Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34986
Title: การทำความผิดทางวินัยของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526
Other Titles: Discipline violation of school teachers under the Jurisdiction of the Department of General Education during B.E. 2525-2526
Authors: อดุลย์ วราเอกศิริ
Advisors: เอกชัย กี่สุขพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ครู -- ระเบียบปฏิบัติ
ครู -- วิจัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการทำความผิดทางวินัยของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 2. เพื่อศึกษาสาเหตุการทำความผิดวินัยขั้นร้ายแรงของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 วิธีดำเนินการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบศึกษาเอกสารครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจำนวน 3 ชุดดังนี้ ชุดที่ 1 แบบสำรวจ เป็นเครื่องมือสำหรับใช้เก็บรวบรวมข้อมูลการทำความผิดทางวินัยของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 ตัวแปรที่ศึกษาคือ เพศ อายุราชการ ระดับ วุฒิทางการศึกษา ตำแหน่ง ลักษณะความผิดทางวินัย กรณีที่กระทำผิดวินัยระดับโทษทางวินัย มีลักษณะเป็นตารางสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ชุดที่ 2 แบบวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือสำหรับผู้วิจัยวิเคราะห์หาสาเหตุการทำผิดวินัยเฉพาะขั้นร้ายแรงของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 โดยสร้างเป็นตารางสำหรับการวิเคราะห์ ชุดที่ 3 แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือสำหรับ ใช้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาสาเหตุของการทำผิดวินัย เฉพาะขั้นร้ายแรงของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง 2. ข้อมูล ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สำนวนการสอบสวนการทำความผิดทางวินัยของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2526 รวมทั้งสิ้นจำนวน 300 ราย และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้องกับวินัย จำนวน 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. ลักษณะความผิดทางวินัย ที่กระทำผิดมากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ ลักษณะที่ 16 กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ลักษณะที่ 9 ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ ลักษณะที่ 10 ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการละทิ้งหน้าที่ราชการ 2. ระดับโทษตัดเงินเดือนมีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ระดับโทษภาคทัณฑ์ 3. เพศชาย กระทำผิดมากกว่าเพศหญิง เพศชายลักษณะความผิดที่พบมากที่สุด คือ กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว รองลงมาได้แก่ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ ส่วนเพศหญิง กระทำผิด ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการมีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ 4. อายุราชการระหว่าง 1-5 ปี กระทำผิดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อายุราชการระหว่าง 6-10 ปี โดยอายุราชการระหว่าง 1-5 ปี และ 6-10 ปี ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดคือ กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว รองลงมาได้แก่ ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการ 5. ระดับตำแหน่ง ข้าราชการครูระดับ 3-5 มีการกระทำผิดมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ระดับ 1-2 ข้าราชการครูระดับ 1-2 ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดคือการไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการ รองลงมาได้แก่ กระทำการอันได้ชื่อว่าประพฤติชั่ว ส่วนข้าราชการระดับ 3-5 กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ 6. วุฒิทางการศึกษา ผู้มีวุฒิทางการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี กระทำผิดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ผู้มีวุฒิทางการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป ผู้มีวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดคือ กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว รองลงมาได้แก่ ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการ ส่วนผู้มีวุฒิทางการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุด คือ กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว รองลงมาได้แก่ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ 7. ตำแหน่งผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา กระทำผิดมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ตำแหน่งผู้บริหารในหน่วยงานทางการศึกษา ตำแหน่งผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดคือ กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว รองลงมาได้แก่ ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ ละทิ้งหน้าที่ราชการ ส่วนตำแหน่งผู้บริหารในหน่วยงานทางการศึกษา ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุดคือ ไม่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ รองลงมาได้แก่ ไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ 8. สาเหตุของการทำผิดวินัยขั้นร้ายแรงของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา ได้แก่ ความไม่เข้าใจระเบียบต่างๆ ของทางราชการ ปัญหาทางเศรษฐกิจ เจตนากระทำผิด ขาดคุณธรรมศีลธรรม ความลิ่มหลงต่ออบายมุข ปัญหาทางอารมณ์และสังคม โอกาสเปิดช่องล่อใจและการประพฤติปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา
Other Abstract: Purposes of the Research 1. To study discipline violations of school teachers under the Department of General Education during B.E. 2525-2526. 2. To study causes of discipline violations of school teachers under the Department of General Education during B.E. 2525-2526, which emphasized on high degree punishment. Research Procedure 1. Instruments used in this documentary research were consisted of 3 forms as follow : Instrument I. exploratory forms, used for gathering data concerning discipline violations of school teachers under the Department of General Education during B.E. 2525-2526. The variables included in this study were sex, age, Period of serving in public service, salary level, education background position, type of discipline violation, case of violation and degree of punishment. The instrument was constructed in forms of tables for gathering data. Instrument II, analytic form, used for analyzing causes of discipline violations of school teachers under the Department of General Education during B.E. 2525-2526 wich were punished at high degree. The instrument was constructed in forms of tables for analyzing. Instrument III, interview forms, used for interviewing experts to find out caused of those discipline violations. The instrument was constructed in forms of structured interview. 2. Data in the research The researcher collecled data from documents, trial filing of discipline violations of 300 school teachers under the Department of General Education during B.E. 2525-2526, and 8 experts were interviewed on disciplinary matters, data was analyzed by using frequency distribution, and percentage. Findings 1. Types of discipline violation The first three types of violation which had the highest frequency were as fallows : Type 16 Performing as the bad Type 19 Performing not conform to the regulations and public service customary pattern Type 10 Not dedicate time for public service and deny the official functions. 2. Degrees of punishment. The degree of punishment which found at the highest frequency was cutting down the salary, the follow was formal warning. 3. Sex Male committed discipline violations more than female, Type of violation which most done by male was performing as the bad, the second ones was performing not conform to the official regulations and customary patterns while female violated by didn’t dedicate time for public service at the first, the second was performing not conform to the regulations and customary patterns. 4. Period of serving Ones who were 1-5 years in service did most. The second were 6-10 years wich the most violation of acting as to be called the bad and the second violations of leaving functions. 5. Salary levels Teachers at position classification level 3-5 committed violation most, and level 1-2 were the second. The latter were found violating by not dedicating time for public service and deny the official functions most and the second as performing as the bad. The former were found most by performing as the bad, and second to that was performing not conform to the official regulations. 6. Education level Those who violated mose were teachers earning below bachelor’s degree, and secondly were those having higher than bachelor’s degree. The former did most by performing as the bad, and the second was not dedicating time for public service and deny the official functions. The latter also did most by performing as the had, while the second perform not conform to the official regulations. 7. Position in education work unit Most instructors violated regulations, and the second were administrators. The former did most by performing as the bad, and second was not dedicating time for public service and deny the official functions. The latter did most by performing not conform to the official regulations, and the second was unsupporting official policies. 8. Causes of discipline violations at high degree were ignorance of official rules and regulations, economic problems, violations with intention, lack of morality, sticking to the vice, emotional and social problems, chances of having incentives, and performance of supervisory unit.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34986
ISBN: 9745646563
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adul_wa_front.pdf11.96 MBAdobe PDFView/Open
Adul_wa_ch1.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open
Adul_wa_ch2.pdf36.74 MBAdobe PDFView/Open
Adul_wa_ch3.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open
Adul_wa_ch4.pdf58.18 MBAdobe PDFView/Open
Adul_wa_ch5.pdf17.88 MBAdobe PDFView/Open
Adul_wa_back.pdf25.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.