Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34456
Title: ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี : กรณีโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์
Other Titles: Just-in-time System : a case of a battery manufacturing factory
Authors: อนวัชช์ จรปัญญานนท์
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับปรุงระบบการผลิตในการประกอบแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นการนำระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้โดยมีเทคนิคการทำงานแบบยืดหยุ่นพร้อมกระบวนการกำหนดงานระหว่างผลิตสูงสุดในการที่จะช่วยปรับสมดุลย์ในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีการนำระบบคัมบังมาใช้เพื่อบริหารวัสดุระหว่างผลิต และมีการจัดทำเอกสารมาตรฐานการทำงานตลอดทุกขั้นตอน ผลจากการประยุกต์ใช้และพัฒนาระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี ในการปรับปรุงสายงานประกอบแบตเตอรี่พอสรุปได้ดังนี้ 1. ความสมดุลในการทำงานของแรงงานในส่วนการผลิตโครงสร้างของแบตเตอรี่ดีขึ้นโดย 1.1 งานระหว่างผลิตที่สถานีเชื่อมหวีต่อกะลดลงจาก 211 ชิ้น เป็น 23 ชิ้น หรือคิดเป็น 89.10% 1.2 อัตราการผลิตสูงขึ้นจากเดิม 257 ลูก/กะ เป็น 316 ลูก/กะ หรือคิดเป็น 22.96% 1.3 การใช้ประโยชน์แรงงานสูงขึ้น 25.68% 1.4 รอบระยะเวลาการผลิตลดลงจาก 1.60 นาที/ลูก เป็น 1.30 นาที/ลูก หรือคิดเป็น 18.75% 2. ประสิทธิภาพการผลิตในส่วนการประกอบแบตเตอรี่ด้วยเครื่องจักรสูงขึ้นโดย 2.1 อัตราการผลิตสูงขึ้นจาก 751 เป็น 827 ลูก/กะ หรือคิดเป็น 10.12% 2.2 การใช้ประโยชน์ของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น 9.78% 3. การบริหารวัสดุมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3.1 มูลค่าวัสดุคงคลังลดลง 68.77% 3.2 พื้นที่ในการจัดเก็บวัสดุคงคลังลดลง 28.33% 4. อัตราผลิตภาพของแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 6.47 ลูก/ชั่วโมงแรงงาน เป็น 7.12 ลูก/ชั่วโมงแรงงาน หรือเพิ่มขึ้น 10.05%
Other Abstract: To improve the production system for assembling the sedan battery, a Just-In-Time System was implemented with the Flexible Employee Technique and the Maximum Work In Process System to obtain work balance. Additionally, the Kanban System was used to help managing raw materials in process. Moreover, the work standard documentation was narrated for all steps of a battery in the assembly line. The application and development of the Just-In-Time System to improve the sedan battery assembly lines are resulted as follows: 1. The work balance of manufacturing structure of battery by labor increased by 1.1 Work in process at group burning station decreased from 211 pieces/shift to 23 pieces/shift or decreased by 89.10% 1.2 Production rate increased from 257 pieces/shift to 316 pieces/shift or increased 22.96% 1.3 Machine utilization increased by 25.68% 1.4 Production cycle time decreased from 1.60 minutes/piece to 1.30 minutes/piece or decreased by 18.75% 2. Production efficiency of battery assembling by machine increased by 2.1 Production rate increased from 751 to 827 pieces/shift or increased by 10.12% 2.2 Machine utilization increased by 9.78% 3. Efficiency of raw materials managing increased by 3.1 Value of raw material inventory decreased by 68.77% 3.2 Area of raw material inventory decreased by 28.33% 4. Labor productivity increased from 6.47 pieces/labor-hour to 7.12 pieces/labor-hour or increased by 10.05%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34456
ISBN: 9746336932
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anawat_jo_front.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_ch1.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_ch2.pdf17.99 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_ch3.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_ch4.pdf8.95 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_ch5.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_ch6.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Anawat_jo_back.pdf26.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.