Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34979
Title: การประยุกต์เทคนิคเชิงปริมาณในพยากรณ์ยอดขาย : กรณีศึกษาของผ้าอนามัย
Other Titles: The application of quantitative techniques in sales forecasting : a case study of sanitary napkin
Authors: อดุล ขาวละออ
Advisors: เดวิด แน็ป
สุภาภรณ์ พลนิกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พยากรณ์การขาย
การตลาด -- ไทย
การวิเคราะห์อนุกรมเวลา
ผ้าอนามัย -- การตลาด -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพื่อนำเอาวิธีการทางเทคนิคเชิงปริมาณในการพยากรณ์แบบต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยังไม่แพร่หลายนักในทางการตลาดในประเทศไทยมาประยุกต์ใช้ประกอบเป็นแนวทางสำหรับตัดสินใจ โดยจะศึกษาเทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณที่ได้รับความนิยม 3 เทคนิค คือ เทคนิคการปรับให้เรียบ (Smoothing technique) เทคนิคการกรองแบบปรับได้ (Adaptive filtering technique) เทคนิค บอกซ์และเจนกินส์ (Box-Jenkins technique) ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป การพยากรณ์ยอดขาย ถือเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งในการวางแผน และปฏิบัติงานทางด้านการตลาด การพยากรณ์ยอดขายที่แม่นยำย่อมให้ประโยชน์แก่ผู้บริหารการตลาด ปัญหาที่สำคัญคือ การพยากรณ์ในปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการนำเอาเทคนิคเชิงปริมาณมาใช้ในการพยากรณ์ยอดขาย แม้ว่าเทคนิคเชิงปริมาณจะมีข้อได้เปรียบในหลายด้านก็ตาม จากเทคนิคดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาใช้ทำการพยากรณ์กับข้อมูลอนุกรมเวลาของยอดขายผ้าอนามัยยี่ห้อหนึ่งโดยใช้ข้อมูลยอดขาย 6 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2527 เพื่อเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างพร้อมกับพยากรณ์ยอดขายปี พ.ศ. 2528 เทียบกับยอดขายที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2528 ผลปรากฏว่า ไม่มีเทคนิคการพยากรณ์แบบใดที่สามารถพยากรณ์ยอดขายผ้าอนามัยยี่ห้อดังกล่าวได้ ภายใต้เงื่อนไขความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เฉลี่ยต่ำกว่า ร้อยละ 15 ผลจากการวิจัย ถ้าตั้งเงื่อนไขของความฉลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ต่ำที่สุดที่จะยอมรับเทคนิคการพยากรณ์ได้ ณ จุดต่างๆ จะได้ดังนี้ คือ ที่ร้อยละ 19.0 จะใช้เทคนิคการทำให้เรียบของวินเตอร์ได้ ถ้าเป็นร้อยละ 19.5 จะใช้เทคนิคการกรองแบบปรับให้เรียบได้ สำหรับเกณฑ์ร้อยละ 19.0-19.5 นี้ ผู้วิจัยถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ไม่สูงมากพอจะนำมาใช้ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการพยากรณ์ยอดขายของสินค้านี้ได้ ส่วนเทคนิคอื่นๆ อีก 3 เทคนิค ที่นำมาทดสอบในการศึกษาครั้งนี้ด้วย ให้ค่าคลาดเคลื่อนมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งมากจนเกินไป การที่ไม่มีเทคนิคการพยากรณ์แบบใดให้ผลการพยากรณ์ตามที่คาดหวังไว้ อาจเนื่องมาจากมีปัจจัยภายนอกตัวอื่นอีกที่ยังไม่ได้นำมาพิจารณา เช่นพฤติกรรมของข้อมูลถูกเปลี่ยนไปเนื่องจากช่องทางการจำหน่าย หรือสภาวะการตลาดที่มีการแข่งขันสูง อันเป็นจุดอ่อนของเทคนิคเชิงปริมาณแบบอนุกรมเวลาซึ่งมิได้นำเอาปัจจัยอื่นๆ เข้ามาพิจารณาด้วย นอกเหนือจากเวลาและตัวแปรตามหนึ่งตัว ซึ่งในที่นี้คือยอดขาย
Other Abstract: The aim of this research is to study the application of various quantitative forecasting techniques, which are not yet widely employed in marketing in Thailand, as guidelines for decision processes. The study is concerned with three such techniques in popular use: (1) smoothing technique, (2) adaptive filtering technique, and (3) Box-Jenkins Technique. Today it is generally acknowledged that sales forecasting is an important phase in planning and carrying out marketing activities. Accurate sales forecasting is definitely beneficial to marketing administrators. The crucial question, however, is that quantitative techniques are still hardly used in making such predictions despite their advantages over other techniques. As a sample case study, the three forecasting techniques were applied to a set of time-series data of a certain brand of sanitary napkins, by using the sales figures for the six-year period from 1980 to 1984. A forecast was made of the sales figures for 1985, and the predicted figures were then compared with the actual ones. It was found that none of the forecasting techniques was able to predict the sales figures for this brand of sanitary napkins with an average of forecasting errors below 15 percent which is set as a criterion in this study. From the research, if the criterion is set at various points, such as at 19.0 percent the winter technique can be accepted, and if set at 19.5 percent the adaptive filtering technique will also be accepted. However, the criteria set at 19.00-19.5 percent, from the researcher’s point of view, are not too high to be considered as a decision criterion in general marketing-decision-making. The other three techniques failed to meet the criterion as they produced forecasting errors of more than 20 percent which is considered too high. The reasons for all of the five techniques’ failure to forecast sales figures within a set limit are mainly because other important factors are not taken into consideration. These factors are, for instance, change in channels of distribution, highly competitive market. These are basic weaknesses of time series techniques which do not consider factors other than time and a dependent variable which is sales in this case.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34979
ISBN: 9745681695
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adul_kh_front.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_ch1.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_ch2.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_ch3.pdf14.9 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_ch4.pdf9.01 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_ch5.pdf21.78 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_ch6.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Adul_kh_back.pdf55.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.