Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34637
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณา ปูรณโชติ | |
dc.contributor.author | อัครชิต ทีฆะทิพย์สกุล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-08-11T13:18:04Z | |
dc.date.available | 2013-08-11T13:18:04Z | |
dc.date.issued | 2530 | |
dc.identifier.isbn | 9745680559 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34637 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของนิสิตที่ศึกษาในภาควิชาต่างกัน 4. เพื่อศึกษาตัวประกอบสำคัญของแรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนิสิตบัณฑิตศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2529 จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างแล้วรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ด้วย ค่าตัวกลางเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ทดสอบความแตกต่างของตัวกลางเลขคณิตโดยใช้สถิติที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีตูกี และวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบสำคัญแบบมีการคำนวณซ้ำต่อและหมุนตัวประกอบแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม เอส พี เอสเอส ผลการวิจัยมีดังนี้คือ 1. แรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต อยู่ในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ความต้องการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต ต้องการความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในงานที่จะปฏิบัติต่อไป และ ต้องการความรู้วิชาการใหม่ๆ ที่ทันสมัย 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลดังนี้ 2.1 แรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาระหว่างนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาค แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2 แรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาระหว่างนิสิตชาย กับนิสิตหญิง นิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตก่อนเข้าศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตมาแล้วไม่เกิน 3 ปี กับ มากกว่า 3 ปี นิสิตที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรปริญญาบัณฑิตน้อยกว่า 3.00 กับ ตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป นิสิตที่มีประสบการณ์ในการทำงาน กับไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน และ นิสิตที่มีงานทำ กับไม่มีงานทำ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. นิสิตทั้ง 13 ภาควิชามีแรงจูงใจต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันทีละคู่พบว่า นิสิตภาควิชาพลศึกษากับนิสิตภาควิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, นิสิตภาควิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) กับนิสิตภาควิชาพลศึกษา, และนิสิตภาควิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) กับนิสิตภาควิชาประถมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ตัวประกอบที่สำคัญที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 8 ตัวประกอบคือ (1)คุณภาพของอาจารย์และการจัดการศึกษา (2)ความต้องการปริญญามหาบัณฑิต (3)สาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการของสังคม (4)ความรู้ (5)สาขาวิชาที่นิสิตมีความสามารถเรียนสำเร็จได้ (6)สาขาวิชาที่มีความสามารถนำไปใช้ (7)สาขาวิชาที่ตรงกับความถนัดของนิสิต และ (8)เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัย ตัวประกอบเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจของนิสิตบัณฑิตศึกษาได้ร้อยละ 42.6 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were as follow: 1. To study the graduate students’ motives toward entering a Master Degree Programme at the Faculty of Education, Chulalongkorn University. 2. To compare the graduate students’ motives toward entering a Master Degree Programme between graduate students with different personal status. 3. To compare the graduate students’ motives toward entering a Master Degree Programme among graduate students in different depratments. 4. To study the essential factors related to the graduate students’ motives toward entering a Master Degree Programme at the Facculty of Education, Chulalongkorn University. The samples used in this research were 410 first year graduate students of the Faculty of Education, Chulalongkorn University, who enrolled in the first semester of academic year 1986. There are 12 Departments 24 Fields of Study. The questionnaire and interview schedule were used for collecting data from the samples, then the data were analyzed with the computer programme SPSS-X. The statistical methods used for analyzing the data were the arithmetic mean, the standard deviation, the coefficient of variation, the t-test, the one-way analysis of variance with the Tukey’s post hoc comparison and the Factor analysis method by Principal Factor Method with iteration and VarimaxRotation. The results of this research were as follow: 1. The first three highest orders of the graduate students’ motives toward entering a Master Degree Programme were Need for a Master Degree, Need for a new knowledge to use for work and Need for a uptodate knowledge. 2. The results of comparing the graduate students’ motives were as follows: 2.1 The motives of students who graduated from University in regional part and central part were different at the .05 level of significance. 2.2 The motives of students who differed in sex, time after graduation of Bachelor’s Degree, grade point average, work experience and work condition were not different at the .05 level of significance. 3. There were significant differences among students’ motives of 13 departments. After comparing each pair of mean score there were differences between the departments of Physical Education and In-formal Education, Secondary Education (Social Sciences) and Physical Education, and Secondary Education (Social Sciences) and Primary Education at the .05 level of significance. 4. The eight factors related to the graduate students’ motives were: (1) the quality of faculties and educational management, (2) need for Master Degree, (3) fields of study which corresponded to social need, (4) knowledge, (5) fields of study that students could be able to graduate, (6) fields of study which were applicable to work, (7) fields of study which corresponded to students’ aptitude and (8) a honor university. These factors could be accounted for 42.9 percent of total variance of the graduate students’ motives. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์มูลเหตุจูงใจ ของนิสิตบัณฑิตศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title.alternative | An analysis of the graduate students' motives towark entering a master degree programme at the Faculty of Education Chulalongkorn University | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aukrachit_te_front.pdf | 4.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aukrachit_te_ch1.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aukrachit_te_ch2.pdf | 13.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aukrachit_te_ch3.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aukrachit_te_ch4.pdf | 14.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aukrachit_te_ch5.pdf | 6.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aukrachit_te_back.pdf | 11.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.