คือ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. อัตราการตอบแบบสอบถามของกลุ่มที่กำหนดวันส่งกลับที่แน่นอน และกลุ่มที่กำหนดวันส่งกลับโดยใช้การระบุข้อความ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2. อัตราการตอบแบบสอบถามของกลุ่มที่กำหนดวันส่งกลับภายใน 3 วัน 7 วัน และ 14 วัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3. อัตราการตอบแบบสอบถามของกลุ่มที่กำหนดวันส่งกลับโดยใช้การระบุข้อความทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4. อัตราการตอบแบบสอบถามของกลุ่มที่กำหนดวันส่งกลับ คือ กลุ่มที่กำหนดวันส่งกลับภายใน 7 วัน สูงกว่ากลุ่มที่ไม่กำหนดวันส่งกลับ อย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this research was to compare questionnaire response rates with different deadline patterns. The sample of 420 primary school teachers in Bangkok Metropolitan in 1990 were employed as the sample of the study. The sample was randomly devided into 6 groups. Group one has not deadline while the other five groups have some patterns of deadline. Three groups have specified deadline and the other two groups have some cue words for deadline. Questionnaires were mailed to the subjects. Z-test and Chi-square test were used as the tests statistics with .05 level of significance. Results of the research were as follows: 1. The questionnaire response rate of the specified return deadline group and that of return deadline by cue word groups were not different. 2. The questionnaire response rates with specified return deadline three day, seven day and fourteen day were not different. 3. The questionnaire response rates of return deadline by cue word for the two groups were not different. 4. The questionnaire response rate of the specified return deadline was higher than that of non specified return deadline.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34433
ISBN: 9745797014
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anong_li_front.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Anong_li_ch1.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Anong_li_ch2.pdf9.05 MBAdobe PDFView/Open
Anong_li_ch3.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Anong_li_ch4.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Anong_li_ch5.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Anong_li_back.pdf14.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.