Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34590
Title: องค์กรประชาชนกับการบริหารการพัฒนาชนบท
Other Titles: People organization and rural development administration
Authors: อลงกต วรกี
Advisors: พนม ทินกร ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษานโยบายการพัฒนาชนบทแนวใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 5 ด้านปัญหาและอุปสรรคขององค์กรประชาชนที่จัดตั้งโดยรัฐบาล อันประกอบด้วย คณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติงานพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) และองค์กรประชาชนที่จัดตั้งโดยประชาชนเองในด้านคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในการบริหารการพัฒนาชนบท ข้อมูลใช้ประกอบการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาประกอบด้วย ข้อมูล 2 ส่วน อันมีข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและข้อมูลจากเอกสารชั้นรอง ข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ขององค์กรประชาชนต่อการบริหารการพัฒนาชนบท โดยเฉพาะโครงสร้างบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบขององค์กรประชาชนที่จัดตั้งโดยรัฐบาล ส่วนเอกสารชั้นรองซึ่งมุ่งศึกษาวิจัยได้ศึกษาจากเอกสารการบริหารโครงการพัฒนาประสิทธิภาพสร้างแผนตำบลและอำเภอ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ดำเนินการใน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันมี จังหวัดยโสธร, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น ซึ่งศึกษาอุปสรรค องค์กรประชาชนต่อการบริหารการพัฒนาชนบท การศึกษาวิจัยพบว่าโครงสร้างองค์ประกอบขององค์กรประชาชน อันได้แก่ กสต., กม. และ คปต. ยังมีความซ้ำซ้อนในเรื่องของตำแหน่งบุคคลและความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งสมาชิกองค์การทำให้การบริหารการพัฒนาชนบทขององค์กรประชาชนดังกล่าวยังด้อยประสิทธิภาพ สำหรับองค์กรประชาชนที่ประชาชนจัดตั้งเอง อันมีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาหมู่บ้านเป็นองค์กรที่สามารถบริหารกิจการกองทุนเพื่อการบริหารการพัฒนาชนบทได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะความซ้ำซ้อนของโครงสร้างองค์กรมีน้อย
Other Abstract: The major purpose of this study Aimed to analyze new rural development administration policies, which were implemented during the Fourth and Fifth National Social and Economic Development Plans. The study focuses on the problems and obstacles of the different types of the People Organization. One was established by the government, comprising Tumbol council Committee, Village Council Committee and Advissary Group of Tumbol Implementation for Rural Development, whereas the other was launched by the people as a Village Development Fund. The information utilized for the descriptive analysis was gathered from two sources : primary and secondary data. The primary data such as academic researches, etc. was employed to analyze the relationships between the People Organization and Rural Development Administration, expecially in terms of their structures, roles, and responsibilities. The Secondary source, obtained from Tumbol and District Development Planning Project which implemented in five provices : Yasothorn, Mahasarakram, Sri Sakete, Ubolrachathani and Khorn Khean, was utilized to study the problems and obstacles of the People Organization. This study Founded that structure and component of the People Organization were overlapped in position and misunderstanding of role and Function which brought to the uneffective administration of the people organization, However it was founded that the village development fund, one of the people organization was effective in budgeting allocation for rural development project.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34590
ISBN: 9745683949
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Alongkot_wo_front.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Alongkot_wo_ch1.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Alongkot_wo_ch2.pdf18.33 MBAdobe PDFView/Open
Alongkot_wo_ch3.pdf15.11 MBAdobe PDFView/Open
Alongkot_wo_ch4.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Alongkot_wo_back.pdf58.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.