Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/344
Title: การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: A proposed model of leadership traits development of nursing college administrators under the Ministry of Public Health
Authors: เบญจพร แก้วมีศรี, 2505-
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Amornchai.T@chula.ac.th
Subjects: การพยาบาล--การศึกษาและการสอน
วิทยาลัยพยาบาล
ผู้นำ
ภาวะผู้นำ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลจำนวน 157 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 32 คน และรองผู้อำนวยการ 125 คน การศึกษาประกอบด้วย การศึกษาบทบาท พฤติกรรม และคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล การสร้างและประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ ของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาบทบาท พฤติกรรม และคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล พบว่า คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้นำในแต่ละบทบาทมีจำนวน 40 คุณลักษณะ ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ ของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ขั้นการกำหนดคุณลักษณะ ภาวะผู้นำที่ต้องพัฒนา ขั้นการเตรียมการเพื่อการพัฒนา ขั้นการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ ขั้นการประเมินผลการพัฒนา ขั้นการปฏิบัติซ้ำ และขั้นการประเมินผลการดำเนินการ โดยในแต่ละขั้นพัฒนาจะกล่าวถึงแนวคิด สาระการพัฒนา วัตถุประสงค์ ระยะเวลา กิจกรรมพัฒนา และผลที่ต้องการ ในขั้นการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำเป็นขั้นของการปูพื้นฐาน สร้างเจตคติทางบวกและเตรียมความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ ขั้นการกำหนดคุณลักษณะภาวะผู้นำที่ต้องพัฒนา เป็นขั้นของการประเมินคุณลักษณะภาวะผู้นำ และความจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ ขั้นเตรียมการเพื่อการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ เป็นขั้นของการปฐมนิเทศและเตรียมสถานการณ์การพัฒนา ขั้นการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเป็นขั้นของการดำเนินการ เพื่อการพัฒนาความรู้ เจตคติและทักษะเพื่อให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาภาพลักษณ์ของผู้บริหารวิทยาลัยที่ พึงประสงค์ การพัฒนาความรู้ทางการบริหาร การพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหาร และการฝึกปฏิบัติแบบบูรณาการ ขั้นการประเมินผลการพัฒนาเป็นขั้นของการประเมินความเหมาะสม ของคุณลักษณะภาวะผู้นำที่ได้รับการพัฒนา ขั้นการปฏิบัติซ้ำเป็นขั้นของการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ในกรณีที่พบว่าคุณลักษณะภาวะผู้นำที่พัฒนาแล้วไม่เหมาะสม ขั้นการประเมินผลการดำเนินการเป็นขั้นของ การวิเคราะห์กระบวนการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนและผลการดำเนินการทั้งหมด
Other Abstract: To propose a model on leadership traits development of nursing college administrators under the Ministry of Public Health. The research samples included 157 nursing college administrators, 32 directors and 125 vice-directors. The study consisted of 2 parts. Part one included study of roles, behaviors, and traits of nursing college administrators and part two was related to the development and verification of a model on leadership traits development of nursing college administrators under the Ministry of Public Health. The study of roles, behaviors, and traits of nursing college administrators revealed 40 leadership traits which were suitable for their roles. The model of leadership traits development consists of 7 stages. There were concept of leadership, leadership traits design, preparation of development, operation, post-development assessment, re-operation, and operational analysis. Each stage consisted of concept of development, content of development, objective, duration, trait development method, and result. The concept of leadership stage was to attain positive attitude and prepare leadership knowledge. The leadership traits design stage was to evaluate and assess leadership traits development. The preparation of development stage was to orient and prepare methods and situations for leadership traits development. The operation stage was to develop leadership knowledge, attitude, and skills in order to develop leadership traits need, which was composed of administrator image, knowledge related to management, management ability, and integration practice. The post-development assessment stage was to evaluate the suitability of developed leadership traits. The re-operation stage was to re-develop leadership knowledge, attitude, and skills that were inappropriately developed in the operation stage. Finally the operational analysis stage was to analyze the product of the operation in every stage, including the analysis of the whole process of the model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/344
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.674
ISBN: 9741716818
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.674
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjaporn.pdf9.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.