Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34631
Title: พฤติกรรมของเหล็กและแมงกานีสในเอสทูรีแม่น้ำบางปะกง
Other Titles: Behavior of iron and manganese in the Bangpakong estuary
Authors: อ้อยอัจฉรา เพ็ญโรจน์
Advisors: กัลยา วัฒยากร
มนุวดี หังสพฤกษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของเหล็กและแมงกานีสทั้งในส่วนที่ละลายอยู่ในน้ำและอยู่เป็นตะกอนแขวนลอยในแม่น้ำและปากแม่น้ำบางปะกง ต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มโดยการสำรวจเก็บตัวอย่างน้ำจากเอสทูรีแม่น้ำบางปะกงในช่วงฤดูน้ำมาก (พฤศจิกายน 2527) และฤดูน้ำน้อย (พฤษภาคม 2528) และโดยการทดลองผสมผสานน้ำจืดกับน้ำทะเลเพื่อให้ได้น้ำที่มีความเค็มต่าง ๆ ใกล้เคียงกับน้ำตัวอย่างที่เก็บจากแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาอิทธิพลของจุลินทรีย์ และโลหะหนักประเภททองแดง สังกะสี แคดเมียม ตะกั่ว ที่มีต่อพฤติกรรมของเหล็กและแมงกานีสในน้ำที่ผสมผสานระหว่างน้ำจืดกับน้ำทะเล ซึ่งพบว่าเหล็กในฤดูน้ำมากจะมีพฤติกรรมแบบ non-conservative โดยมีการแยกตัวจากน้ำเป็นส่วนแขวนลอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงความเค็ม 0 ถึง 10 ppt. สอดคล้องกับการทดลองผสมผสานน้ำจืดกับน้ำทะเล และในฤดูน้ำน้อยก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกันแต่ไม่ชัดเจนเท่า สำหรับแมงกานีสส่วนที่ละลายน้ำมีพฤติกรรมแบบ non-conservative โดยมีการเพิ่มขึ้นทั้งฤดูน้ำมากและฤดูน้ำน้อย ซึ่งต่างไปจากการทดลองผสมผสานน้ำจืดกับน้ำทะเลในห้องปฏิบัติการที่แมงกานีสมีการแยกตัวเป็นส่วนแขวนลอยอย่างชัดเจนในช่วงความเค็ม 0 ถึง 10 ppt. จุลินทรีย์และโลหะหนักประเภทอื่นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเหล็กและแมงกานีส อย่างไรก็ตามโลหะหนักประเภทอื่นมีผลทำให้ปริมาณการแยกตัวของเหล็กจากน้ำเป็นสารแขวนลอยเกิดขึ้นได้น้อยลง สำหรับแมงกานีสปริมาณการแยกตัวจากน้ำจะเกิดได้มากขึ้นในช่วงความเค็ม 0 ถึง 10 ppt. และเกิดได้น้อยลงในช่วงความเค็มมากกว่า 10 ppt. ขึ้นไป
Other Abstract: The behavior of dissolved and particulate iron and manganeses were studied as a function of salinity in the Bangpakong Estuary. Field samplings were made during the flood (November, 1984) and dry (May, 1985) seasons, and experiments concerning mixing of river water and seawater were made in various rations to create mixtures of varying salinities as sampled in the field. The influence of micro-organisms and heavy metals such as copper, zinc, cadmium and lead over iron and manganese were also studied. Iron showed removal behavior, between salinity 0-10 ppt., during the flood season similar to the results from the mixing experiments, but the trend for dry season was less clear. In contrast, dissolved manganese showed addition behavior during those two seasons, while the results from the mixing experiments showed removal behavior between salinity 0-10 ppt. Laboratory experiments showed that micro-organisms and heavy metals had no influence on behavior of iron and managanese. However, the formation of particulate iron was decreased by the addition of other heavy metals into the water for all salinity, while the formation of particulate manganese was increased when the salinity was between 0-10 ppt. and then decreased when the salinity was higher than 10 ppt.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34631
ISBN: 9745680443
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aoyatchara_pe_front.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch2.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch3.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch4.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch5.pdf18.35 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch6.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_ch7.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Aoyatchara_pe_back.pdf10.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.