Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34991
Title: แบบแผนทางด้านที่ตั้งของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย ในช่วงปี 2520-2524 : ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับภาคเหนือ
Other Titles: The location pattern of manufactureing industy in Thailand 1977-1981 : a case study of greater Bangkok and the northern
Authors: พิมพาภรณ์ ฐิตยานัน
Advisors: จาริต ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งของอุตสาหกรรมการผลิตกับปัจจัยที่คาดว่าจะมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกที่ตั้งของอุตสาหกรรม โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาคเมือง (กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี) กับภาคชนบท (เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง) ถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจตั้งโรงงานของตนในภาคเมือง สำหรับโรงงานที่ตั้งขึ้นในระหว่างปี 2520-2524 ในการศึกษาได้ใช้วิธีการทางสถิติในการเลือกโรงงานที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยใช้ Stratified Systematic Sampling Method ซึ่งมีประเภทของอุตสาหกรรม ขนาดและที่ตั้งเป็น Stratification Factor โดยสุ่มตัวอย่างมาทั้งหมด 72 โรงงาน เป็นโรงงานในภาคเมือง 37 โรงงานและภาคชนบท 35 โรงงาน และทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการของโรงงานถึงเหตุผลในการเลือกที่ตั้งโรงงานที่เป็นอยู่ โดยเปรียบเทียบโรงงานในภาคเมืองและภาคชนบท และทำการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมเลือกภาคเมืองเป็นที่ตั้งของโรงงาน หรือก็คือ การกระจุกตัวของโรงงานในภาคเมืองถูกกำหนดโดยปัจจัยดังกล่าวและใช้วิธีการทางสถิติในการทำการทดสอบ ปัจจัยที่นำมาทดสอบได้แก่ ปัจจัยด้านขนาดของโรงงาน Urbanization Factors ได้แก่ การขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ การมีนิคมอุตสาหกรรม บริการสาธารณูปโภคต่างๆ และ Localization Factors ได้แก่ ตลาดสินค้าในภาคเมือง แหล่งวัตถุดิบในภาคเมือง ประเภทของแหล่งน้ำและเชื้อเพลิงที่ใช้ ผลของการวิเคราะห์โดยใช้ Logit Model แสดงว่า ปัจจัยที่มีส่วนเพิ่มโอกาสที่โรงงานอุตสาหกรรมจะตั้งอยู่ในภาคเมือง ได้แก่ การเป็นโรงงานขนาดใหญ่ การตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม และถ้าโรงงานนั้นใช้วัตถุดิบจากภาคเมือง หรือขายสินค้าในตลาดในภาคเมือง โอกาสที่โรงงานนั้นจะตั้งอยู่ในภาคเมืองก็ยิ่งมากขึ้น และเมื่อพิจารณาเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่ ปัจจัยที่มีผลในทางบวก ต่อโอกาสที่โรงงานจะอยู่ในภาคเมือง คือ ถ้าโรงงานใช้แรงงานมีฝีมือมาก หรือมีการใช้วัตถุดิบในภาคเมืองมากสำหรับโรงงานขนาดเล็กนั้น ปัจจัยที่มีผลในทางบวกต่อโอกาสที่โรงงานจะอยู่ในภาคเมือง คือ ถ้าโรงงานนั้นมีตลาดสินค้าในภาคเมืองเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้บริการสาธารณูปโภค คือ ไฟฟ้าและการขนส่งวัตถุดิบ รวมทั้งการตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม การใช้แหล่งน้ำอื่น ผลสรุปของการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งโรงงานในภาคเมืองหรือการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมในภาคเมือง จะขึ้นอยู่หรือถูกกำหนดโดย ขนาดของโรงงาน Urbanization Factor คือ คนงานมีฝีมือ ค่าใช้จ่ายในเรื่องของไฟฟ้า ค่าขนส่งวัตถุดิบและการตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม และ Localization Factor คือตลาดสินค้าในภาคเมือง แหล่งวัตถุดิบในภาคเมือง การใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่นและการใช้แหล่งอื่น ดังกล่าวนั่นเอง เมื่อพิจารณาผลที่ได้จากากรวิเคราะห์กับมาตรการและนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 ในการกระจายอุตสาหกรรมไปยังภาคชนบท พบว่า มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลไม่เพียงพอในการจูงใจให้ผู้ประกอบการตัดสินใจตั้งโรงงานของตนในภาคชนบท ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหานี้ รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการบางประการซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์ เป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการตัดสินใจตั้งโรงงานในภาคชนบทเพิ่มขึ้น
Other Abstract: This research aims at studying the relationship between the location of Manufacturing Establishment and factors that may be important in determining these locations. The study is a case study of Greater Bangkok (Bangkok, Samutprakarn, Patumtani and Nontaburi) and the Northern Region (Chiangmai, Chiangrai, Lumpoon and Lumpang), using a sample of factories which were established between 1977-1981. Stratified Systematic Sampling Method was used to select the sample factories. Stratification factors are type of industry, size of factory and location of factory. The sample consists of 72 factories from field survey, 37 sample factories located in Greater Bangkok and 35 sample factories located in the Northern Region. The factory survey data were analysed by means of the Logit Model to test the hypotheses that the concentration of Manufacturing industry in Greater Bangkok in determined by Urbanization Factors, Localization Factors and size of factory. The results of the analysis are that the probability of the factory being located in Greater Bangkok is determined by size of factory, Urbanization Factors (transportation cost of products and materials, government’s facilities such as water supply and Industrial Estates) and Localization Factors (area of product’s market and material resources in Greater Bangkok, type of water supply and energy resources). The study reviews the industrial policy contained in the First to the Fourth National Social and Economic Development Plans. The use of the measures mentioned in those Plans to implement the industrial policy in diverting incremental factories from location in the Greater Gangkok is discussed in the light of the finding of the study. The conclusions are that the measures used by the Government are not enough in reducing the concentration of factories in Greater Bangkok To solve those problems, the Government would increase new measures, according to our empirical study, as an incentive for entrepreneurs not to locate their factories in Greater Bangkok.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34991
ISBN: 9745675083
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpaporn_th_front.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_ch1.pdf10.05 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_ch2.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_ch3.pdf17.65 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_ch4.pdf17.92 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_ch5.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_ch6.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Pimpaporn_th_back.pdf11.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.