Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34445
Title: การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้สื่อมวลชน ในการเผยแพร่ข่าวสาร ของนักประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลกับภาคเอกชน
Other Titles: A comparative study of factors influencing the use of mass in distributing information of public relations officers in the public and private sectors
Authors: อนงค์ลักษณ์ แพทยานันท์
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1. ปัจจัยการเลือกใช้สื่อมวลชนแต่ละประเภท ในการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์ระดับบริหาร 2. เปรียบเทียบปัจจัยการเลือกใช้สื่อมวลชนในการเผยแพร่ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์ระดับบริหารในหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานเอกชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ 90 ราย ซึ่งเป็นผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลจำนวน 40 ราย และผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ภาคเอกชน จำนวน 50 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลส่วนใหญ่มีอายุ 36-40 ปี ขณะที่ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ภาคเอกชน ส่วนใหญ่มีอายุ 26-30 ปี โดยทั้งผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลและภาคเอกชน มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและสำเร็จการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลและภาคเอกชนส่วนมากมีประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี ในด้านปัจจัยการเลือกใช้สื่อมวลชนในการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ พบว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลและภาคเอกชน คำนึงถึงตัวแปรด้านต่างๆ บางด้านแตกต่างกัน ก่อนที่จะใช้สื่อมวลชนแต่ละประเภท โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาคเอกชนคำนึงถึงตัวแปรด้านงบประมาณสูงกว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาล ก่อนที่จะเลือกใช้สื่อมวลชนประเภทต่างๆ รวมทั้งโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ สำหรับตัวแปรด้านอื่นๆ นั้น ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาคเอกชน คำนึงถึงตัวแปรด้านข้อมูลการใช้สื่อของคู่แข่งขันสูงกว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาล ก่อนที่จะเลือกใช้สื่อมวลชนประเภทต่างๆ และก่อนที่จะเลือกใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ วีดีโอ สไลด์มัลติวิชั่น ขณะที่ตัวแปรด้านอื่นๆ นั้น ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้น จากการวิจัยพบว่า ฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาคเอกชนคำนึงถึงตัวแปรด้านราคาซื้อสื่อเพื่อเผยแพร่สูงกว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาล ก่อนที่จะเลือกใช้สื่อวิทยุ ภาพยนตร์ วีดีโอ สไลด์มัลติวิชั่น และหนังสือพิมพ์ โดยตัวแปรด้านอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามผลการวิจัยยังพบว่า ฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลคำนึงถึงตัวแปรด้านความคุ้นเคยกับสื่อมวลชนแต่ละประเภทสูงกว่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาคเอกชน ก่อนที่จะเลือกใช้สื่อโทรทัศน์ สำหรับตัวแปรด้านอื่นๆ นั้น ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันแต่อย่างใดระหว่างฝ่ายประชาสัมพันธ์ภาครัฐบาลกับภาคเอกชน
Other Abstract: This research was aimed at which factors influencing the use of mass media in distributing of public relations officers. Moreover, a comparative study of those factors in the public and private sectors. Sample size of 90 public relations officers divided into two groups, one from 40 governmental officers and other from 50 private officers was used for data collection. It was found that most of public relations officers were female. As for age, most of the governmental officers were 36-40 years old. While most of private officers were 26-30 years old. However, Both of them mostly graduated from communication arts field at university level. Moreover, as for experience. Research revealed that both of them had at least 5 years of experience. In regard to the factors influencing the use of mass media in distributing information, research explained budget factor influenced private public relations officers’s mass media using especially of television, print and newspaper more than governmental public relations officers’s. Moreover, competitor factor also influenced private public relations’s radio, television, print, film video and slide multivision using more than governmental public relations’s. Furthermove, media expenditure concerned on the use of radio, film film, video, slide multivision and newspaper influenced private public relations in more than governmental public relations. However, influenced in television u using of governmental public relations officers more than private public relations officers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34445
ISBN: 9745793272
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anongluck_pa_front.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
Anongluck_pa_ch1.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Anongluck_pa_ch2.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open
Anongluck_pa_ch3.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Anongluck_pa_ch4.pdf15.38 MBAdobe PDFView/Open
Anongluck_pa_ch5.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Anongluck_pa_back.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.