Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34458
Title: | การปรับปรุงคุณภาพเศษถ่านหินโดยวิธีคาร์บอนไนเซชัน |
Other Titles: | Quality improvement of coal fines by carbonization |
Authors: | อนัญญา พจนารถ |
Advisors: | กัญจนา บุณยเกียรติ สมชาย โอสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ถ่านหิน -- คาร์บอไนเซชัน คาร์บอไนเซชัน พลังงานทดแทน การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทำเหมืองถ่านหินมีเศษถ่านเหลือทิ้งประมาณร้อยละ 35 ของที่ขุดได้ จึงสนใจนำมาศึกษาการปรับปรุงคุณภาพโดยวีคาร์บอไนเซชัน นำไปอัดก้อนผลิตเป็นถ่านสังเคราะห์หรือถ่านไร้ควัน ทั้งยังได้ผลิตผลพลอยได้คือน้ำมันทาร์และก๊าซถ่านหิน โดยบดเศษถ่านหินจากเหมืองแม่ตีบ จังหวัดลำปาง แยกขนาดนำมาศึกษา 4 ช่วงขนาด คือ 2-7 มม. 1-2 มม. 0.5-1.0 มม. และ 0.25-0.50 มม. คาร์บอไนซ์ในรีทอร์ทมาตรฐานแบบฟิชเชอร์ที่อุณหภูมิ 300-1,000 องศาเซลเซียส ทุกระดับ 100 องศาเซลเซียส อัตราการให้ความร้อน 10-25 องศาเซลเซียสต่อนาที หาสภาวะและขนาดของเศษถ่านหินที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์จากปริมาณและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์แล้วนำมาคาร์บอไนซ์ในรีทอร์ทขนาดห้องปฏิบัติการเพื่อผลิตถ่านสังเคราะห์อัดก้อน ผลการคาร์บอไนซ์ในรีทอร์ทแบบฟิชเชอร์ พบว่าช่วงขนาดที่เหมาะสมคือ 0.5-7.0 มม. คาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 600 และ 700 องศาเซลเซียส นำมาทดลองผลิตถ่านชาร์ในรีทอร์ทขนาดห้องปฏิบัติการ ซึ่งให้ปริมาณถ่านชาร์และก๊าซถ่านหินใกล้เคียงกับการทดลองในรีทอร์ทแบบฟิชเชอร์อัดก้อนถ่านชาร์โดยใช้ตัวประสานแป้งเปียกร้อยละ 25 หรือร้อยละ 5.8 ของแป้งมันสำปะหลังในถ่านผลิตถ่านสังเคราะห์รูปไข่ด้วยเครื่องอัดระบบ Double Ring Roll ส่วนตัวประสานแบลคลิกเคอร์ต้องใช้แรงอัดสูงและความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียสอัดเป็นก้อนทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว โดยใช้แบลคลิกเคอร์คิดเป็นปริมาณของแข็งทั้งหมดร้อยละ 5.6 ด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิกส์ ถ่านสังเคราะห์ทั้ง 4 ตัวอย่างนี้ให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ในเตาอั้งโล่เท่ากับถ่านไม้คือร้อยละ 28 และถ่านสังเคราะห์ทั้ง 2 อุณหภูมิไม่ให้ความแตกต่างอย่างชัดเจน สามารถใช้ทดแทนถ่านไม้ได้ถึงแม้ว่ามีค่าความร้อนน้อยกว่าถ่านไม้ประมาณร้อยละ 35 แต่ข้อดีของถ่านสังเคราะห์คือมีรูปร่างเหมือนกันทำให้สะดวกในการใช้งานและขนส่ง เถ้ารวมตัวเป็นก้อนไม่ปลิวฟุ้งเหมือนถ่านไม้ ทำให้บริเวณที่เผาไหม้สะอาดและไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะเช่นการเผาไหม้ถ่านหิน |
Other Abstract: | In mining, about 35% coal produced is left as coal fines. It is then of interest to improve the quality of coal fines by carbonization to produce a better fuel. During production tar oil and coal gas are given off as byproducts. Four size ranges of coal fines (2-7 mm., 1-2mm., 0.5-1.0 mm. and 0.25-0.50 mm.) from Mae Tip mine, Lampang Province were carbonized in a Modified Fischer Assay retort at temperatures from 300 to 1,000 ℃ at 100 ℃ intervals and a rate about 10-25 ℃/min. The optimum condition obtained was employed further in a laboratory scale retort. The char produced was later briquetted to produce smokeless fuel. Optimum results from Fischer Assay retorting, i.e., coal fines of 0.5-7.0 mm. and 600 and 700 ℃ were chosen to produce char in a laboratory scale retort which produced nearly the same char and coal gas yields as in Fischer Assay retort. Two methods were used to produce briquettes from coal char. One employs a double ring roll machine with starch as a binder (25% paste or 5.8% starch), producing ovoid briquettes. The other employs a hydraulic press (105 MN/m² and 100 ℃ Celsius) with black liquor as a binder (5.6% total solid content) producing l-in diameter cylindrical briquettes and wood charcoal as reference fuel in a bucket stove show little difference between them. Under identical conditions, thermal efficiency is in the range of 28%. Although smokeless fuels produced have 35% lower heating values than that of wood charcoal, regarding its similar form and sizes, it is clearly a better fuel for transport and use. The smokeless fuel produces a better environment because its ash is not friable but adheres to its original form. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34458 |
ISBN: | 9745644153 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anunya_po_front.pdf | 4.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_ch1.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_ch2.pdf | 9.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_ch3.pdf | 10.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_ch4.pdf | 11.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_ch5.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_ch6.pdf | 848.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anunya_po_back.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.