Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34487
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สวัสดิวงษ์-
dc.contributor.authorอนิรุธ ชุมสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-09T10:45:36Z-
dc.date.available2013-08-09T10:45:36Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745827223-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34487-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดของนิสิตฝึกสอนในการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในด้านประเภทของข้อผิดพลาด และวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดของนิสิตฝึกสอน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตฝึกสอน วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงเท่ากับ .85 ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและบันทึกเสียงพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาด จำนวน 105 ครั้ง หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในด้านประเภทของข้อผิดพลาดที่นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการแก้ไข พบว่านิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยวาจาคิดเป็นร้อยละสูงสุดในการแก้ไขข้อผิดพลาดประเภทการนำภาษาไปใช้ให้เหมาะสม พฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดคิดเป็นร้อยละรองลงมาได้แก่ การแก้ไขข้อผิดพลาดประเภทคำศัพท์ และพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดคิดเป็นร้อยละน้อยที่สุดได้แก่ การแก้ไขข้อผิดพลาดประเภทการออกเสียง 2. ในด้านพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดที่นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการแก้ไขในแต่ละประเภทของข้อผิดพลาดว่า 2.1 ประเภทการออกเสียง นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการเพิกเฉยต่อข้อผิดพลาดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการให้คำตอบที่ถูกต้องทันที และพฤติกรรมที่นิสิตฝึกสอนไม่ได้ใช้แก้ไขได้แก่ การปรับคำถามให้ง่ายขึ้น การเว้นระยะให้ผู้เรียนคิดก่อนแก้ไขข้อผิดพลาด และการประเมินความเข้าใจ 2.2 ประเภทคำศัพท์ นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการชี้แนะให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการอธิบายเพิ่มเติม และพฤติกรรมที่นิสิตฝึกสอนไม่ได้ใช้แก้ไขได้แก่ การปรับคำถามให้ง่ายขึ้น และการประเมินความเข้าใจ 2.3 ประเภทไวยากรณ์นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการให้คำตอบที่ถูกต้องทันทีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการชี้แนะให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาด และพฤติกรรมที่นิสิตฝึกสอนไม่ได้ใช้แก้ไขได้แก่ การปรับคำถามให้ง่ายขึ้น และการประเมินความเข้าใจ 2.4 ประเภทเนื้อหา นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการชี้แนะให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการพูดซ้ำข้อผิดพลาด และพฤติกรรมที่นิสิตฝึกสอนไม่ได้ใช้แก้ไขได้แก่ การชมเชยเมื่อผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดได้ถูกต้อง และการประเมินความเข้าใจ 2.5 ประเภทการนำภาษาไปใช้ให้เหมาะสม นิสิตฝึกสอนมีพฤติกรรมการพูดซ้ำข้อผิดพลาดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พฤติกรรมการชี้แนะให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาด พฤติกรรมการอธิบายเพิ่มเติม พฤติกรรมการให้คำตอบที่ถูกต้องทันที และพฤติกรรมที่นิสิตฝึกสอนไม่ได้ใช้แก้ไขได้แก่ การปรับคำถามให้ง่ายขึ้น การเว้นระยะให้ผู้เรียนคิดก่อนแก้ไขข้อผิดพลาด การชมเชยเมื่อผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดได้ถูกต้อง และการประเมินความเข้าใจ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the error correction behaviors of students teachers in teaching English subject at the lower secondary education level in the aspects of the types of errors and the types of error corrections used by the student teachers. The samples were 35 student teachers majoring English in the Faculty of Education, Chulalongkorn University selected by purposive sampling technique. The research instrument, constructed by the researcher and approved the content validity by the authorities, was an error correction behavior observation form with the reliability of .85. The researcher collected the data by observing and audiotape recording the error correction behaviors totaling 105 periods of teaching. The data were then analysed by means of percentage. The findings were as follows: 1. In the aspect of the types of errors which the student teachers showed their error correction behaviors, it was found that the percentage of the students verbal error correction behaviors towards the appropriateness errors was the most, the vocabulary errors was the second, and the pronunciation errors was the least. 2. In the aspect of the error correction behaviors used by the student teachers in each type of errors, the following behaviors were found: 2.1 For the pronunciation errors, the student teachers ignored the errors the most, and immediately gave the right answers the second. The correction behaviors never used by the student teachers were paraphrasing the questions, waiting time, and evaluating students’ understanding. 2.2 For the vocabulary errors, the student teachers cued the students to correct the errors the most, and additionally explained how to correct the errors the second. The correction behaviors never used by the student teachers were paraphrasing the questions, and evaluating students’ understanding. 2.3 For the grammar errors, the student teachers immediately gave the right answers the most, and cued the students to correct the errors the second. The correction behaviors never used by the student teachers were paraphrasing the questions, and evaluating students’ understanding. 2.4 For the content errors, the student teachers cued the students to correct the errors the most, and repeated the errors, the second. The correction behaviors never used by the student teachers were praising the students’ corrections, and evaluating students’ understanding. 2.5 For the appropriateness errors, the student teachers repeated the errors the most, and cued the students to correct the errors, additionally explained how to correct the errors, immediately gave the right answers the second. The correction behaviors never used by the student teachers were paraphrasing the questions, waiting time, praising the students’ corrections, and evaluating students’ understanding.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมการแก้ไขข้อผิดพลาดของนิสิตฝึกสอน ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeA study of error correction behaviors of student teachers in teaching english subject at the lower secondary education levelen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anirut_ch_front.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open
Anirut_ch_ch1.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Anirut_ch_ch2.pdf27.53 MBAdobe PDFView/Open
Anirut_ch_ch3.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Anirut_ch_ch4.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Anirut_ch_ch5.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open
Anirut_ch_back.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.