Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34952
Title: ภาวะหลายภาษาในบ้านหนองอารีและบ้านลาวเดิม ตำบลดินแดง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Multiligualism in Ban Nong Ari and Ban Lao Doem, Tambon Din Daeng, Amphoe Phrai Bung, Changwat Si Sa Ket
Authors: ประพนธ์ จุนทวิเทศ
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น (ศรีสะเกษ)
Sociolinguistics
Dialectology
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาษาที่ใช้ในชุมชนบ้านหนองอารีและบ้านลาวเดิม ตำบลดินแดง อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาความสามารถในการใช้ภาษาและการเลือกภาษาของประชากรที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ เพศ และอายุต่างกัน ตลอดจนหน้าที่ของภาษาต่าง ๆ ในชุมชน จากผลการวิเคราะห์ ผู้วิจัยพบว่า ภาษาที่ใช้พูดในชุมชนบ้านหนองอารีและบ้านลาวเดิมมีด้วยกันทั้งสิ้น 9 ภาษา แต่ภาษาสำคัญที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้มีเพียง 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาเขมร ภาษาส่วย(กูย) ภาษาลาว (ไทยอีสาน) และภาษาไทย (มาตรฐาน) ในบรรดาภาษาสำคัญเหล่านี้ ภาษาลาวเป็นภาษาที่มีจำนวนประชากรพูดใด้มากที่สุด ถึงแม้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ลาวจะไม่ใช่กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในชุมชน ประชากรส่วนใหญ่พูดได้ 3 ภาษาเป็นอย่างน้อยและฟังเข้าใจใด้ทั้ง 4 ภาษา ส่วนความสามารถในการใช้ภาษาแต่ละภาษาของประชากรซึ่งแตกต่างกันไปตามชาติพันธุ์ เพศ และอายุนั้น แสดงให้เห็นว่าการใช้ภาษาของประชากรในชุมชนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง ดังหลักฐานที่แสดงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในรูปแบบการใช้ภาษาของประชากรที่มีอายุต่างกัน เกี่ยวกับการเลือกภาษา โดยทั่วไปคนในชุมชนนี้จะใช้ภาษาของตนเมื่อพูดกับผู้ฟังที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่หากต่างกลุ่มกัน การใช้ภาษาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์ เพศ อายุ ความสามารถในการใช้ภาษา ฐานะทางสังคมของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง รวมทั้งแวดวงการใช้ภาษานั้น ๆ และเมื่อพิจารณาจากมุมมองของหน้าที่ของภาษาพบว่า ภาษาไทยมีบทบาทมากที่สุด ภาษาลาวมีบทบาทมากเป็นอันดับที่สอง รองลงมาคือภาษาเขมร และภาษาส่วยมีหน้าที่น้อยที่สุดคือเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
Other Abstract: The purpose of this study is to survey the languages spoken in the community of Ban Nong Ari and Ban Lao Doem, Tambon Din Daeng, Amphoe Phrai Bung, Changwat Si Sa Ket, to study the linguistic repertoire and the language choice of the people, and to determine the role of each language spoken in the community. The study reveals that nine languages are spoken in this community: however, only four play important roles: Khmer, Sauy (Kuy), Lao (Northeast Thai) and Standard Thai. Among these, Lao is the language spoken by the majority of the people in the community. In addition, most people can speak at least three and understand all of the four languages. Their competence varies according to ethnicity, sex and age. The data show that change is going on in the community's linguistic repertoire, as evident in the variation in the patterns of language use of different age groups. As for language choice, generally, people in this community use their native language to communicate with those of the same ethnic group. When communicating with members of a different ethnic group, their language choice depends on ethnicity, sex, age, language competence and social status of the speakers and listeners, and also the domains of language use. Concerning the functions of the languages in the community, it found that Standard Thai plays a more important role than other languages. Lao ranks second. Third is Khmer. Sauy, however, serves only as a means of communication among the Sauy people.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34952
ISBN: 9745763233
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praphon_ch_front.pdf7.48 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch1.pdf9.46 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch2.pdf18.44 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch3.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch4.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch5.pdf21.19 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch6.pdf32.57 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch7.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_ch8.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Praphon_ch_back.pdf19.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.