Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34633
Title: การบำบัดน้ำกากส่าโดยกระบวนการยูเอเอสบีที่อุณหภูมิสูง
Other Titles: Treatment of distillery slops by thermophilic UASB process
Authors: อะเคื้อ บุญญสิริ
Advisors: สุเมธ ชวเดช
เพียรพรรค ทัศคร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาพการทำงานที่เหมาะสมสำหรับบำบัดน้ำกากส่าในระบบหมักยูเอเอสปี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) ที่อุณหภูมิสูง (55 °ซ.) ถังหมักที่ใช้ทดลองเป็นถังเหล็กปลอดสนิมสองชั้น ชั้นในเป็นถังหมัก มีปริมาตรใช้งาน 34.7 ล. สูง 172 ซม. และเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 15 ซม. ชั้นนอกเป็นน้ำอุ่นหล่อ (water jacket) เพื่อใช้ควบคุมอุณหภูมิถังหมัก น้ำเสียที่ใช้ทดลองเป็นน้ำกากส่าจากโรงงานสุราซึ่งมีความเข้มข้นสารอินทรีย์สูง (113,280 มก.ซีโอดี/ล.) และปริมาณสารพิษสูง (K⁺= 10,000 มก./ล. Na⁺= 5,000 มก./ล. SO₄²⁻=5,525 มก./ล.) จากผลการทดลองพบว่าอัตราป้อนสารอินทรีย์ที่เหมาะสมในการกำจัดสารอินทรีย์และผลิตก๊าซชีวภาพคือ 5.2 และ 7.1 กก.ซีโอดี/ม.³วัน ตามลำดับ ระบบหมักยูเอเอสบี นี้สามารถรับอัตราป้อนสารอินทรีย์สูงสุดได้ 10.1 กก.ซีโอดี/ม.³วัน โดยมีประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ 0.225 ม.³/กก.ซีโอดีถูกกำจัด 0.099 ม.³/กก.ซีโอดีเข้า 1.003 ม.³/วันม.³ ถังหมักก๊าซชีวภาพประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 39% ก๊าซมีเธนและก๊าซอื่น ๆ 61% มีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี 44% เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองนี้กับระบบยูเอเอสบีขนาดใช้งานจริงที่อุณหภูมิ 30° ซ. ซึ่งมีอัตราป้อนสารอินทรีย์สูงสุด 3-4 กก.ซีโอดี/ม.³วัน สามารถสรุปได้ว่าระบบยูเอสบีที่อุณหภูมิสูงมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำกากส่าได้สูงกว่า
Other Abstract: The purpose of this experimental study was to determine the optimum operating conditions for treating distillery waste in a thermophilic UASB system. The studied UASB reactor was made from stainless steel with 34.7 litre (working volume), 172 cm. in height and 15 cm. inside diameter, with a water jacket to maintain the reactor temperature at 55ºc. The studied waste was distillery slops containing of high contents of organic (113,280 mg.COD/1) and toxic substances K⁺= 10,000 mg./l. Na⁺= 5,000 mg./l. SO₄²⁻=5,525 mg./l.). From the experimental results, it was concluded that the optimum organic loadings were 5.2 and 7.1 kg.COD/m3d. for maximum COD removal and maximum biogas production, respectively. Under maximum organic loading of 10.1 kg.COD/m.3d., the UASB system yielded 0.225 m.3/kg.COD removed, 0.099 m.3/kg.COD applied or 1.003 m.3/m.3d. The biogas produced contained 39% carbon dioxide and 61% of methane and other gases. At this maximum COD loading, the studied system yielded a COD removal of 44%. By comparison with the full-scale UASB operated at 30ºC., which had a maximum COD loading of 3-4 kg.COD/m.3d., it could be concluded that the thermophilic UASB provided better treatment for distillery waste than the UASB system operated at ambient temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34633
ISBN: 9745839434
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akuar_bo_front.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Akuar_bo_ch1.pdf710.82 kBAdobe PDFView/Open
Akuar_bo_ch2.pdf18.08 MBAdobe PDFView/Open
Akuar_bo_ch3.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Akuar_bo_ch4.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open
Akuar_bo_ch5.pdf860.56 kBAdobe PDFView/Open
Akuar_bo_back.pdf10.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.